ตถาคต มีความหมายในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ดังนี้ครับ

กระทู้สนทนา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



โลกสูตร [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตพรากจากโลก แล้ว เหตุเกิดแห่งโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุเกิดแห่งโลกตถาคตละได้แล้ว ความดับแห่งโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ความดับแห่งโลกตถาคตกระทำให้แจ้งแล้ว ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันยังสัตว์ ให้ถึงความดับแห่งโลกตถาคตให้เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปารมณ์ที่เห็นด้วย จักษุ สัททารมณ์ที่ฟังด้วยหู คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ที่รู้ได้ด้วย ทวารนั้นๆ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ของหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตถาคต ได้บรรลุแล้ว เสาะแสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ ตถาคตตรัสรู้รูปารมณ์ที่ เห็นได้ด้วยจักษุเป็นต้นนั้นโดยชอบ เพราะฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต อนึ่ง ตถาคตย่อมตรัสรู้ซึ่งราตรีใด และย่อมยังราตรีใดให้ดับ ตถาคตย่อมกล่าว ย่อม ทักทาย ย่อมแสดงออกซึ่งคำใดในระหว่างนี้ คำนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้น ทีเดียว หาได้เป็นอย่างอื่นไม่ เพราะฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต ตถาคตมี ปรกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ตถาคตมีปรกติ กล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะ ฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เป็นผู้อันใครๆ ครอบงำไม่ได้ ผู้เห็นแจ้งโดยแท้ ยังอำนาจ ให้เป็นไป เพราะฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต ฯ ผู้ใดรู้ยิ่งแล้วซึ่งโลกทั้งปวง รู้ตามเป็นจริงในโลกทั้งปวง พราก ไปจากโลกทั้งปวง ไม่มีกิเลสนอนเนื่องในสันดานในโลก ทั้งปวง ผู้นั้นแล เป็นธีรชนผู้ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้ ปลด เปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งมวลเสียได้ เป็นผู้ถูกต้อง นิพพานอันมีความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ผู้นี้ เป็นพระขีณาสพผู้รู้แล้ว ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะความ สิ้นไปแห่งอุปธิ บุคคลนี้เป็นผู้มีโชค เป็นพุทธะ ชื่อว่า เป็นสีหะผู้ยอดเยี่ยม ประกาศพรหมจักรให้แก่โลกทั้งเทว โลก เพราะเหตุนั้น เทวดาและมนุษย์จึงถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะ มาประชุมกันนมัสการพระองค์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ ปราศจากความขลาด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักนมัสการ พระองค์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ปราศจากความขลาด กล่าวสรรเสริญ ว่า เป็นผู้ฝึกตนประเสริฐกว่าบรรดาผู้ฝึกตนทั้งหลาย เป็น ฤาษีผู้สงบกว่าบรรดาผู้สงบทั้งหลาย เป็นผู้พ้นชั้นเยี่ยมกว่า บรรดาผู้พ้นทั้งหลาย เป็นผู้ข้ามฝั่งประเสริฐกว่าบรรดาผู้ข้าม ฝั่งทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะหาบุคคลเปรียบ ด้วยพระองค์ไม่มี ฯ จบสูตรที่ ๓
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่