พุทธวจน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราช ย่อมออกจากที่อาศัยเวลาเย็น
ครั้นออกจากที่อาศัยแล้ว ย่อมเหยียดหยัด ครั้นเหยียดหยัดแล้ว ย่อมเหลียวดู
ทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ครั้นเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบแล้ว ย่อมบันลือสีหนาท ๓
ครั้ง แล้วย่อมก้าวหน้าไปหาเหยื่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดแล
ได้ฟังเสียงของสีหมฤคราชผู้บันลืออยู่ สัตว์เหล่านั้นโดยมากย่อมกลัว สลดใจ
และหวาดสะดุ้ง จำพวกอยู่โพรงก็เข้าโพรง จำพวกอาศัยน้ำก็ลงน้ำ จำพวก
อาศัยป่าก็เข้าป่า จำพวกมีปีกย่อมบินขึ้นสู่อากาศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัว
ประเสริฐแห่งพระราชาแม้เหล่าใด ที่ถูกผูกไว้ในคามนิคมและราชธานีทั้งหลาย
ด้วยเครื่องผูก คือเชือกหนังอันมั่นคง ช้างตัวประเสริฐแม้เหล่านั้น พึงทำลาย
เครื่องผูกเหล่านั้นขาดไป มีความกลัว ถึงถ่ายมูตรและกรีสหนีไปตามทางที่จะ
ไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชมีฤทธิ์มากอย่างนี้แล มีศักดานุภาพยิ่งใหญ่
กว่าเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ตถาคตบังเกิดขึ้น
ในโลก เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป
ดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว ในกาลนั้น
ย่อมแสดงธรรมว่า สักกายะดังนี้ เหตุแห่งสักกายะดังนี้ ความดับแห่งสักกายะ
ดังนี้ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งสักกายะดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา
แม้เหล่าใดมีอายุยืน มีรัศมี มีความสุขมาก สถิตอยู่ยั่งยืนในวิมานอันสูง
เทวดาแม้เหล่านั้น ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากย่อมกลัว สลดใจ
หวาดสะดุ้งว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเราไม่เที่ยงหนอ อย่าได้สำคัญ
ว่าเที่ยง พวกเราไม่ยั่งยืนหนอ อย่าได้สำคัญว่ายั่งยืน พวกเราไม่คงที่หนอ อย่าได้
สำคัญว่าคงที่ ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเราไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
นับเนื่องในสักกายะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้แล เป็นผู้
มีศักดานุภาพยิ่งใหญ่อย่างนี้ กว่าโลกทั้งเทวโลก ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา หาบุคคลเปรียบมิได้ ตรัสรู้
แล้ว ทรงประกาศธรรมจักรแก่โลกทั้งเทวโลก ทรงแสดง
ธรรมคือสักกายะ ได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ
ดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อันมีปรกติ
ยังสัตว์ให้ถึงความระงับทุกข์ ฉันใด เทวดาผู้มีอายุยืนแม้
เหล่าใด มีรัศมี มียศ เป็นผู้กลัวถึงความสะดุ้ง ดุจ
มฤคที่กลัวต่อราชสีห์ ก็ฉันนั้น เทวดาเหล่านั้น เป็นผู้-
ก้าวล่วงสักกายะเพราะสดับถ้อยคำของพระอรหันต์ ผู้หลุดพ้น
ผู้คงที่ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พวกเราไม่เที่ยง ฯ
เปิดธรรมที่ถูกปิด อานุภาพของพระพุทธเจ้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราช ย่อมออกจากที่อาศัยเวลาเย็น
ครั้นออกจากที่อาศัยแล้ว ย่อมเหยียดหยัด ครั้นเหยียดหยัดแล้ว ย่อมเหลียวดู
ทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ครั้นเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบแล้ว ย่อมบันลือสีหนาท ๓
ครั้ง แล้วย่อมก้าวหน้าไปหาเหยื่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดแล
ได้ฟังเสียงของสีหมฤคราชผู้บันลืออยู่ สัตว์เหล่านั้นโดยมากย่อมกลัว สลดใจ
และหวาดสะดุ้ง จำพวกอยู่โพรงก็เข้าโพรง จำพวกอาศัยน้ำก็ลงน้ำ จำพวก
อาศัยป่าก็เข้าป่า จำพวกมีปีกย่อมบินขึ้นสู่อากาศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างตัว
ประเสริฐแห่งพระราชาแม้เหล่าใด ที่ถูกผูกไว้ในคามนิคมและราชธานีทั้งหลาย
ด้วยเครื่องผูก คือเชือกหนังอันมั่นคง ช้างตัวประเสริฐแม้เหล่านั้น พึงทำลาย
เครื่องผูกเหล่านั้นขาดไป มีความกลัว ถึงถ่ายมูตรและกรีสหนีไปตามทางที่จะ
ไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชมีฤทธิ์มากอย่างนี้แล มีศักดานุภาพยิ่งใหญ่
กว่าเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ตถาคตบังเกิดขึ้น
ในโลก เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป
ดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว ในกาลนั้น
ย่อมแสดงธรรมว่า สักกายะดังนี้ เหตุแห่งสักกายะดังนี้ ความดับแห่งสักกายะ
ดังนี้ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งสักกายะดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา
แม้เหล่าใดมีอายุยืน มีรัศมี มีความสุขมาก สถิตอยู่ยั่งยืนในวิมานอันสูง
เทวดาแม้เหล่านั้น ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากย่อมกลัว สลดใจ
หวาดสะดุ้งว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเราไม่เที่ยงหนอ อย่าได้สำคัญ
ว่าเที่ยง พวกเราไม่ยั่งยืนหนอ อย่าได้สำคัญว่ายั่งยืน พวกเราไม่คงที่หนอ อย่าได้
สำคัญว่าคงที่ ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเราไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
นับเนื่องในสักกายะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้แล เป็นผู้
มีศักดานุภาพยิ่งใหญ่อย่างนี้ กว่าโลกทั้งเทวโลก ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา หาบุคคลเปรียบมิได้ ตรัสรู้
แล้ว ทรงประกาศธรรมจักรแก่โลกทั้งเทวโลก ทรงแสดง
ธรรมคือสักกายะ ได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ
ดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อันมีปรกติ
ยังสัตว์ให้ถึงความระงับทุกข์ ฉันใด เทวดาผู้มีอายุยืนแม้
เหล่าใด มีรัศมี มียศ เป็นผู้กลัวถึงความสะดุ้ง ดุจ
มฤคที่กลัวต่อราชสีห์ ก็ฉันนั้น เทวดาเหล่านั้น เป็นผู้-
ก้าวล่วงสักกายะเพราะสดับถ้อยคำของพระอรหันต์ ผู้หลุดพ้น
ผู้คงที่ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พวกเราไม่เที่ยง ฯ