ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ

[๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สีหมฤคราชออกจากที่อยู่ในเวลาเย็น แล้วย่อมเยื้องกราย เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ
บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออกเที่ยวไปหากิน สีหมฤคราชนั้น
ถ้าแม้จะจับช้าง ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด
ถ้าแม้จะจับกระบือ ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด
ถ้าแม้จะจับโค ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด
ถ้าแม้จะจับเสือเหลือง ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด
ถ้าแม้จะจับเหล่าสัตว์เล็กๆ โดยที่สุดกระต่ายและแมว ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด

ข้อนั้นเพราะเหตุไร


เพราะสีหมฤคราชนั้นคิดว่า ทางหากินของเราอย่าพินาศเสียเลย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำว่าสีหะนั้นแล เป็นชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัทนี้แล เป็นสีหนาทของตถาคต


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ  ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย  ย่อมแสดงโดยเคารพ  ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย  ย่อมแสดงโดยเคารพ  ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย  ย่อมแสดงโดยเคารพ  ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย  ย่อมแสดงโดยเคารพ  ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
โดยที่สุดแม้แก่คนขอทานและพรานนก   ย่อมแสดงโดยเคารพ  ไม่แสดงโดยไม่เคารพ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม ฯ



--------------------------------
สีหสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๒๘๐๑ - ๒๘๑๙.  หน้าที่  ๑๒๑ - ๑๒๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=2801&Z=2819&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=99
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่