พุทธวจน มหาปรินิพพานสูตร


พุทธวจน

บัณฑิตยชาติสำเร็จการอยู่ในประเทศใด
ย่อมเชื้อเชิญท่านผู้มีศีล ผู้สำรวมแล้วประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริโภคในประเทศนั้น ได้อุทิศทักษิณาทานให้แก่เทวดาที่มีอยู่ ณ ที่นั้น
เทวดาเหล่านั้นได้รับบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบเขา ได้รับความนับถือ
แล้ว ย่อมนับถือตอบเขา แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์เขา
เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรซึ่งเกิดแต่อกฉะนั้น
บุรุษผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ ฯ

บุญย่อมเจริญแก่ผู้ให้ เวรย่อมไม่ก่อแก่ผู้สำรวมอยู่
คนฉลาดเทียว ย่อมละกรรมอันลามก
เขาดับแล้วเพราะราคะ โทสะโมหะ สิ้นไป

ดูกรอานนท์ ! ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล
ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์
ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา
แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น
โปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ใน
อากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต


ดูกรอานนท์ !  ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม
ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ  ปฏิบัติตาม
ธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด
เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ


ดูกรอานนท์ ! บัดนี้ พวกภิกษุยังเรียกกันและกันด้วยวาทะว่า อาวุโส ฉันใด
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ไม่ควรเรียกกันฉันนั้น
ภิกษุผู้แก่กว่า พึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือโคตร หรือโดยวาทะว่า
อาวุโส แต่ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภันเต หรืออายัสมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่