พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กล่าวว่า “วันมาฆบูชา ถือเป็นวันสำคัญทางพระศาสนา เพราะเป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระสาวก ๑,๒๕๐ องค์ ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานของพระพุทธศาสนา พวกเราควรใส่ใจพระโอวาทนี้ “ปาฏิโมกข์” แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องพ้น ความหมาย โอวาทปาฏิโมกข์ ธรรมเป็นเครื่องพ้น ซึ่งเป็นโอวาทของพระบรมศาสดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้แล้ว เห็นแล้ว ได้ประกาศไว้”
#โอวาทปาฏิโมกข์เคยมีมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ในสมัยพระพุทธเจ้าในอดีตหลายองค์
ในครั้งพุทธกาล เดือนมาฆะ (เดือนสาม) ถัดจากปีที่ตรัสรู้ธรรม ถ้านับแต่ตรัสรู้ธรรมเป็นเวลา ๙ เดือนพอดี วันนั้นเป็นวันเพ็ญแห่งเดือน ปราชญ์บางท่านว่าเป็นวันทำพิธีศิวาราตรีของพราหมณ์ด้วย
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน แขวงกรุงราชคฤห์ มีธรรมจัดสรรให้ในบ่ายวันนั้น พระสงฆ์สาวกที่ทรงส่งจาริกไปประกาศสัจธรรมในที่ต่างๆ มีจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ได้มาประชุมเฝ้าพร้อมกัน พระพุทธเจ้าทรงถือเป็นโอกาสพิเศษจึงได้ทรงประกาศหลักศาสนา คือ ธรรมและวินัย เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์
๑. ขันติ ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสนิพพานว่าเป็นบรมธรรม หรือเป็นธรรมสูงสุด ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
๒.การไม่ทำความชั่วทั้งปวง หรือการไม่ทำบาปทั้งปวง การบำเพ็ญกุศล คือความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจของตนให้ผ่องใสบริสุทธิ์ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๓.การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นั่งที่นอนอันสงัด หรือ การนอนนั่งในที่สงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต หรือ การฝึกฝนพัฒนาจิตของตน ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย
สังเกตว่าเป็นคำสอนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน ประทานโอวาทปาฏิโมกข์แนวเดียวกันหมด
สรุปลงเหลือ ๓ ประการ คือ ๑.งดเว้นทำบาปอกุศล ๒.ประกอบแต่บุญกุศล ๓.ทำจิตให้สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะกิเลสนั่นเองครับ
โอวาทปาฏิโมกข์
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กล่าวว่า “วันมาฆบูชา ถือเป็นวันสำคัญทางพระศาสนา เพราะเป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระสาวก ๑,๒๕๐ องค์ ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานของพระพุทธศาสนา พวกเราควรใส่ใจพระโอวาทนี้ “ปาฏิโมกข์” แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องพ้น ความหมาย โอวาทปาฏิโมกข์ ธรรมเป็นเครื่องพ้น ซึ่งเป็นโอวาทของพระบรมศาสดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้แล้ว เห็นแล้ว ได้ประกาศไว้”
#โอวาทปาฏิโมกข์เคยมีมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ในสมัยพระพุทธเจ้าในอดีตหลายองค์
ในครั้งพุทธกาล เดือนมาฆะ (เดือนสาม) ถัดจากปีที่ตรัสรู้ธรรม ถ้านับแต่ตรัสรู้ธรรมเป็นเวลา ๙ เดือนพอดี วันนั้นเป็นวันเพ็ญแห่งเดือน ปราชญ์บางท่านว่าเป็นวันทำพิธีศิวาราตรีของพราหมณ์ด้วย
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน แขวงกรุงราชคฤห์ มีธรรมจัดสรรให้ในบ่ายวันนั้น พระสงฆ์สาวกที่ทรงส่งจาริกไปประกาศสัจธรรมในที่ต่างๆ มีจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ได้มาประชุมเฝ้าพร้อมกัน พระพุทธเจ้าทรงถือเป็นโอกาสพิเศษจึงได้ทรงประกาศหลักศาสนา คือ ธรรมและวินัย เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์
๑. ขันติ ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสนิพพานว่าเป็นบรมธรรม หรือเป็นธรรมสูงสุด ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
๒.การไม่ทำความชั่วทั้งปวง หรือการไม่ทำบาปทั้งปวง การบำเพ็ญกุศล คือความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจของตนให้ผ่องใสบริสุทธิ์ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๓.การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นั่งที่นอนอันสงัด หรือ การนอนนั่งในที่สงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต หรือ การฝึกฝนพัฒนาจิตของตน ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย
สังเกตว่าเป็นคำสอนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หมายถึงพระพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน ประทานโอวาทปาฏิโมกข์แนวเดียวกันหมด
สรุปลงเหลือ ๓ ประการ คือ ๑.งดเว้นทำบาปอกุศล ๒.ประกอบแต่บุญกุศล ๓.ทำจิตให้สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะกิเลสนั่นเองครับ