เอกสารว่อนสาขาแบงก์กรุงไทย ต้านบังคับขายประกัน-ผลิตภัณฑ์ในเครือ
http://www.thairath.co.th/content/446680
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 30 ส.ค. 2557 10:05
เอกสารว่อนทั่วสาขาแบงก์กรุงไทย ต้านขายประกัน-ผลิตภัณฑ์ในเครือ ค้านใช้ KPI ประเมินผลจากยอดขาย หากไม่ใช่ธุรกิจหลักของแบงก์และบริการลูกค้า พร้อมจี้แก้หนี้เน่าไม่ให้ลุกลาม วอน ผจก.เปิดทางให้พนักงานร่วมต่อสู้...
มีรายงานว่า ขณะนี้มีการส่งต่อเอกสารไปยังพนักงานธนาคารกรุงไทยในสาขาทั่วประเทศ ในนามกลุ่มคนรักษ์กรุงไทย เพื่อแสดงพลังเงียบในการสร้างเครือข่ายด้วยการไม่ขายประกัน และผลิตภัณฑ์บริษัทในเครือ ซึ่งอ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระต้นทุน และทำลายธนาคาร เพื่อปกป้องและเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับองค์กร
พร้อมกันนี้ ได้ขอให้พนักงานแต่ละสาขา ลงมติมีความเห็นร่วมกันในวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1. กรณีการทำ KPI ทั้งทางตรงทางอ้อม ที่เกี่ยวกับการขายประกันและผลิตภัณฑ์ในเครือออกไปจากตัวชี้วัดพนักงาน 2. การวัดหรือประเมินผลการทำงานพนักงาน ให้ใช้ KPI ที่เป็นธุรกิจหลักของธนาคาร และคุณภาพในการให้บริการลูกค้าเท่านั้น และ 3. การขายผลิตภัณฑ์ในเครืออื่นๆ ที่ไม่ขัดกับธุรกิจหลัก ต้องอยู่บนความสมัครใจทั้งพนักงานและลูกค้า
นอกจากนี้ ได้ขอให้พนักงานเร่งแก้ปัญหา NPL และ C2 ไม่ให้ลุกลามมากไปกว่านี้ โดยการหาลูกค้าสินเชื่อที่มีคุณภาพและเพิ่มบัญชี CA/SA ให้มากที่สุด และการทำ KPI ธุรกิจหลักของธนาคารให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจนให้บริการที่มีคุณภาพกับลูกค้า และช่วยกันรักษาและปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้มีใจเสียสละ มีจิตสำนึกในการรักษาองค์กร โดยอย่าให้คนที่ออกมาต่อสู้เพื่อส่วนรวมต้องโดดเดี่ยว เพราะเป็นวิกฤติขององค์กรและความทุกข์ในการทำงาน ที่ทุกคนต้องร่วมแก้ไข และหากผู้จัดการสาขาเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ขอให้ชมรมผู้จัดการสาขาแต่ละเขตลงมติและสนับสนุนพนักงานในการต่อต้านด้วยความสงบ
จดหมายที่มีการแชร์ว่อนธนาคารกรุงไทย
ด้านหนึ่งในพนักงานธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ทางธนาคารมีนโยบายให้สาขาทั่วประเทศ ขายผลิตภัณฑ์ของธนาคาร ทั้งขายประกัน บัตรเครดิต ระดมเงินฝาก และขายกองทุน ซึ่งไม่เว้นแม้กระทั่งผู้จัดการสาขาที่ต้องรับผิดชอบขายผลิตภัณฑ์ของธนาคารเช่นกัน
ส่วนการประเมินผลการทำงาน จะพิจารณาจากยอดการขาย โดยไม่นำการให้บริการของลูกค้าหรือคุณภาพการทำงานในด้านอื่นๆ มาเป็นองค์ประกอบในการประเมินผลงานแต่อย่างใด หากพนักงานคนใดขายได้น้อย การประเมินผลการทำงานของพนักงาน จะอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน หากพนักงานคนใดขายได้เป็นจำนวนมาก จะได้รับผลประเมินการทำงานสูงขึ้นตามไปด้วย
"ส่งผลให้พนักงานธนาคารจำนวนมาก ทนกับแนวทางดังกล่าวไม่ไหว จำต้องลาออกจากธนาคารสาขาไปแล้วไม่ต่ำกว่าหลายร้อยคน แม้จะรับเข้ามาใหม่ในจำนวนหลายร้อยคนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้อัตราการลาออกน้อยลง เนื่องจากพนักงานใหม่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม จะได้รับแรงกดดันจากธนาคารให้ขายผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามเป้า หากทำไม่ได้ก็จะโดนเรียกไปพูดคุย เพื่อตักเตือนและค้นหาสาเหตุว่าเพราะเหตุใดที่ไม่สามารถปิดการขายได้ และต้องลาออกไปในที่สุด"
ขณะที่ยอดการเข้าออกของพนักงานมากขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบที่ตามมาติดๆ คือ พนักงานที่เข้าใหม่ ไม่มีความสามารถในการขาย เนื่องจากยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ หรือไม่มีทักษะในการพูดคุยเพื่อโน้มน้าวใจของลูกค้าได้ ดังนั้น ทำให้ธนาคารจะต้องเสียเวลาในการสอนและการอบรมพนักงานใหม่อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าก่อนที่จะรับพนักงานแต่ละคนเข้ามาทำงานกับธนาคาร พนักงานทุกคนจะได้รับการแจ้งจากธนาคารถึงรายละเอียดและขอบเขตการทำงานไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเนื้องานจากตำแหน่งนั้นๆ และงานขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท หากพนักงานรับได้และยินยอมตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ จึงจะมีการรับเข้ามาทำงาน และจัดอบรมพนักงานใหม่ให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"สิ่งที่คาใจอย่างมากของเหล่าพนักงานในสาขาย่อยทุกสาขา คือ ทำไมพนักงานในสาขาต่างๆ จะต้องตั้งหน้าตั้งตาขาย ทำยอดให้กับบริษัทอย่างหนัก การปรับเลื่อนตำแหน่งเป็นไปได้ยากมาก แต่ในขณะที่ พนักงานในสำนักงานใหญ่ไม่ต้องมีการขายผลิตภัณฑ์ใดๆ เลย มิหนำซ้ำยังเลื่อนตำแหน่งกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นสิ่งที่บั่นทอนความรู้สึก และเป็นคำถามคาใจของพนักงานในสาขาย่อยต่างๆ เป็นอย่างมาก".
เอกสารว่อนสาขาแบงก์กรุงไทย ต้านบังคับขายประกัน-ผลิตภัณฑ์ในเครือ
http://www.thairath.co.th/content/446680
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 30 ส.ค. 2557 10:05
เอกสารว่อนทั่วสาขาแบงก์กรุงไทย ต้านขายประกัน-ผลิตภัณฑ์ในเครือ ค้านใช้ KPI ประเมินผลจากยอดขาย หากไม่ใช่ธุรกิจหลักของแบงก์และบริการลูกค้า พร้อมจี้แก้หนี้เน่าไม่ให้ลุกลาม วอน ผจก.เปิดทางให้พนักงานร่วมต่อสู้...
มีรายงานว่า ขณะนี้มีการส่งต่อเอกสารไปยังพนักงานธนาคารกรุงไทยในสาขาทั่วประเทศ ในนามกลุ่มคนรักษ์กรุงไทย เพื่อแสดงพลังเงียบในการสร้างเครือข่ายด้วยการไม่ขายประกัน และผลิตภัณฑ์บริษัทในเครือ ซึ่งอ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระต้นทุน และทำลายธนาคาร เพื่อปกป้องและเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับองค์กร
พร้อมกันนี้ ได้ขอให้พนักงานแต่ละสาขา ลงมติมีความเห็นร่วมกันในวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1. กรณีการทำ KPI ทั้งทางตรงทางอ้อม ที่เกี่ยวกับการขายประกันและผลิตภัณฑ์ในเครือออกไปจากตัวชี้วัดพนักงาน 2. การวัดหรือประเมินผลการทำงานพนักงาน ให้ใช้ KPI ที่เป็นธุรกิจหลักของธนาคาร และคุณภาพในการให้บริการลูกค้าเท่านั้น และ 3. การขายผลิตภัณฑ์ในเครืออื่นๆ ที่ไม่ขัดกับธุรกิจหลัก ต้องอยู่บนความสมัครใจทั้งพนักงานและลูกค้า
นอกจากนี้ ได้ขอให้พนักงานเร่งแก้ปัญหา NPL และ C2 ไม่ให้ลุกลามมากไปกว่านี้ โดยการหาลูกค้าสินเชื่อที่มีคุณภาพและเพิ่มบัญชี CA/SA ให้มากที่สุด และการทำ KPI ธุรกิจหลักของธนาคารให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจนให้บริการที่มีคุณภาพกับลูกค้า และช่วยกันรักษาและปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้มีใจเสียสละ มีจิตสำนึกในการรักษาองค์กร โดยอย่าให้คนที่ออกมาต่อสู้เพื่อส่วนรวมต้องโดดเดี่ยว เพราะเป็นวิกฤติขององค์กรและความทุกข์ในการทำงาน ที่ทุกคนต้องร่วมแก้ไข และหากผู้จัดการสาขาเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ขอให้ชมรมผู้จัดการสาขาแต่ละเขตลงมติและสนับสนุนพนักงานในการต่อต้านด้วยความสงบ
จดหมายที่มีการแชร์ว่อนธนาคารกรุงไทย
ด้านหนึ่งในพนักงานธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ทางธนาคารมีนโยบายให้สาขาทั่วประเทศ ขายผลิตภัณฑ์ของธนาคาร ทั้งขายประกัน บัตรเครดิต ระดมเงินฝาก และขายกองทุน ซึ่งไม่เว้นแม้กระทั่งผู้จัดการสาขาที่ต้องรับผิดชอบขายผลิตภัณฑ์ของธนาคารเช่นกัน
ส่วนการประเมินผลการทำงาน จะพิจารณาจากยอดการขาย โดยไม่นำการให้บริการของลูกค้าหรือคุณภาพการทำงานในด้านอื่นๆ มาเป็นองค์ประกอบในการประเมินผลงานแต่อย่างใด หากพนักงานคนใดขายได้น้อย การประเมินผลการทำงานของพนักงาน จะอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน หากพนักงานคนใดขายได้เป็นจำนวนมาก จะได้รับผลประเมินการทำงานสูงขึ้นตามไปด้วย
"ส่งผลให้พนักงานธนาคารจำนวนมาก ทนกับแนวทางดังกล่าวไม่ไหว จำต้องลาออกจากธนาคารสาขาไปแล้วไม่ต่ำกว่าหลายร้อยคน แม้จะรับเข้ามาใหม่ในจำนวนหลายร้อยคนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้อัตราการลาออกน้อยลง เนื่องจากพนักงานใหม่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม จะได้รับแรงกดดันจากธนาคารให้ขายผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามเป้า หากทำไม่ได้ก็จะโดนเรียกไปพูดคุย เพื่อตักเตือนและค้นหาสาเหตุว่าเพราะเหตุใดที่ไม่สามารถปิดการขายได้ และต้องลาออกไปในที่สุด"
ขณะที่ยอดการเข้าออกของพนักงานมากขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบที่ตามมาติดๆ คือ พนักงานที่เข้าใหม่ ไม่มีความสามารถในการขาย เนื่องจากยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ หรือไม่มีทักษะในการพูดคุยเพื่อโน้มน้าวใจของลูกค้าได้ ดังนั้น ทำให้ธนาคารจะต้องเสียเวลาในการสอนและการอบรมพนักงานใหม่อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าก่อนที่จะรับพนักงานแต่ละคนเข้ามาทำงานกับธนาคาร พนักงานทุกคนจะได้รับการแจ้งจากธนาคารถึงรายละเอียดและขอบเขตการทำงานไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเนื้องานจากตำแหน่งนั้นๆ และงานขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท หากพนักงานรับได้และยินยอมตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ จึงจะมีการรับเข้ามาทำงาน และจัดอบรมพนักงานใหม่ให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"สิ่งที่คาใจอย่างมากของเหล่าพนักงานในสาขาย่อยทุกสาขา คือ ทำไมพนักงานในสาขาต่างๆ จะต้องตั้งหน้าตั้งตาขาย ทำยอดให้กับบริษัทอย่างหนัก การปรับเลื่อนตำแหน่งเป็นไปได้ยากมาก แต่ในขณะที่ พนักงานในสำนักงานใหญ่ไม่ต้องมีการขายผลิตภัณฑ์ใดๆ เลย มิหนำซ้ำยังเลื่อนตำแหน่งกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นสิ่งที่บั่นทอนความรู้สึก และเป็นคำถามคาใจของพนักงานในสาขาย่อยต่างๆ เป็นอย่างมาก".