“แบงก์ชาติ” เผยยอดปิดสาขาธนาคารพาณิชย์พุ่ง ผลพวงจาก ไลฟ์สไตล์ เปลี่ยน ผู้บริโภคนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น หลายแบงก์ปรับกลยุทธ์เน้นบริการผ่าน โมบาย-อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ขณะ 2 เดือนแรกปีนี้ สาขาแบงก์ลด 36 สาขา โดย กสิกรไทย ปิดมากสุด
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ มีการปิดสาขา มากกว่าเปิดสาขา เนื่องจาก พฤติกรรม และ ไลฟ์สไตล์ ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีการนำเทคโนโลยีมาให้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้
ประกอบกับ ธนาคารพาณิชย์ มีการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึง ปรับตัวโดยทบทวนจำนวนเครือข่ายที่ตั้งสาขา ย้ายสถานที่(Relocate) และเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่าน โมบาย แบงกิ้ง หรือ อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ตลอดจน การนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ด้วยตนเองด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง มีความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังมีการปรับรูปแบบสาขา ให้มีขนาดที่เหมาะสม อยู่ในที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงง่าย เช่น มีสาขาตามห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ส่วนพนักงานของธนาคารจะได้รับการอบรม เวียนงาน ให้มีประสบการณ์ และทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่ง ธปท. ก็มีการติดตาม การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ การดูแลลูกค้าและ พนักงานให้มีความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า ณ สิ้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบของไทยมีจำนวนสาขารวมทั้งสิ้น 6,980 สาขา ลดลงจากสิ้นปี 2559 ซึ่งมีสาขารวมทั้ง 7,016 สาขา หรือลดลงประมาณ 36 สาขา
สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีจำนวนสาขาลดลงมากสุด ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย มีจำนวนสาขาลดลง 17 สาขา รองลงมาได้แก่ ธนาคารธนชาต มีสาขาลดลง 16 สาขา ธนาคารกรุงไทย ลดลง 3 สาขา ธนาคารทหารไทย ลดลง 3 สาขา ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ไทย ลดลง 2 สาขา ธนาคารไทยพาณิชย์ ลดลง 1 สาขา
ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่มีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ เพิ่มขึ้น 3 สาขา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพิ่มขึ้น 1 สาขา ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) เพิ่มขึ้น 1 สาขา และ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย เพิ่มขึ้น 1 สาขา
ธปท.' ชี้ยอดปิดสาขาแบงก์พุ่ง "ยอดปิดสาขาแบงก์" พุ่ง เผย 2 เดือนลด 36 สาขา
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ มีการปิดสาขา มากกว่าเปิดสาขา เนื่องจาก พฤติกรรม และ ไลฟ์สไตล์ ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีการนำเทคโนโลยีมาให้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้
ประกอบกับ ธนาคารพาณิชย์ มีการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึง ปรับตัวโดยทบทวนจำนวนเครือข่ายที่ตั้งสาขา ย้ายสถานที่(Relocate) และเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่าน โมบาย แบงกิ้ง หรือ อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ตลอดจน การนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ด้วยตนเองด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง มีความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังมีการปรับรูปแบบสาขา ให้มีขนาดที่เหมาะสม อยู่ในที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงง่าย เช่น มีสาขาตามห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ส่วนพนักงานของธนาคารจะได้รับการอบรม เวียนงาน ให้มีประสบการณ์ และทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่ง ธปท. ก็มีการติดตาม การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ การดูแลลูกค้าและ พนักงานให้มีความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า ณ สิ้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบของไทยมีจำนวนสาขารวมทั้งสิ้น 6,980 สาขา ลดลงจากสิ้นปี 2559 ซึ่งมีสาขารวมทั้ง 7,016 สาขา หรือลดลงประมาณ 36 สาขา
สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีจำนวนสาขาลดลงมากสุด ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย มีจำนวนสาขาลดลง 17 สาขา รองลงมาได้แก่ ธนาคารธนชาต มีสาขาลดลง 16 สาขา ธนาคารกรุงไทย ลดลง 3 สาขา ธนาคารทหารไทย ลดลง 3 สาขา ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ไทย ลดลง 2 สาขา ธนาคารไทยพาณิชย์ ลดลง 1 สาขา
ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่มีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ เพิ่มขึ้น 3 สาขา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพิ่มขึ้น 1 สาขา ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) เพิ่มขึ้น 1 สาขา และ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย เพิ่มขึ้น 1 สาขา