ถ้าบอกว่า ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งคือสิ่งที่เป็นตัวเรา เช่น บอกว่า วิญญาณขันธ์ คือสิ่งที่เป็นตัวเรา ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะวิญญาณ เป็นแค่การรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับ อายตนะภายนอก (คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพะ ธรรมารมณ์) เพียงชั่วขณะเท่านั้น ถ้าไม่มีอายตนะภายใน ก็จะไม่มีวิญญาณ และถ้าไม่มีร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็จะเไม่มีอายตนะภายใน
ถ้าบอกว่า ขันธ์ ทั้ง ๕ (คือ ร่างกายกับจิตใจ) คือสิ่งที่เป็นตัวเรา ก็เป็นการเข้าใจผิดอีก เพราะขันธ์ ๕ คือส่วนประกอบ ๕ ส่วนที่มาประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตของเรา ถ้าแยกแต่ละขันธ์ออกจากกันแล้วก็จะหาสิ่งที่เป็นตัวเราไม่มี และแต่ละขันธ์ก็ไม่สามารถที่จะประกอบกันเป็นจิตใจได้ตลอดไป คือในที่สุดไม่ช้าก็เร็วแต่ละขันธ์ก็ต้องดับหายไปในที่สุดอย่างแน่นอน
ถ้าบอกว่า จิตใจ คือสิ่งที่เป็นตัวเรา ก็เป็นการเข้าใจผิดอีก เพราะจิตใจคือสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจาก วิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ถ้าแยกแต่ละขันธ์ออกจากกันแล้วก็จะหาสิ่งที่เป็นตัวเราไม่มี และแต่ละขันธ์ก็ไม่สามารถที่จะประกอบกันเป็นจิตใจได้ตลอดไป คือในที่สุดไม่ช้าก็เร็วแต่ละขันธ์ก็ต้องดับหายไปในที่สุดอย่างแน่นอน
แต่ถ้าจะตอบอย่างกำปั้นทุบดินว่า ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้คือสิ่งที่เป็นตัวเรา ก็เป็นความเข้าใจผิดอีก เพราะความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้ มันก็เกิดขึ้นมาจากจิตใจที่มีอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเอง) ครอบงำอยู่ จึงทำให้มันเกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา และความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้เองที่เมื่อเกิดความพอใจและไม่พอใจ (คือกิเลส) ขึ้นมาเมื่อใด มันก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาทันที (กิเลสจะทำให้เกิดความยึดถือร่างกายและจิตใจนี้ว่าคือตัวเรา-ของเรา)
แต่ถ้าใครยังจะเชื่อว่า อวิชชา คืออำนาจที่จะส่งผลให้เกิดตัวเราหรือขันธ์ ๕ ขึ้นมาใหม่ได้เมื่อร่างกายเก่าตายไป ก็เป็นความเข้าใจผิดอีก เพราะความยึดถือว่ามีตัวเราในปัจจุบัน ก็มาจากความทรงจำเฉพาะที่มาจากการรับรู้โลกมาตลอดทั้งชีวิตที่สมองเก็บไว้ เมื่อร่างกายตาย สมองก็จะตายและข้อมูลจากสมองก็จะหายตามไปด้วย และไม่มีทางที่ข้อมูลจากสมองเก่าจะไปเกิดขึ้นในสมองของคนอื่นได้ (อย่างที่เราเชื่อกันอยู่ว่าความจำอยู่ที่จิต ไม่ได้อยู่ที่สมอง)
ถ้าเราจะเข้าใจอย่างแจ้งชัดแล้วว่า มันไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนของเราจริงๆอยู่ในขันธ์ ๕ (คือมีปัญญาหรือวิชชา) และมีสมาธิพร้อม จิตก็จะไม่เกิดกิเลสและความยึดถือขึ้นมา เมื่อจิตไม่มีกิเลและความยึดถือ จิตก็จะไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็นิพพาน (สงบเย็น)
เราคืออะไรในขันธ์ ๕ ?
ถ้าบอกว่า ขันธ์ ทั้ง ๕ (คือ ร่างกายกับจิตใจ) คือสิ่งที่เป็นตัวเรา ก็เป็นการเข้าใจผิดอีก เพราะขันธ์ ๕ คือส่วนประกอบ ๕ ส่วนที่มาประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตของเรา ถ้าแยกแต่ละขันธ์ออกจากกันแล้วก็จะหาสิ่งที่เป็นตัวเราไม่มี และแต่ละขันธ์ก็ไม่สามารถที่จะประกอบกันเป็นจิตใจได้ตลอดไป คือในที่สุดไม่ช้าก็เร็วแต่ละขันธ์ก็ต้องดับหายไปในที่สุดอย่างแน่นอน
ถ้าบอกว่า จิตใจ คือสิ่งที่เป็นตัวเรา ก็เป็นการเข้าใจผิดอีก เพราะจิตใจคือสิ่งที่ประกอบขึ้นมาจาก วิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ถ้าแยกแต่ละขันธ์ออกจากกันแล้วก็จะหาสิ่งที่เป็นตัวเราไม่มี และแต่ละขันธ์ก็ไม่สามารถที่จะประกอบกันเป็นจิตใจได้ตลอดไป คือในที่สุดไม่ช้าก็เร็วแต่ละขันธ์ก็ต้องดับหายไปในที่สุดอย่างแน่นอน
แต่ถ้าจะตอบอย่างกำปั้นทุบดินว่า ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้คือสิ่งที่เป็นตัวเรา ก็เป็นความเข้าใจผิดอีก เพราะความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้ มันก็เกิดขึ้นมาจากจิตใจที่มีอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเอง) ครอบงำอยู่ จึงทำให้มันเกิดความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา และความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้เองที่เมื่อเกิดความพอใจและไม่พอใจ (คือกิเลส) ขึ้นมาเมื่อใด มันก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาทันที (กิเลสจะทำให้เกิดความยึดถือร่างกายและจิตใจนี้ว่าคือตัวเรา-ของเรา)
แต่ถ้าใครยังจะเชื่อว่า อวิชชา คืออำนาจที่จะส่งผลให้เกิดตัวเราหรือขันธ์ ๕ ขึ้นมาใหม่ได้เมื่อร่างกายเก่าตายไป ก็เป็นความเข้าใจผิดอีก เพราะความยึดถือว่ามีตัวเราในปัจจุบัน ก็มาจากความทรงจำเฉพาะที่มาจากการรับรู้โลกมาตลอดทั้งชีวิตที่สมองเก็บไว้ เมื่อร่างกายตาย สมองก็จะตายและข้อมูลจากสมองก็จะหายตามไปด้วย และไม่มีทางที่ข้อมูลจากสมองเก่าจะไปเกิดขึ้นในสมองของคนอื่นได้ (อย่างที่เราเชื่อกันอยู่ว่าความจำอยู่ที่จิต ไม่ได้อยู่ที่สมอง)
ถ้าเราจะเข้าใจอย่างแจ้งชัดแล้วว่า มันไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนของเราจริงๆอยู่ในขันธ์ ๕ (คือมีปัญญาหรือวิชชา) และมีสมาธิพร้อม จิตก็จะไม่เกิดกิเลสและความยึดถือขึ้นมา เมื่อจิตไม่มีกิเลและความยึดถือ จิตก็จะไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ มันก็นิพพาน (สงบเย็น)