คสช. ไฟเขียวให้งบ TOT วางระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ (กู) 3,289.8 ล้านบาท และเงิน TOT จำนวน 2,689.3 ล้านบาท

14 สิงหาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) คสช. ไฟเขียวให้งบ TOT วางระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศแบ่งเป็นการใช้เงินกู้ในการลงทุน 3,289.8 ล้านบาท และเงิน TOT จำนวน 2,689.3 ล้านบาท
ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ แผนการลงทุนระบบเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศ กำหนดระยะเวลาในการลงทุน 3 ปี (2557 - 2559) โดยแบ่งเป็นการใช้เงินกู้ในการลงทุน 3,289.8 ล้านบาท หรือประมาณ 54% ของเงินลงทุนทั้งหมด และเงินรายได้ของบริษัท ทีโอที จำนวน 2,689.3 ล้านบาท หรือประมาณ 45% ของเงินลงทุนทั้งหมด

สำหรับรายละเอียดการลงทุนใน 3 เส้นทางได้แก่ 1.โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย –ยุโรป 1 (AAE1) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิ้ลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส อิตาลี อียิปต์ ศรีลังกา อินเดีย และเชื่อมต่อกับเครือข่ายประเทศใน จ.สตูล และจ.สงขลา  วงเงินลงทุน 1,408 ล้านบาท

2.โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นทางเซาส์อีสเอเชีย – มิดเดิล อีสต์ – เวสเทิร์น ยุโรป 5 (SEA-ME-WE 5) วงเงินรวมในการ   โดยเส้นทางการวางสายเคเบิ้ลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส บังกลาเทศ มาเลเซีย และประเทศไทย วงเงินลงทุน 1,376 ล้านบาท

3.โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นทางSoutheast Asia – Japan Cable System (SJC) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิ้ลผ่านจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปินส์ ญี่ปุ่น วงเงินลงทุน 2,278 ล้านบาท  นอกจากนั้นยังงบประมาณที่กันไว้สำหรับงานปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายภายในประเทศ เช่น งานก่อสร้างสถานีเคเบิ้ลใต้น้ำ จ.สตูล งานปรับปรุงสถานีเคเบิ้ลใต้น้ำสงขลา งานขยายชุมสายอินเตอร์เน็ต และงบสำรอง รวม 417.94 ล้านบาท


______________________________




คสช.ไฟเขียวทีโอที วางระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ



คสช.ไฟเขียว วางระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ 3 เส้นทาง รองรับบริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ ของทีโอที และยกระดับไทยเป็นศูนย์กลาง บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประเทศเพื่อนบ้าน...

เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมใหญ่ คสช.มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ เพื่อรองรับบริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ ของ บมจ.ทีโอที ตามการเสนอของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

สำหรับเส้นทางของโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ 1.เส้นทางเอเชีย-แอฟริกา-ยุโรป1 (AAE1) 2.เซาท์อีสต์เอเชีย-มิดเดิลอีสต์-เวสเทิร์นยุโรป5 (SEA-ME-WE5) 3.เซาท์อีสต์เอเชีย-เจแปน เคเบิลซีสเท็ม(SJC) โดยทั้ง 3 เส้นทางดังกล่าวนี้ ทางคสช.ได้มอบหมายให้ทีโอทีไปพิจารณาจัดลำดับความสำคัญว่า จะดำเนินการในเส้นทางใดก่อน และให้เสนอต่อซุปเปอร์บอร์ดได้พิจารณา รวมทั้งให้พิจารณาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของเส้นทางดังกล่าวด้วย โดยในรายละเอียดนั้นปลัดกระทรวงไอซีทีจะแถลงให้ทราบในวันที่ 14 ส.ค.อีกครั้ง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยมีวงจรสื่อสารต่างประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ทีโอที และ ISP ต้องเช่าวงจรสื่อสารต่างประเทศจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ มาให้บริการ ทำให้ไทยต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศปีละหลายพันล้าน ดังนั้น การลงทุนโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ เพื่อรองรับบริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศนี้ จะช่วยรองรับความต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศได้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการรองรับประชาคมอาเซียน และช่วยยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างความมั่นคง และสร้างเสถียรภาพในการให้บริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศด้วย.

http://www.thairath.co.th/content/443131

________________________________________________


คสช.ไฟเขียวลงทุนเคเบิ้ลใต้น้ำเพิ่มความเร็วเน็ตไทย


คสช.เห็นชอบแผนการลงทุนเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศวงเงิน 5.9พันล้าน หวังเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตของไทย

เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ร.อ. นพ.ยงยุทธ มัยลาภ คณะทำงานโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า  ที่ประชุม คสช. ครั้งที่ 10 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นประธาน ได้เห็นชอบในหลักการในรายละเอียดของแผนการลงทุนระบบเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศ 3 เส้นทางรวมวงเงินลงทุน 5,979.94 ล้านบาท ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ  ซึ่งที่ประชุมได้ให้ นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นำรายละเอียดเรื่องการลงทุนในโครงการดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ซุปเปอร์บอร์ด) ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 14 ส.ค.นี้

ทั้งนี้ แผนการลงทุนระบบเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศ กำหนดระยะเวลาในการลงทุน 3 ปี (2557 - 2559) โดยแบ่งเป็นการใช้เงินกู้ในการลงทุน 3,289.8 ล้านบาท หรือประมาณ 54% ของเงินลงทุนทั้งหมด และเงินรายได้ของบริษัท ทีโอที จำนวน 2,689.3 ล้านบาท หรือประมาณ 45% ของเงินลงทุนทั้งหมด

สำหรับรายละเอียดการลงทุนใน 3 เส้นทางได้แก่ 1.โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย –ยุโรป 1 (AAE1) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิ้ลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส อิตาลี อียิปต์ ศรีลังกา อินเดีย และเชื่อมต่อกับเครือข่ายประเทศใน จ.สตูล และจ.สงขลา  วงเงินลงทุน 1,408 ล้านบาท

2.โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นทางเซาส์อีสเอเชีย – มิดเดิล อีสต์ – เวสเทิร์น ยุโรป 5 (SEA-ME-WE 5) วงเงินรวมในการ   โดยเส้นทางการวางสายเคเบิ้ลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส บังกลาเทศ มาเลเซีย และประเทศไทย วงเงินลงทุน 1,376 ล้านบาท

3.โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำเส้นทางSoutheast Asia – Japan Cable System (SJC) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิ้ลผ่านจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปินส์ ญี่ปุ่น วงเงินลงทุน 2,278 ล้านบาท  นอกจากนั้นยังงบประมาณที่กันไว้สำหรับงานปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายภายในประเทศ เช่น งานก่อสร้างสถานีเคเบิ้ลใต้น้ำ จ.สตูล งานปรับปรุงสถานีเคเบิ้ลใต้น้ำสงขลา งานขยายชุมสายอินเตอร์เน็ต และงบสำรอง รวม 417.94 ล้านบาท

รอ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ระบบเคเบิ้ลใต้น้ำจะช่วยยกระดับการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศของไทย และเตรียมความพร้อมสู่การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยระบบเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญซึ่งจะต้องมีวงจรในการสื่อสารรองรับความต้องการข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ และปัจจุบันอัตราความเร็วในการรับและส่งผ่านข้อมูลข่าวสารของไทยอยู่ที่ 975 จิกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่หากมีการลงทุนเพิ่มเติมในการวางระบบเคเบิ้ลใต้น้ำใน 3 เส้นทาง ความเร็วในการรับและส่งข้อมูลสามารถเพิ่มขึ้นเป็น 1,800 – 3,700 จิกะไบต์ต่อวินาที ขึ้นอยู่กับเส้นทางที่จะเลือกลงทุน

ขณะเดียวกัน การลงทุนระบบเคบิ้ลใต้น้ำเพิ่มเติมจะช่วยให้มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจและให้บริการระหว่างประเทศที่ต่ำลง และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมกับประเทศในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยให้ทีโอทีสามารถสร้างรายได้ในระยะยาว

รอ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ที่ประชุม คสช. ได้เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับสินทรัพย์รอการพัฒนาของโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ จากเดิมที่จะเป็นการให้การชดเชยในลักษณะเงินยืมไม่เกิน 2 ปี    ให้เปลี่ยนแปลงเป็นการให้เงินอุดหนุนจำนวน 470.88 ล้านบาท เนื่องจากหากให้การชดเชยเป็นเงินกู้ การเคหะฯ ก็คงยังมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับคืนเงินอุดหนุนดังกล่าว หากต้องมีการกู้ใหม่ก็จะเป็นภาระของการเคหะฯอีก


http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/312369/คสช-ไฟเขียวลงทุนเคเบิ้ลใต้น้ำเพิ่มความเร็วเน็ตไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่