'กสท-ทีโอที' เร่งแผนเคเบิลใต้น้ำยกระดับเน็ต-ก้าวสู่ 'ฮับ' อาเซียน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
สองรัฐวิสาหกิจโทรคม เร่งเครื่องขับเคลื่อนซับมารีน เคเบิล กสท เตรียมพร้อมทำตลาด ควบคู่ปรับภาพลักษณ์บริการฉับไว เล็งสู่ฮับ อินโดจีน แนะเอกชนเช่าใช้จะทำราคาแข่งขันเพื่อนบ้านได้ดีกว่าลงทุนเพิ่มเอง ส่วนทีโอทีลุย 3 เส้นทางเชื่อช่วยยกระดับบริการเน็ตระหว่างประเทศ
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสทโทรคมนาคม กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการสายไฟเบอร์ใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (ซับมารีน เคเบิล) กสท ได้เตรียมพร้อมที่จะทำตลาดในรูปแบบของธุรกิจที่หลากหลาย พร้อมภาพลักษณ์ใหม่ เน้นการให้บริการแบบฉับไว และยังคงความเป็นผู้นำด้านโครงข่ายระดับภูมิภาคที่พร้อมเป็นฮับในอินโดไชน่า โดยมีทั้งความพร้อมของโครงข่ายภายในและระหว่างประเทศ และการเชื่อมโยงให้บริการร่วมกับพันธมิตร
นอกจากนี้ กสท ต้องการให้การ ขับเคลื่อนให้สำเร็จได้ต้องมีนโยบายรองรับ ผู้ที่จะเข้ามาใช้งาน โดยเฉพาะผู้ผลิต คอนเทนท์ อย่าง ไลน์ กูเกิล เฟซบุ๊ค ซึ่งคนไทยใช้งานสูงสุด เชื่อมั่นและใช้ไทยเป็นฐานแทนประเทศสิงคโปร์
ทั้งนี้ เมื่อทราบความต้องการของปริมาณการใช้งานแล้ว จะทำให้ลงทุนได้อย่างคุ้มค่า และเห็นว่าภาคเอกชนก็ไม่ควรลงทุนเพิ่ม แต่ควรหันมาเช่าใช้ของ กสท จะทำให้ทำราคาแข่งขันกับประเทศสิงคโปร์ได้
ขณะเดียวกัน ยังทำให้ประเทศไทยกระจายเส้นทางอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ได้ดีขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่มีเส้นทางลงไปยังภาคใต้ 80% ภาคตะวันตก และตะวันออก เพียง 20% โดยเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนตัดสินใจ ด้วยว่าจะมาลงทุนหรือไม่ หากเส้นทางกระจุกตัวที่ใดทีหนึ่งมากเกินไป ก็เป็นความเสี่ยง
พ.อ.สรรพชัย ระบุว่า ปัจจุบันตลาดรวมของประเทศไทยต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต เกตเวย์อยู่ประมาณ 2 เทราไบต์ อัตราการเติบโตปีละ 80% คาดว่าภายใน 5 ปี ตลาดจะเติบโตถึง 60 เทราไบต์
ดังนั้นหากทำให้เกิดโครงการดังกล่าวได้จะทำให้การให้บริการอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะทำให้ราคาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตลดลงจากปัจจุบัน ประมาณ 15 ดอลลาร์ต่อเมกะไบต์ต่อเดือน ให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้กับการไปเชื่อมต่อโดยตรงที่สิงคโปร์ (ระดับ 5 ดอลลาร์ในระยะยาว)
อีกทั้งยังส่งผลให้ราคาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ครัวเรือน ในประเทศถูกลง ราว 15-20% และ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ ทุกครัวเรือนภายในปี 2560 และเพิ่มสัดส่วนการใช้งานเกตเวย์ ของ กสท โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ของรัฐวิสาหกิจจากเดิม 20-25% ให้อยู่ที่ประมาณ 50-60% ของปริมาณทราฟฟิกรวมของทั้งประเทศ
ส่วนโครงข่ายหลักนั้น กสท มีระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมโยงในกลุ่มประเทศอาเซียน 4 ระบบ รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายภาคพื้นดินตามเขตแนวชายแดนกับลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย อีกทั้งการสร้างศักยภาพในกลุ่มประเทศอินโดจีนระหว่างรัฐบาล (จีทูจี) ทั้งลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม และจีน
พ.อ.สรรพชัย มองว่าโอกาสเติบโตของธุรกิจกลุ่มบริการสื่อสารข้อมูล จะได้รับแรงผลักดันจากการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ และวงจรสื่อสารข้อมูลในประเทศของ กสท ซึ่งรองรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทั้งอินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ และโมบาย โอเปอเรเตอร์
"กสท มีความพร้อมในการพัฒนาบริการที่หลากหลาย เช่น การเปลี่ยนผ่านระบบทีวีอนาล็อกเป็นดิจิทัล เป็นโอกาสที่ กสท ได้เปิดบริการใหม่สำหรับลูกค้ากลุ่มคอนเทนท์ โพรวายเดอร์ ผ่านระบบดาวเทียมออกอากาศในระบบดิจิทัล"
ปัจจุบัน กสท ยังลงทุนในระบบเคเบิลใต้น้ำระบบใหม่ คือ ระบบเอเชีย แปซิฟิก เกตเวย์ (เอพีจี) ซึ่งกำหนดเสร็จปี 2558 แต่ประสบปัญหาเรื่องจุดขึ้นบกที่ประเทศจีน ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดบริการเป็นต้นปีนี้
โครงการดังกล่าวนับเป็นการลงทุน เริ่มต้นที่มีมูลค่าสูงราว 1,500 ล้านบาท แต่จะสร้างรายได้ในระยะยาวโดยจะรองรับความต้องการในอาเซียน และประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ระบบนี้รองรับความจุกว่า 55 เทราบิต
:ทีโอทีชูแผนลงทุน3เส้นทาง
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวถึง โครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ตามแผนที่ทีโอทีมีโครงการจะสร้างซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณมาตั้งแต่เดือนส.ค.2557 วงเงิน 5,979.14 ล้านบาท มีรายละเอียด การลงทุน 3 เส้นทาง ได้แก่
1. โครงการเคเบิลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย - ยุโรป 1 (เอเออี-1) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส อิตาลี อียิปต์ ศรีลังกา อินเดีย และเชื่อมต่อกับเครือข่ายประเทศใน จ.สตูล และจ.สงขลา วงเงินลงทุน 1,408 ล้านบาท
2. โครงการเคเบิลใต้น้ำเส้นทาง เซาธ์อีสต์เอเชีย - มิดเดิล อีสต์ - เวสเทิร์น ยุโรป 5 (ซี-มี-วี 5) เส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส บังกลาเทศ มาเลเซีย และไทย วงเงิน ลงทุน 1,376 ล้านบาท และ
3. โครงการเคเบิลใต้น้ำเส้นทางเซาธ์อีสต์เอเชีย - เจแปน เคเบิล ซิสเต็ม (เอสเจซี) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น วงเงินลงทุน 2,278 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทีโอที ได้ชี้แจงถึงความต้องการระบบเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทยว่า ในอนาคตจะมีความสำคัญในการช่วย ยกระดับการให้บริการทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ และเตรียมความพร้อมสู่การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
"ไทยควรมีวงจรสื่อสารรองรับ ความต้องการข้อมูลข่าวสารอย่าง เพียงพอ และปัจจุบันอัตราความเร็ว ในการรับและส่งผ่านข้อมูลข่าวสารของ ไทยอยู่ที่ 975 กิกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ หากลงทุนเพิ่มเติมวางระบบเคเบิลใต้น้ำ 3 เส้นทาง ความเร็วการรับและส่งข้อมูล จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,800-3,700 กิกะไบต์ ต่อวินาที ขึ้นอยู่กับเส้นทางที่จะเลือกลงทุน"
การลงทุนระบบเคเบิลใต้น้ำ เพิ่มเติมจะช่วยให้มีต้นทุนดำเนินธุรกิจและให้บริการระหว่างประเทศต่ำลง และแข่งขันกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศอาเซียน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยให้ทีโอทีสร้างรายได้ระยะยาวให้องค์กรได้ต่อไป
โดยปัจจุบันอยู่ระหว่าง การบริหารโครงการ และการเตรียม จัดจ้างเหมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในประเทศเพื่อรองรับ ทั้งสถานีเคเบิลใต้น้ำ และโครงข่ายเคเบิลใยแก้วภาคพื้นดิน ซึ่งจะเชื่อมต่อสถานีเคเบิลใต้น้ำเอเออี-1 ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกซึ่งคืบหน้า ไปมากแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน พ.ย.2559
จราจรบนโครงข่าย'โต'ทั่วภูมิภาค
จากสถิติ และคาดการอัตราการเติบโตของการจราจรบนโครงข่ายบรอดแบนด์ในอาเซียนมีสูงขึ้น เป็นตัวเลข 2 หลักทุกปี จากปี 2555-2564 หรือเฉลี่ยโต 44% หรือขึ้นไปถึง 40 เทราไบต์ ขณะที่ทั่วโลก โต 39% ดังนั้นอัตราการเติบโตของอาเซียนจึงมีมากกว่าทั่วโลก
เปรียบเทียบปริมาณการผู้ใช้งานบรอดแบนด์ 4 ประเทศ ไทยเพิ่มจาก 35 เป็น 56% เมียนมา2.1 เป็น 12.6% เติบโต 5-6 เท่าตัวโดยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอีก 2 ราย เวียดนาม 48.3 เป็น 58.5% กัมพูชา 28.5 เป็น 38.5%จากปริมาณการเติบโตดังกล่าวทุกประเทศต่างขยับตัวรองรับกันหมด
นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการ ผู้จัดการ บมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่า การจราจรบนโครงข่ายประมาณ 80% ของแบนด์วิธมักไปมาเลเซีย และสิงคโปร์ โดย 75% วิ่งภาคพื้นดิน อีก 25% ผ่านเคเบิลใต้น้ำของ กสท และ ปรับเปลี่ยนไปอยู่ที่มาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิมไปสิงคโปร์ 80%
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการคอนเทนท์ รายใหญ่ๆ เช่น ไลน์ กูเกิล มักตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้มาเลเซีย เพราะเป็นประเทศที่ส่งเสริมด้านดิจิทัลมากว่า 20 ปี ซึ่งมาเลเซียเป็นฮับได้เพราะมีเคเบิลใต้น้ำ 15 ระบบ และเคเบิลภาคพื้นดิน 6 ระบบ
"คอนเทนท์ โพรวายเดอร์อยากมาไทย พฤติกรรมจึงจะขยับมาไทยให้ได้ มีตั้งแคชชิ่งเล็กๆ ที่ดูแลหน้าเว็บที่ใช้งาน บ่อยๆ ไว้ในไทย ซึ่งการมาตั้งในไทยติดขัด 2 เรื่อง คือระบบเชื่อมต่อมีไม่พอ เพราะมีเคเบิลให้บริการเพียง 6-8 ระบบ เคเบิลใต้น้ำก็มีน้อยไป และกฎระเบียบที่ไม่ชัดเจน"
บริษัทสนับสนุนการผลักดันไทยเป็นฮับโครงข่ายโทรคมนาคมอาเซียน นำดิจิทัล คอนเทนท์มาตั้งในประเทศ ต้องการให้คนไทยใช้โครงข่ายไฟเบอร์ หรืออินเทอร์เน็ตราคาถูก หากไทยเป็นฮับค่าดึงข้อมูลก็ต้องถูกลง ซึ่งเชื่อว่า ภายใน 3-5 ปี น่าจะมีคอนเทนท์ โพรวายเดอร์ มาอยู่กรุงเทพฯ
ในส่วนของบริษัท นอกจากการเชื่อมโยงโครงข่ายเคเบิลภาคพื้นดินกับประเทศต่างๆ แล้ว ยังร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย และกัมพูชาภายใต้โครงการไฟเบอร์ออพติกใต้น้ำ (ซับมารีนเคเบิล) เอ็มซีทีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ
สร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (แลนดิ้ง สเตชั่น)แต่ละประเทศเพื่อ เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกันรวมระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ และสร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (Landing Station) ในแต่ละประเทศเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกัน
สำหรับประเทศไทยมีสถานีภาค พื้นดินชื่อ"โมฬี เคเบิลแลนดิ้ง สเตชั่น" ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง โดยวางสายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำลงไปในอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตรแล้วแยก เส้นทางไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งสถานี ภาคพื้นดินของแต่ละประเทศ จะช่วยยกระดับการสื่อสารและธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนขึ้นไปอีกขั้น
เดิมมีกำหนดเปิดตัวโครงการเดือน ต.ค.2558 แต่ปัจจุบันได้เลื่อนออกไปเป็นประมาณกลางปี 2560 ซึ่งจะเป็นช่วงเดียวกับการโรลเอาท์ 4จี 80% ของประเทศ ถือว่า เป็นจังหวะที่พอดีกับความต้องการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ที่มากขึ้น
"ตั้งเป้าจะทำให้ราคาถูกลง ขายต่ำกว่า กสท 50-70% ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้า หากมีมากก็ทำราคาได้ถูกมาก"
ซิมโฟนี่ ถือเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายเคเบิลบนดิน และเป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการสร้างและดำเนินการวางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทย
โครงการนี้ใช้เทคโนโลยีที่ออกแบบ มาเพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อทั้งรับและ ส่งข้อมูลได้สูงถึง 100 กิกะไบต์ต่อช่องสัญญาณรองรับการขยายตัวได้มากถึง 30 เทราไบต์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมในภูมิภาคให้ผู้ใช้บริการทุกระดับสัมผัสประสบการณ์บริการ บรอดแบรนด์และใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความร่วมมือดังกล่าว เป็นการยกระดับการสื่อสารและธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหวังจะส่งผลให้เกิดการเติบโตในทุกภาคส่วนต่อภูมิภาคนี้อย่างมหาศาล เพราะ เป้าหมายสำคัญคือรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารในโลกยุคดิจิทัลที่นับวันจะเติบโตเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มประเทศอินโดจีน ไปจนถึงทวีปอื่นๆ
-----มีต่อ-----
'กสท-ทีโอที' เร่งแผนเคเบิลใต้น้ำยกระดับเน็ต-ก้าวสู่ 'ฮับ' อาเซียน
'กสท-ทีโอที' เร่งแผนเคเบิลใต้น้ำยกระดับเน็ต-ก้าวสู่ 'ฮับ' อาเซียน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
สองรัฐวิสาหกิจโทรคม เร่งเครื่องขับเคลื่อนซับมารีน เคเบิล กสท เตรียมพร้อมทำตลาด ควบคู่ปรับภาพลักษณ์บริการฉับไว เล็งสู่ฮับ อินโดจีน แนะเอกชนเช่าใช้จะทำราคาแข่งขันเพื่อนบ้านได้ดีกว่าลงทุนเพิ่มเอง ส่วนทีโอทีลุย 3 เส้นทางเชื่อช่วยยกระดับบริการเน็ตระหว่างประเทศ
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสทโทรคมนาคม กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการสายไฟเบอร์ใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (ซับมารีน เคเบิล) กสท ได้เตรียมพร้อมที่จะทำตลาดในรูปแบบของธุรกิจที่หลากหลาย พร้อมภาพลักษณ์ใหม่ เน้นการให้บริการแบบฉับไว และยังคงความเป็นผู้นำด้านโครงข่ายระดับภูมิภาคที่พร้อมเป็นฮับในอินโดไชน่า โดยมีทั้งความพร้อมของโครงข่ายภายในและระหว่างประเทศ และการเชื่อมโยงให้บริการร่วมกับพันธมิตร
นอกจากนี้ กสท ต้องการให้การ ขับเคลื่อนให้สำเร็จได้ต้องมีนโยบายรองรับ ผู้ที่จะเข้ามาใช้งาน โดยเฉพาะผู้ผลิต คอนเทนท์ อย่าง ไลน์ กูเกิล เฟซบุ๊ค ซึ่งคนไทยใช้งานสูงสุด เชื่อมั่นและใช้ไทยเป็นฐานแทนประเทศสิงคโปร์
ทั้งนี้ เมื่อทราบความต้องการของปริมาณการใช้งานแล้ว จะทำให้ลงทุนได้อย่างคุ้มค่า และเห็นว่าภาคเอกชนก็ไม่ควรลงทุนเพิ่ม แต่ควรหันมาเช่าใช้ของ กสท จะทำให้ทำราคาแข่งขันกับประเทศสิงคโปร์ได้
ขณะเดียวกัน ยังทำให้ประเทศไทยกระจายเส้นทางอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ได้ดีขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่มีเส้นทางลงไปยังภาคใต้ 80% ภาคตะวันตก และตะวันออก เพียง 20% โดยเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนตัดสินใจ ด้วยว่าจะมาลงทุนหรือไม่ หากเส้นทางกระจุกตัวที่ใดทีหนึ่งมากเกินไป ก็เป็นความเสี่ยง
พ.อ.สรรพชัย ระบุว่า ปัจจุบันตลาดรวมของประเทศไทยต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต เกตเวย์อยู่ประมาณ 2 เทราไบต์ อัตราการเติบโตปีละ 80% คาดว่าภายใน 5 ปี ตลาดจะเติบโตถึง 60 เทราไบต์
ดังนั้นหากทำให้เกิดโครงการดังกล่าวได้จะทำให้การให้บริการอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะทำให้ราคาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตลดลงจากปัจจุบัน ประมาณ 15 ดอลลาร์ต่อเมกะไบต์ต่อเดือน ให้อยู่ในระดับที่แข่งขันได้กับการไปเชื่อมต่อโดยตรงที่สิงคโปร์ (ระดับ 5 ดอลลาร์ในระยะยาว)
อีกทั้งยังส่งผลให้ราคาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ครัวเรือน ในประเทศถูกลง ราว 15-20% และ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ ทุกครัวเรือนภายในปี 2560 และเพิ่มสัดส่วนการใช้งานเกตเวย์ ของ กสท โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ ของรัฐวิสาหกิจจากเดิม 20-25% ให้อยู่ที่ประมาณ 50-60% ของปริมาณทราฟฟิกรวมของทั้งประเทศ
ส่วนโครงข่ายหลักนั้น กสท มีระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมโยงในกลุ่มประเทศอาเซียน 4 ระบบ รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายภาคพื้นดินตามเขตแนวชายแดนกับลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย อีกทั้งการสร้างศักยภาพในกลุ่มประเทศอินโดจีนระหว่างรัฐบาล (จีทูจี) ทั้งลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม และจีน
พ.อ.สรรพชัย มองว่าโอกาสเติบโตของธุรกิจกลุ่มบริการสื่อสารข้อมูล จะได้รับแรงผลักดันจากการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ และวงจรสื่อสารข้อมูลในประเทศของ กสท ซึ่งรองรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทั้งอินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ และโมบาย โอเปอเรเตอร์
"กสท มีความพร้อมในการพัฒนาบริการที่หลากหลาย เช่น การเปลี่ยนผ่านระบบทีวีอนาล็อกเป็นดิจิทัล เป็นโอกาสที่ กสท ได้เปิดบริการใหม่สำหรับลูกค้ากลุ่มคอนเทนท์ โพรวายเดอร์ ผ่านระบบดาวเทียมออกอากาศในระบบดิจิทัล"
ปัจจุบัน กสท ยังลงทุนในระบบเคเบิลใต้น้ำระบบใหม่ คือ ระบบเอเชีย แปซิฟิก เกตเวย์ (เอพีจี) ซึ่งกำหนดเสร็จปี 2558 แต่ประสบปัญหาเรื่องจุดขึ้นบกที่ประเทศจีน ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดบริการเป็นต้นปีนี้
โครงการดังกล่าวนับเป็นการลงทุน เริ่มต้นที่มีมูลค่าสูงราว 1,500 ล้านบาท แต่จะสร้างรายได้ในระยะยาวโดยจะรองรับความต้องการในอาเซียน และประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ระบบนี้รองรับความจุกว่า 55 เทราบิต
:ทีโอทีชูแผนลงทุน3เส้นทาง
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวถึง โครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ตามแผนที่ทีโอทีมีโครงการจะสร้างซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณมาตั้งแต่เดือนส.ค.2557 วงเงิน 5,979.14 ล้านบาท มีรายละเอียด การลงทุน 3 เส้นทาง ได้แก่
1. โครงการเคเบิลใต้น้ำเส้นทางเอเชีย - ยุโรป 1 (เอเออี-1) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส อิตาลี อียิปต์ ศรีลังกา อินเดีย และเชื่อมต่อกับเครือข่ายประเทศใน จ.สตูล และจ.สงขลา วงเงินลงทุน 1,408 ล้านบาท
2. โครงการเคเบิลใต้น้ำเส้นทาง เซาธ์อีสต์เอเชีย - มิดเดิล อีสต์ - เวสเทิร์น ยุโรป 5 (ซี-มี-วี 5) เส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากประเทศฝรั่งเศส บังกลาเทศ มาเลเซีย และไทย วงเงิน ลงทุน 1,376 ล้านบาท และ
3. โครงการเคเบิลใต้น้ำเส้นทางเซาธ์อีสต์เอเชีย - เจแปน เคเบิล ซิสเต็ม (เอสเจซี) โดยเส้นทางการวางสายเคเบิลผ่านจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น วงเงินลงทุน 2,278 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทีโอที ได้ชี้แจงถึงความต้องการระบบเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทยว่า ในอนาคตจะมีความสำคัญในการช่วย ยกระดับการให้บริการทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ และเตรียมความพร้อมสู่การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
"ไทยควรมีวงจรสื่อสารรองรับ ความต้องการข้อมูลข่าวสารอย่าง เพียงพอ และปัจจุบันอัตราความเร็ว ในการรับและส่งผ่านข้อมูลข่าวสารของ ไทยอยู่ที่ 975 กิกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ หากลงทุนเพิ่มเติมวางระบบเคเบิลใต้น้ำ 3 เส้นทาง ความเร็วการรับและส่งข้อมูล จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,800-3,700 กิกะไบต์ ต่อวินาที ขึ้นอยู่กับเส้นทางที่จะเลือกลงทุน"
การลงทุนระบบเคเบิลใต้น้ำ เพิ่มเติมจะช่วยให้มีต้นทุนดำเนินธุรกิจและให้บริการระหว่างประเทศต่ำลง และแข่งขันกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศอาเซียน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยให้ทีโอทีสร้างรายได้ระยะยาวให้องค์กรได้ต่อไป
โดยปัจจุบันอยู่ระหว่าง การบริหารโครงการ และการเตรียม จัดจ้างเหมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในประเทศเพื่อรองรับ ทั้งสถานีเคเบิลใต้น้ำ และโครงข่ายเคเบิลใยแก้วภาคพื้นดิน ซึ่งจะเชื่อมต่อสถานีเคเบิลใต้น้ำเอเออี-1 ฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกซึ่งคืบหน้า ไปมากแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน พ.ย.2559
จราจรบนโครงข่าย'โต'ทั่วภูมิภาค
จากสถิติ และคาดการอัตราการเติบโตของการจราจรบนโครงข่ายบรอดแบนด์ในอาเซียนมีสูงขึ้น เป็นตัวเลข 2 หลักทุกปี จากปี 2555-2564 หรือเฉลี่ยโต 44% หรือขึ้นไปถึง 40 เทราไบต์ ขณะที่ทั่วโลก โต 39% ดังนั้นอัตราการเติบโตของอาเซียนจึงมีมากกว่าทั่วโลก
เปรียบเทียบปริมาณการผู้ใช้งานบรอดแบนด์ 4 ประเทศ ไทยเพิ่มจาก 35 เป็น 56% เมียนมา2.1 เป็น 12.6% เติบโต 5-6 เท่าตัวโดยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอีก 2 ราย เวียดนาม 48.3 เป็น 58.5% กัมพูชา 28.5 เป็น 38.5%จากปริมาณการเติบโตดังกล่าวทุกประเทศต่างขยับตัวรองรับกันหมด
นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการ ผู้จัดการ บมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่า การจราจรบนโครงข่ายประมาณ 80% ของแบนด์วิธมักไปมาเลเซีย และสิงคโปร์ โดย 75% วิ่งภาคพื้นดิน อีก 25% ผ่านเคเบิลใต้น้ำของ กสท และ ปรับเปลี่ยนไปอยู่ที่มาเลเซียเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิมไปสิงคโปร์ 80%
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการคอนเทนท์ รายใหญ่ๆ เช่น ไลน์ กูเกิล มักตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้มาเลเซีย เพราะเป็นประเทศที่ส่งเสริมด้านดิจิทัลมากว่า 20 ปี ซึ่งมาเลเซียเป็นฮับได้เพราะมีเคเบิลใต้น้ำ 15 ระบบ และเคเบิลภาคพื้นดิน 6 ระบบ
"คอนเทนท์ โพรวายเดอร์อยากมาไทย พฤติกรรมจึงจะขยับมาไทยให้ได้ มีตั้งแคชชิ่งเล็กๆ ที่ดูแลหน้าเว็บที่ใช้งาน บ่อยๆ ไว้ในไทย ซึ่งการมาตั้งในไทยติดขัด 2 เรื่อง คือระบบเชื่อมต่อมีไม่พอ เพราะมีเคเบิลให้บริการเพียง 6-8 ระบบ เคเบิลใต้น้ำก็มีน้อยไป และกฎระเบียบที่ไม่ชัดเจน"
บริษัทสนับสนุนการผลักดันไทยเป็นฮับโครงข่ายโทรคมนาคมอาเซียน นำดิจิทัล คอนเทนท์มาตั้งในประเทศ ต้องการให้คนไทยใช้โครงข่ายไฟเบอร์ หรืออินเทอร์เน็ตราคาถูก หากไทยเป็นฮับค่าดึงข้อมูลก็ต้องถูกลง ซึ่งเชื่อว่า ภายใน 3-5 ปี น่าจะมีคอนเทนท์ โพรวายเดอร์ มาอยู่กรุงเทพฯ
ในส่วนของบริษัท นอกจากการเชื่อมโยงโครงข่ายเคเบิลภาคพื้นดินกับประเทศต่างๆ แล้ว ยังร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย และกัมพูชาภายใต้โครงการไฟเบอร์ออพติกใต้น้ำ (ซับมารีนเคเบิล) เอ็มซีทีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ
สร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (แลนดิ้ง สเตชั่น)แต่ละประเทศเพื่อ เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกันรวมระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ และสร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (Landing Station) ในแต่ละประเทศเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกัน
สำหรับประเทศไทยมีสถานีภาค พื้นดินชื่อ"โมฬี เคเบิลแลนดิ้ง สเตชั่น" ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง โดยวางสายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำลงไปในอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตรแล้วแยก เส้นทางไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งสถานี ภาคพื้นดินของแต่ละประเทศ จะช่วยยกระดับการสื่อสารและธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนขึ้นไปอีกขั้น
เดิมมีกำหนดเปิดตัวโครงการเดือน ต.ค.2558 แต่ปัจจุบันได้เลื่อนออกไปเป็นประมาณกลางปี 2560 ซึ่งจะเป็นช่วงเดียวกับการโรลเอาท์ 4จี 80% ของประเทศ ถือว่า เป็นจังหวะที่พอดีกับความต้องการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ที่มากขึ้น
"ตั้งเป้าจะทำให้ราคาถูกลง ขายต่ำกว่า กสท 50-70% ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้า หากมีมากก็ทำราคาได้ถูกมาก"
ซิมโฟนี่ ถือเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายเคเบิลบนดิน และเป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการสร้างและดำเนินการวางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทย
โครงการนี้ใช้เทคโนโลยีที่ออกแบบ มาเพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อทั้งรับและ ส่งข้อมูลได้สูงถึง 100 กิกะไบต์ต่อช่องสัญญาณรองรับการขยายตัวได้มากถึง 30 เทราไบต์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมในภูมิภาคให้ผู้ใช้บริการทุกระดับสัมผัสประสบการณ์บริการ บรอดแบรนด์และใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความร่วมมือดังกล่าว เป็นการยกระดับการสื่อสารและธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหวังจะส่งผลให้เกิดการเติบโตในทุกภาคส่วนต่อภูมิภาคนี้อย่างมหาศาล เพราะ เป้าหมายสำคัญคือรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารในโลกยุคดิจิทัลที่นับวันจะเติบโตเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มประเทศอินโดจีน ไปจนถึงทวีปอื่นๆ
-----มีต่อ-----