ไทยทวงคืนแชมป์ส่งออกข้าว อานิสงส์อินเดียแล้งปลายปีราคาดีดขึ้น

กระทู้ข่าว
ยักษ์ส่งออกข้าวไทย "เอเชียโกลเด้นฯ-ข้าวไชยพร" จับมือกระทรวงพาณิชย์ ทวงคืนแชมป์ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก คาดการณ์ตลอดทั้งปีส่งออกได้ 10 ล้านตัน เหตุปัจจัยบวกหนุนส่ง เกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ สต๊อกข้าวอินเดียลด อินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์-มาเลเซีย-อิรัก พร้อมเปิดประมูลบิ๊กลอต

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานผลการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม-มิถุนายน) 2557 ปรากฏมีปริมาณ 5.35 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 74.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในด้านมูลค่าเพิ่มขึ้น 20% หรือมีมูลค่า 2,612 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทราว 84,176 ล้านบาท สำหรับราคาส่งออกเฉลี่ยข้าวทุกชนิดตันละ 488 เหรียญสหรัฐ หรือลดลง 31.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นี้จะเป็นไปตามเป้าหมายการส่งออกปี 2557 ที่กำหนดไว้ ปริมาณ 9.0 ล้านตัน มูลค่า 4,410 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกข้าวเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตข้าวของประเทศผู้ส่งออกส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อินเดีย-ปากีสถาน" ออกสู่ตลาดชะลอตัวลง ส่งผลให้ราคาข้าวของ 2 ประเทศขยับสูงขึ้น ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังรุ่นแรกของไทยออกสู่ตลาดหมดแล้ว รวมทั้งไทยได้ชะลอการเปิดประมูลจำหน่ายข้าวในสต๊อกข้าวรัฐบาล ภาวะดังกล่าวส่งผลให้ราคาข้าวสารจำหน่ายในประเทศปรับสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะข้าวขาว 5% ปรับขึ้นเฉลี่ยตันละ 500 บาท จากต้นเดือนขาย 12,000 บาทเป็น 12,500 บาทในช่วงปลายเดือน

สำหรับปัจจัยบวกการส่งออกข้าวครึ่งปีหลังยังเป็นผลดีจากการที่ไม่มีโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ราคาข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด การบริหารจัดสต๊อกของรัฐบาลไทยด้วยการปรับวิธีการระบายข้าวแบบรัฐร่วมกับเอกชน (G+P) ขณะที่ปรากฏการณ์เอลนิโญที่จะทำให้เกิดภัยแล้ง ส่งผลให้ต่อปริมาณผลผลิต-การค้าข้าวโลก โดยตลาดนำเข้าสำคัญอย่างตลาดเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีแนวโน้มจะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น เพราะผลผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบจากเอลนิโญโดยตรง ในขณะที่ประเทศอิรักเองก็ต้องการนำเข้าข้าวเพื่อสำรองไว้ในสต๊อกในช่วงเทศกาลถือศีลอดรอมฎอน ด้านไนจีเรียก็เพิ่มคำสั่งซื้อข้าวนึ่งชั้นดี หลังจากรัฐบาลไนจีเรียได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าข้าวลง

ด้านประเทศคู่แข่งส่งออกข้าวของไทยอย่าง เวียดนาม ก็ประสบปัญหาความขัดแย้งกับจีน ส่งผลให้จีนหันไปนำเข้าข้าวจากประเทศอื่นแทน จึงเป็นโอกาสของข้าวไทยที่ยังคงมีสัญญาผูกพันกับบริษัทคอฟโก้ รัฐวิสาหกิจจีนที่ทำสัญญาจะซื้อข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ G to G จากรัฐบาลไทยอีก 900,000 ตัน

ส่วนอินเดียมีปริมาณข้าวในสต๊อก 28.03 ล้านตัน หรือลดลงถึง 33.31% เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลอินเดียนำข้าวในสต๊อกไปจำหน่ายให้ประชาชนในประเทศเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพที่ขยับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1406902968

เย้ ชาวนาจะรวยแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่