ซี.พี.ขยายฐานเปิดโรงสีในกัมพูชา หวังได้สิทธิพิเศษ GSP ส่งข้าวไปยุโรปเสียภาษี 0%
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 26 ก.พ. 2558 เวลา 16:00:40 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ซี.พี.อินเตอร์เทรด บุกเปิดโรงสีข้าวในกัมพูชา หลังเห็นช่องทางส่งออกข้าวภาษี 0% ภายใต้สิทธิ GSP เข้าสหภาพยุโรป เผยข้าวหอมมะลิไทยต้องแข่งกับข้าวหอมมะลิเขมรหนัก คุณภาพใกล้กันแต่ราคาข้าวเขมรถูกกว่า ด้านตลาดส่งออกปีนี้ยังเน้นแอฟริกา ใช้วิธีประมูลข้าวเก่าสต๊อกรัฐบาลส่งออก
นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (ธุรกิจข้าวและอาหาร) บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด ผู้ผลิตข้าวแบรนด์ "ตราฉัตร" กล่าวว่า ซี.พี.อินเตอร์เทรดได้เข้าไปร่วมทุนกับนักธุรกิจกัมพูชา สร้างโรงสีข้าวกำลังผลิต 100,000 ตัน/ปี โดยโรงสีแห่งนี้จะเปิดดำเนินการได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เป็นการผลิตเพื่อส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรป ภายใต้สิทธิพิเศษทางอัตราภาษีศุลกากร (GSP) ที่สหภาพยุโรปให้กับกัมพูชา
ทั้งนี้ กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษ GSP เก็บภาษีนำเข้าข้าว 0% จากสหภาพยุโรป เมื่อ 3-4 ปีก่อน ขณะที่เมียนมาร์ก็ได้รับสิทธิพิเศษ GSP รูปแบบเดียวกันเมื่อปี 2557 การที่ทั้ง 2 ประเทศได้รับสิทธิพิเศษ GSP มีผลทำให้ประเทศไทยเริ่มเสียตลาดข้าวในสหภาพยุโรป แม้ราคาข้าวนึ่งต้นทางของไทยและเมียนมาร์จะใกล้เคียงกันที่ประมาณ 420 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่ไทยได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าข้าวไปสหภาพยุโรปเพียง 25,000 ตัน/ปี ส่วนข้าวลองเกรนจะต้องเสียภาษีประมาณตันละ 5,000 บาท
"ผู้นำเข้าข้าวของสหภาพยุโรปจึงหันไปซื้อข้าวเมียนมาร์กับข้าวกัมพูชาเพิ่มเพราะภาษีต่ำ ฉะนั้นไทยมีสิทธิเสียตลาดข้าวอียูให้กับสองประเทศนี้เพิ่มขึ้น ด้านคุณภาพข้าวหอมมะลิระหว่างหอมมะลิไทยกับหอมมะลิกัมพูชาถือว่าสูสีกันมาก สมมติตีคะแนนคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยเต็ม 100 ข้าวกัมพูชาน่าจะทำได้ถึงได้ 85-90 คะแนน แต่ราคาถูกกว่า และถือว่าคุณภาพทดแทนกันได้" นายสุเมธกล่าว
สำหรับตลาดข้าวไทยในปีนี้จะเน้นการระบายข้าวเก่าจากสต๊อกรัฐบาล ซึ่งจะเจาะตลาดทวีปแอฟริกาเป็นหลักต่อเนื่องจากปี 2557 ไทยส่งออกข้าวไปตลาดแอฟริการวม 5-6 ล้านตัน ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มจากการแข่งขันราคากับข้าวอินเดีย ซึ่งเป็นคู่แข่งหลัก โดยมีประเทศที่ยอดขายข้าวเติบโตมาก เช่น ไนจีเรียเพิ่มขึ้น 970,000 ตัน,โกตดิวัวร์เพิ่มขึ้น 630,000 ตัน และเบนินเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 ตัน
ด้านการส่งออกข้าวตลอดทั้งปี 2558 คาดว่าจะส่งออกได้ปริมาณรวม 10.5 ล้านตัน แต่ต้องประเมินเดือนต่อเดือน เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าคอมโมดิตี้ที่ขึ้นอยู่กับสภาพการเพาะปลูกและการเมือง สำหรับบริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด คาดว่าจะจำหน่ายข้าวทะลุหลัก 1 ล้านตัน แบ่งเป็น ตลาดส่งออก 700,000 ตัน กับตลาดในประเทศ 300,000-350,000 ตัน โดยบริษัทจะเน้นการประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลเพื่อส่งออกไปแอฟริกา ซึ่งขณะนี้ได้ข้าวไปแล้ว 40,000-45,000 ตัน จากการประมูลรอบล่าสุด และหลังจากนี้บริษัทก็จะเข้าร่วมประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลทุกรอบ
ส่วนราคาข้าวตลอดทั้งปีคาดว่าราคาจะยังคงทรงตัว และต้องจับตาคู่แข่งสำคัญอย่างอินเดีย โดยเดือนมกราคมที่ผ่านมา อินเดียส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 1.03 ล้านตัน ขณะที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 2 ปริมาณ 970,000 ตัน "ตอนนี้สต๊อกข้าวอินเดียที่เก็บไว้ลดลงมามาก จากเคยเก็บไว้ 20 กว่าล้านตันเมื่อต้นปี 2558 เหลือเพียง 10 กว่าล้านตัน ทางอินเดียก็หวังว่าฤดูเพาะปลูกข้าวในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมปีนี้ ผลผลิตข้าวจะได้ตามปกติ แต่ถ้าเกิดสมมติว่าแล้งหรือแล้งจัดจะเป็นเรื่องใหญ่ของอินเดีย และเป็นโอกาสของข้าวไทย" นายสุเมธกล่าว
นายสุเมธกล่าวว่า ข้าวนึ่งของไทยกับอินเดียจะแข่งขันกันทำตลาด แต่ปีนี้ไทยประสบภัยแล้ง ทำให้รัฐบาลขอความร่วมมือชาวนางดปลูกข้าวนาปรัง ส่งผลให้ปริมาณข้าวเปลือกที่ใช้ในการทำข้าวนึ่งลดลงประมาณ 35-40% คิดเป็นปริมาณ 3 ล้านตัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องของค่าเงินบาทแข็งเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขัน เช่น เวียดนาม,อินเดีย, ปากีสถาน แล้วถือว่าไทยจะแข่งขันลำบาก ราคาข้าวขณะนี้ทุกประเทศต้องปรับลดราคาลงเพื่อแข่งขันกับเวียดนาม ซึ่งราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ 365-370 เหรียญ/ตันเท่านั้น
สำหรับตลาดข้าวถุงในประเทศปีนี้ เป้าหมายของข้าว "ตราฉัตร" จะยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 300,000-350,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนการตลาดประมาณ 5% ถือเป็นอันดับ 1 ของตลาด
"ผู้บริโภคมีความอิ่มตัวและมีทางเลือกมากขึ้น เราจะเน้นการทำข้าวลักษณะพิเศษแทน เช่น ข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าวคุณภาพพรีเมี่ยม หรือพัฒนาเป็นข้าวที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นส่วนของแบรนด์ซีพีทำอยู่ เช่น ข้าวหุงสุกที่จำหน่ายในเซเว่นอีเลฟเว่น และซีพีเฟรชมาร์ท ตราฉัตรไม่ได้ทำเอง แต่ป้อนข้าวสารให้โรงงานที่ทำแบรนด์ของเรา เป็นไปได้ว่าการทำข้าวสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นรูปแบบอาหารพร้อมทานจะมากขึ้นในปีนี้"
ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
CPF : ข่าว
Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 26 ก.พ. 2558 เวลา 16:00:40 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ซี.พี.อินเตอร์เทรด บุกเปิดโรงสีข้าวในกัมพูชา หลังเห็นช่องทางส่งออกข้าวภาษี 0% ภายใต้สิทธิ GSP เข้าสหภาพยุโรป เผยข้าวหอมมะลิไทยต้องแข่งกับข้าวหอมมะลิเขมรหนัก คุณภาพใกล้กันแต่ราคาข้าวเขมรถูกกว่า ด้านตลาดส่งออกปีนี้ยังเน้นแอฟริกา ใช้วิธีประมูลข้าวเก่าสต๊อกรัฐบาลส่งออก
นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (ธุรกิจข้าวและอาหาร) บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด ผู้ผลิตข้าวแบรนด์ "ตราฉัตร" กล่าวว่า ซี.พี.อินเตอร์เทรดได้เข้าไปร่วมทุนกับนักธุรกิจกัมพูชา สร้างโรงสีข้าวกำลังผลิต 100,000 ตัน/ปี โดยโรงสีแห่งนี้จะเปิดดำเนินการได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เป็นการผลิตเพื่อส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรป ภายใต้สิทธิพิเศษทางอัตราภาษีศุลกากร (GSP) ที่สหภาพยุโรปให้กับกัมพูชา
ทั้งนี้ กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษ GSP เก็บภาษีนำเข้าข้าว 0% จากสหภาพยุโรป เมื่อ 3-4 ปีก่อน ขณะที่เมียนมาร์ก็ได้รับสิทธิพิเศษ GSP รูปแบบเดียวกันเมื่อปี 2557 การที่ทั้ง 2 ประเทศได้รับสิทธิพิเศษ GSP มีผลทำให้ประเทศไทยเริ่มเสียตลาดข้าวในสหภาพยุโรป แม้ราคาข้าวนึ่งต้นทางของไทยและเมียนมาร์จะใกล้เคียงกันที่ประมาณ 420 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่ไทยได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าข้าวไปสหภาพยุโรปเพียง 25,000 ตัน/ปี ส่วนข้าวลองเกรนจะต้องเสียภาษีประมาณตันละ 5,000 บาท
"ผู้นำเข้าข้าวของสหภาพยุโรปจึงหันไปซื้อข้าวเมียนมาร์กับข้าวกัมพูชาเพิ่มเพราะภาษีต่ำ ฉะนั้นไทยมีสิทธิเสียตลาดข้าวอียูให้กับสองประเทศนี้เพิ่มขึ้น ด้านคุณภาพข้าวหอมมะลิระหว่างหอมมะลิไทยกับหอมมะลิกัมพูชาถือว่าสูสีกันมาก สมมติตีคะแนนคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยเต็ม 100 ข้าวกัมพูชาน่าจะทำได้ถึงได้ 85-90 คะแนน แต่ราคาถูกกว่า และถือว่าคุณภาพทดแทนกันได้" นายสุเมธกล่าว
สำหรับตลาดข้าวไทยในปีนี้จะเน้นการระบายข้าวเก่าจากสต๊อกรัฐบาล ซึ่งจะเจาะตลาดทวีปแอฟริกาเป็นหลักต่อเนื่องจากปี 2557 ไทยส่งออกข้าวไปตลาดแอฟริการวม 5-6 ล้านตัน ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มจากการแข่งขันราคากับข้าวอินเดีย ซึ่งเป็นคู่แข่งหลัก โดยมีประเทศที่ยอดขายข้าวเติบโตมาก เช่น ไนจีเรียเพิ่มขึ้น 970,000 ตัน,โกตดิวัวร์เพิ่มขึ้น 630,000 ตัน และเบนินเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 ตัน
ด้านการส่งออกข้าวตลอดทั้งปี 2558 คาดว่าจะส่งออกได้ปริมาณรวม 10.5 ล้านตัน แต่ต้องประเมินเดือนต่อเดือน เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าคอมโมดิตี้ที่ขึ้นอยู่กับสภาพการเพาะปลูกและการเมือง สำหรับบริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด คาดว่าจะจำหน่ายข้าวทะลุหลัก 1 ล้านตัน แบ่งเป็น ตลาดส่งออก 700,000 ตัน กับตลาดในประเทศ 300,000-350,000 ตัน โดยบริษัทจะเน้นการประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลเพื่อส่งออกไปแอฟริกา ซึ่งขณะนี้ได้ข้าวไปแล้ว 40,000-45,000 ตัน จากการประมูลรอบล่าสุด และหลังจากนี้บริษัทก็จะเข้าร่วมประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลทุกรอบ
ส่วนราคาข้าวตลอดทั้งปีคาดว่าราคาจะยังคงทรงตัว และต้องจับตาคู่แข่งสำคัญอย่างอินเดีย โดยเดือนมกราคมที่ผ่านมา อินเดียส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 1.03 ล้านตัน ขณะที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 2 ปริมาณ 970,000 ตัน "ตอนนี้สต๊อกข้าวอินเดียที่เก็บไว้ลดลงมามาก จากเคยเก็บไว้ 20 กว่าล้านตันเมื่อต้นปี 2558 เหลือเพียง 10 กว่าล้านตัน ทางอินเดียก็หวังว่าฤดูเพาะปลูกข้าวในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมปีนี้ ผลผลิตข้าวจะได้ตามปกติ แต่ถ้าเกิดสมมติว่าแล้งหรือแล้งจัดจะเป็นเรื่องใหญ่ของอินเดีย และเป็นโอกาสของข้าวไทย" นายสุเมธกล่าว
นายสุเมธกล่าวว่า ข้าวนึ่งของไทยกับอินเดียจะแข่งขันกันทำตลาด แต่ปีนี้ไทยประสบภัยแล้ง ทำให้รัฐบาลขอความร่วมมือชาวนางดปลูกข้าวนาปรัง ส่งผลให้ปริมาณข้าวเปลือกที่ใช้ในการทำข้าวนึ่งลดลงประมาณ 35-40% คิดเป็นปริมาณ 3 ล้านตัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องของค่าเงินบาทแข็งเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขัน เช่น เวียดนาม,อินเดีย, ปากีสถาน แล้วถือว่าไทยจะแข่งขันลำบาก ราคาข้าวขณะนี้ทุกประเทศต้องปรับลดราคาลงเพื่อแข่งขันกับเวียดนาม ซึ่งราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ 365-370 เหรียญ/ตันเท่านั้น
สำหรับตลาดข้าวถุงในประเทศปีนี้ เป้าหมายของข้าว "ตราฉัตร" จะยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 300,000-350,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนการตลาดประมาณ 5% ถือเป็นอันดับ 1 ของตลาด
"ผู้บริโภคมีความอิ่มตัวและมีทางเลือกมากขึ้น เราจะเน้นการทำข้าวลักษณะพิเศษแทน เช่น ข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าวคุณภาพพรีเมี่ยม หรือพัฒนาเป็นข้าวที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นส่วนของแบรนด์ซีพีทำอยู่ เช่น ข้าวหุงสุกที่จำหน่ายในเซเว่นอีเลฟเว่น และซีพีเฟรชมาร์ท ตราฉัตรไม่ได้ทำเอง แต่ป้อนข้าวสารให้โรงงานที่ทำแบรนด์ของเรา เป็นไปได้ว่าการทำข้าวสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นรูปแบบอาหารพร้อมทานจะมากขึ้นในปีนี้"
ติดตามข่าวสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat