///แผนใหม่โครงการลงทุนระบบรถไฟไทย แจ่มกว่าสมัยรัฐบาลนายกปู

สมัยรัฐบาลนายกปูออกกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แต่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขัดรัฐธรรมนูญ มี 2 ประเด็น ง่ายๆ
1. ไม่ยอมทำในงบประมาณประจำปี
2. เสียบบัตรแทนกัน

เรื่องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเรื่องรถไฟไทย เอาว่าทุกคนไม่ค้านการสร้างพัฒนา
แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ถูกระเบียบขั้นตอนหรือเปล่า? หรือคุ้มค่าการลงทุนหรือเปล่า?
เรื่องรถไฟรางคู่ไม่ต่างกัน ขอยกประเด็นรถไฟความสูงกว่ารางคู่


สมัยนายกปู

โครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-โคราช
กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-พัทยา  

งบประมาณ 8 แสนล้าน ไม่ต่อเชื่อมกับต่างประเทศ ทำให้ติดปัญหาส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ค่าตั๋วก็สูง(ความเร็วประมาณ 250 กม/ชม) ประมาณ กม ละ 2.5 บาท กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ค่าตั๋วตกประมาณ 1,700 บาทนู้น

สมัยคสช.


โครงการวางมาตรฐานการเดินรถทางรางใหม่ จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางหนองคาย - นครราชสีมา - ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 737 กิโลเมตร วงเงิน 392,570 ล้านบาท และ
เส้นทางเชียงของ - เด่นชัย - บ้านภาชี ระยะทาง 655 กิโลเมตร วงเงิน 348,890 ล้านบาท

งบประมาณ 7.5 แสนล้าน ต่อเชื่อมกับต่างประเทศ ค่าตั๋วไม่แพงมาก(ความเร็วประมาณ 150 กม/ชม)
ประมาณ กม ละ 1.5 บาท(ตีราคาตั๋วให้แพงแล้ว) จุดดีก็คือเชื่อมต่อกับจีนได้ ทั้งภาคเหนือ และอีสาน
สามารถส่งสินค้าผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ขนคนก็ได้ ขนสินค้าก็ได้อีก

อมยิ้ม17อมยิ้ม17อมยิ้ม17

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คมชัดลึก มากกว่า2ล้านล้าน?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่