วันนี้ผมจะมาขอแนะนำภาษาของบ้านผมบางที่กำลังจะเลื่อนหายไป นั้นก็คือภาษาเพชร

วัฒนธรรมประเพณี  ภาษาถิ่นเพชรบุรี
        ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรีหรือภาษาเมืองเพชร  เป็นภาษาถิ่นที่สำเนียงเพี้ยนออกไปจากภาษาภาคกลางที่กรุงเทพฯ  สำเนียงชาวเพชรบุรีมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นสำเนียงที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ  หากจะฟังสำเนียงชาวเพชรบุรีแท้ๆ  จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านลาด  และอำเภอใกล้เคียง  รูปแบประโยคของภาษาเมืองเพชรมีลักษณะพิเศษ  โดยเฉพาะการปฏิเสธจะใช้คำว่า  "ไม่"  ตามหลังคำกริยา  และเปลี่ยนระดับเสียงคำกริยา  เช่น  กิ๊นไม่  (ไม่กิน)  เอ๊าไม่  (ไม่เอา)  มี้ไม่  (ไม่มี)  ป๊วดไม่  (ไม่ปวด)  นอกจากนี้  สำเนียงการออกเสียงสระยังมีลักษณะเฉพาะตัว  เช่น  คำว่า  น้ำ  ออกเสียงสั้นตามสระ  -  ำ  ไม่นิยมออกเสียงยาวเป็นน้าม  เหมือนคนกรุงเทพฯ  นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นบางคำที่มีลักษณะเฉพาะ  อาทิ
        -  แมลงปอ  ว่า  แมงกระทุย  แมงกระชุน
        -  สลักหน้า  ดักหน้า  ว่า  หะ
        -  ขริบ  (ตัดเล็บด้วยกรรไกร)  ว่า  หิ้ม
        -  ดง  ว่า  อบไอน้ำหม้อข้าว  เมื่อหุงสุกแล้วเพื่อให้ข้าวระอุสุกโดยไม่เปียก
        -  หน่วย  ลักษณะนามของผลไม้และของลักษณะเดียวกัน  เช่น  มะนาว  5  หน่วย  ไข่  3  หน่วย
        -  กะล่อน  ชาวเพชรบุรีบางถิ่นออกเสียงควบกล้ำเป็น  "กล้อน"  ไม่แยกพยางค์
        -  เมฆ  ว่า  ขี้ฝน  ขี้ฟ้า
        -  มาก  ว่า  โข
        -  ริน  เท  ว่า  หล่อ
        -  เสือ  ว่า  เฒ่าร้า
        -  ที่บรรจุข้างสานด้วยไม้ไผ่,  พ้อม  ว่า  กะล่อม
        -  น้ำตาลสด  ว่า  น้ำตาลใส
        -  รอง  ว่า  รอ  เช่น  รองน้ำว่า  รอน้ำ
        -  ชม  ว่า  ยิ้ม  หัวเราะ
        -  ดึงรั้ง  ว่า  รา
        -  ถาด  ทือ  คำบอกวัวขณะไถนา  หรือลากเกวียน  ให้ไปทางขวาใช้ถาด  ให้ไปทางซ้ายใช้ทือ
        -  ถังบรรจุน้ำ  ว่า  กระป๋อง  (บางแห่งใช้กระแป๋ง)  ชามกะละมัง  บางแห่งเรียก  ชามแหม็ง  ชาม
        -  กะละแม็ง  ชามแหม่ง
        -  ซิ  ว่า  ดุ๊  เช่นกินดุ๊  หมายถึง  กินซิ
เอาวีดีโอมาให้รับชมด้วยครับผม
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่