ชี้ปมกังขา-คำวินิจฉัยป.ป.ช
เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม พล.ต.อ.พัชรวาท จึงต้องหันหน้าไปพึ่งศาลปกครอง โดยวันที่ 28 ก.พ. 2557 นายสรศักดิ์ นิยมธรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 2040/2553 หมายเลขแดงที่ 99/ 2554 ระหว่าง พล.ต.อ. พัชรวาท (ผู้ฟ้องคดี) กับ นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
โดยศาลปกครองวินิจฉัยแล้วเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการพิจารณาเรื่องของ พล.ต.อ.พัชรวาท หลังจากที่ได้รับแจ้งมติที่ประชุมก.ตร. ที่ก.ตร.เห็นว่าข้อ กล่าวหา พล.ต.อ.พัชรวาท ผิดวินัยร้ายแรงไม่มีมูล
และเห็นควรให้ยกโทษปลดออกจากราชการ ซึ่งศาลให้นายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติหน้าที่พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
นอกจากนี้พล.ต.อ.พัชรวาท ก็ยังยื่นฟ้องกรรมการป.ป.ช.ต่อศาลอาญา
โดยที่ปรึกษากฎหมายของ พล.ต.อ.พัชรวาท พบหลายประเด็นที่เป็นเรื่องน่ากังขา โดยมองว่าการพิจารณาชี้มูลความผิดนั้น น่าจะมีขั้นตอนและความรอบด้านไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ สำนวนการพิจารณาของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท ซึ่งส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อศาลอาญา ปรากฏว่าพนักงานอัยการทำเรื่องกลับมาให้ ป.ป.ช. สอบสวนใหม่ เพราะพบว่าการรับฟังพยานหลักฐานยังไม่สมบูรณ์
อีกทั้งป.ป.ช. มีฐานะเป็นองค์กรตรวจสอบ ไม่ใช่องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในการไต่สวน ในการชี้มูลความผิดและความเห็นของ ป.ป.ช. จึงยังไม่เป็นที่สุด แต่สามารถถูกตรวจสอบความถูกต้องได้โดยองค์กรศาล
โดยเฉพาะในกรณีที่ ป.ป.ช. วินิจฉัยและชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการ ข้อเท็จจริงและความเห็นของ ป.ป.ช. จึงอยู่ในฐานะเป็นเพียงข้อเท็จจริงเบื้องต้นให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการต่อไปเท่านั้น
แต่ช่วงที่ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท กลับออกมาระบุว่า พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องยุติการทำหน้าที่
จึงน่าสงสัยทำเกินอำนาจหน้าที่หรือไม่!
นอกจากนี้ระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช.นั้น พล.ต.อ. พัชรวาท ยื่นเรื่องขอให้ปากคำหรือสอบพยาน และเรียกดูหลักฐานเพิ่มเติม เพราะมองว่าหลักฐานที่ ป.ป.ช. ใช้อาจจะยังไม่ครบถ้วนแต่ป.ป.ช. ไม่ให้สิทธิ์ดังกล่าว
อีกทั้งการตายของผู้ชุมนุม ที่มติของป.ป.ช.ระบุว่าตายจากแก๊สน้ำตาระเบิดเข้าใส่ แต่ผลการชันสูตรศพโดยสถาบันนิติเวชฯ การยืนยันของกองพิสูจน์หลักฐาน และกองสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่ามิได้เสียชีวิตจากแก๊สน้ำตา!?!
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ป.ป.ช.ต้องพิสูจน์ตัวเองในศาลยุติธรรม
รวมถึงคำถามจากสังคมถึงมาตรฐานป.ป.ช. ที่มีถูกครหาอยู่เสมอๆ เรื่องบรรทัดฐานที่ต่างกันในหลายๆ คดี
--------------------------------------------------------------------------
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEkzTURjMU53PT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE5DMHdOeTB5Tnc9PQ==
งามหน้า ปปช. !!!
เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม พล.ต.อ.พัชรวาท จึงต้องหันหน้าไปพึ่งศาลปกครอง โดยวันที่ 28 ก.พ. 2557 นายสรศักดิ์ นิยมธรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 2040/2553 หมายเลขแดงที่ 99/ 2554 ระหว่าง พล.ต.อ. พัชรวาท (ผู้ฟ้องคดี) กับ นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
โดยศาลปกครองวินิจฉัยแล้วเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการพิจารณาเรื่องของ พล.ต.อ.พัชรวาท หลังจากที่ได้รับแจ้งมติที่ประชุมก.ตร. ที่ก.ตร.เห็นว่าข้อ กล่าวหา พล.ต.อ.พัชรวาท ผิดวินัยร้ายแรงไม่มีมูล
และเห็นควรให้ยกโทษปลดออกจากราชการ ซึ่งศาลให้นายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติหน้าที่พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
นอกจากนี้พล.ต.อ.พัชรวาท ก็ยังยื่นฟ้องกรรมการป.ป.ช.ต่อศาลอาญา
โดยที่ปรึกษากฎหมายของ พล.ต.อ.พัชรวาท พบหลายประเด็นที่เป็นเรื่องน่ากังขา โดยมองว่าการพิจารณาชี้มูลความผิดนั้น น่าจะมีขั้นตอนและความรอบด้านไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ สำนวนการพิจารณาของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท ซึ่งส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อศาลอาญา ปรากฏว่าพนักงานอัยการทำเรื่องกลับมาให้ ป.ป.ช. สอบสวนใหม่ เพราะพบว่าการรับฟังพยานหลักฐานยังไม่สมบูรณ์
อีกทั้งป.ป.ช. มีฐานะเป็นองค์กรตรวจสอบ ไม่ใช่องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในการไต่สวน ในการชี้มูลความผิดและความเห็นของ ป.ป.ช. จึงยังไม่เป็นที่สุด แต่สามารถถูกตรวจสอบความถูกต้องได้โดยองค์กรศาล
โดยเฉพาะในกรณีที่ ป.ป.ช. วินิจฉัยและชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการ ข้อเท็จจริงและความเห็นของ ป.ป.ช. จึงอยู่ในฐานะเป็นเพียงข้อเท็จจริงเบื้องต้นให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการต่อไปเท่านั้น
แต่ช่วงที่ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท กลับออกมาระบุว่า พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องยุติการทำหน้าที่
จึงน่าสงสัยทำเกินอำนาจหน้าที่หรือไม่!
นอกจากนี้ระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช.นั้น พล.ต.อ. พัชรวาท ยื่นเรื่องขอให้ปากคำหรือสอบพยาน และเรียกดูหลักฐานเพิ่มเติม เพราะมองว่าหลักฐานที่ ป.ป.ช. ใช้อาจจะยังไม่ครบถ้วนแต่ป.ป.ช. ไม่ให้สิทธิ์ดังกล่าว
อีกทั้งการตายของผู้ชุมนุม ที่มติของป.ป.ช.ระบุว่าตายจากแก๊สน้ำตาระเบิดเข้าใส่ แต่ผลการชันสูตรศพโดยสถาบันนิติเวชฯ การยืนยันของกองพิสูจน์หลักฐาน และกองสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่ามิได้เสียชีวิตจากแก๊สน้ำตา!?!
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ป.ป.ช.ต้องพิสูจน์ตัวเองในศาลยุติธรรม
รวมถึงคำถามจากสังคมถึงมาตรฐานป.ป.ช. ที่มีถูกครหาอยู่เสมอๆ เรื่องบรรทัดฐานที่ต่างกันในหลายๆ คดี
--------------------------------------------------------------------------
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEkzTURjMU53PT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE5DMHdOeTB5Tnc9PQ==