3 ขนมหวานที่มักเรียกชื่อผิด จาก Wongnai.com

กระทู้ข่าว
พอดีได้รับเมลมาจากวงในก็เลยอยากเอามาแบ่งปันเพื่อนๆค่ะ


เบเกอรี่ยอดนิยมไม่ว่าจะเป็น มาการอง-มาการูน, เอแคลร์-ชูครีม, เบลเจียนวาฟเฟิล ล้วนเป็นขนมหวานที่ยังมีความสับสนในเรื่องของชื่ออยู่มาก ทั้งชื่อที่ออกเสียงคล้ายกัน รูปลักษณ์ขนมและรสชาติที่คล้ายกัน หรือแม้เข้าใจผิดเรื่องสัญชาติของขนม เอาสิ! เราเลยขอล้วงลึกถึงที่มาที่ไปของชื่อขนมหวานแต่ละชนิดแบบถึงลูกถึงคน เพื่อคลายความสับสนของมวลมนุษยชาติกัน!

1 มาการอง vs มาการูน




มาการองสีสวย

มาการอง เอ๊ะ! หรือ มาการูน เอ๊ะ! สรุปต้องเรียกยังไง?


ว่ากันด้วยเรื่องชื่อขนมสีสวยสุดฮิตที่ปีหลังๆ มานี้ได้เข้ามาสร้างสีสันในบ้านเรา ทำเอาสาวๆ ในยุคนี้หลายคนหลงรักรสชาติอันหอมหวานติดปลายลิ้น และสีสันสวยงามของขนมทรงกลมจากฝรั่งเศส อย่าง ‘มาการอง’ (Macaron) แต่ก็มีขนมหวานอีกชนิดหนึ่งที่ชื่อคล้ายกันซะจนหลายคนเรียกชื่อผิด แต่รูปร่างหน้าตาและรสชาติไม่คล้ายนะจ๊ะขอบอก นั่นก็คือขนมที่มีชื่อว่า ‘มาการูน’ (Macaroon) อ่ะๆ อย่าเพิ่งงง เรามารู้จักที่มาที่ไปของขนมหวานทั้ง 2 ชนิดนี้กันดีกว่า

ชื่อของมาการองนั้น มาจากภาษาอิตาเลี่ยนคือคำว่า Maccarone (มัก-กะ-โร-เน่) ซึ่งแปลว่า ทุบ หรือ บด มีที่มาจากการเอาอัลมอนด์มาบดเพื่อทำเป็นขนมนั่นเอง แต่เนื่องจากต้นตำรับของมาการองอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส Macaron จึงสะกดตามภาษาฝรั่งเศส เขียนเป็นคำอ่านในภาษาไทยได้ว่า มา-กา-ฆง โดยตัวอักษรตัว ฆ ระฆัง จะใช้แทนเสียงที่อยู่ระหว่าง ค ควาย กับ ฮ นกฮูก ซึ่งเสียงจะหนักกว่าค ควาย และมีเสียงลมในลำคอคล้ายกับการเปล่งเสียง ฮ นกฮูก  

มาการองเป็นขนมที่ทำจากไข่ขาว อัลมอนด์บดละเอียด และน้ำตาล ทำเป็นทรงโดมครึ่งวงกลม แต่งสีแต่งกลิ่นได้หลากหลาย แล้วนำไปอบ สอดไส้ด้วย ครีมเนยสด  ช็อกโกแลต หรือแยมรสชาติต่างๆ เรียกว่า กานาช (Ganache)

สำหรับประวัติของมาการองนั้นมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง   สมัยนั้นข้าวยากหมากแพง เนื้อสัตว์ไม่ค่อยมีให้รับประทาน เหล่าแม่ชีชาวอิตาเลียนที่อพยพมายังประเทศฝรั่งเศสจึงดำรงชีพอยู่ด้วยอัลมอนด์ เพราะมีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้เนื้อสัตว์ โดยนำมาประกอบเป็นอาหารหรือขนมหลายประเภท ซึ่งภายหลังมาการองก็กลายเป็นขนมหวานที่ชาวฝรั่งเศสชื่นชอบมาจนถึงปัจจุบัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่