ขนมชนิดนี้มีอยู่หลายเมืองในอิตาลี แต่ว่าแต่ละที่ก็จะมีชื่อเรียกและรูปร่างไม่เหมือนกัน ที่เอามาเขียนถึงเพราะว่าเป็นของโปรดของเบน บอกตามตรงว่าเห็นแค่หน้าตา คงไม่รับประทาน เพราะมันดูแห้งและน่าเบื่อเป็นที่สุด แต่เผอิญ ตอนที่ไปเรียนที่อิตาลีช่วงปีใหม่ พ่อแม่ไม่ให้กลับบ้าน ไอ้เราก็เลยไปเที่ยวเมือง Florence คนเดียว แล้วก็ไปพัก Airbnb ตอนเช้า คนอิตาเลียนเค้าก็ทานกันแค่กาแฟกับขนม แล้วเจ้าของบ้านเธอก็ให้ฉันกินแค่กาแฟกับเอาอีขนมหน้าตาแห้งๆนี่มาให้ ตอนแรกก็ว่าจะไม่ทาน แต่ว่ามันหิว ก็เลยลองกัดสะหน่อย เท่านั้นหละ คนเราไม่ควรตัดสินอะไรจากหน้าตาจริงๆ (พูดไปงั้นอะคะ เพราะยังไงก็ตัดสินอยู่ดี) คือหน้าตามันเหมือนแห้งก็จริง แต่พอกัดเข้าไปข้างในแล้วมันชุ่ม หวาน แต่ก็ไม่ได้หวานแสบคอ ที่สำคัญคือมันทำมาจากอัลมอล(อย่างเยอะ)ผสมน้ำตาล แป้งน้อย(หรืออาจจะไม่มีแป้งเลย)ได้รสอัลมอลเต็มๆหอมมทุกคำที่กัด และทานคู่กับกาแฟเป็นสิ่งที่ฟินมาก
พูดถึงความหอมของอัลมอล ตอนอยู่เมืองไทยบอกตรงๆว่าไม่เคยได้ประสบณ์พบเจอ เพราะอัลมอลที่เคยได้ทานแทบไม่มีรสชาติ กลิ่นนี่ไม่ต้องพูดถึง คือไม่มีเลย เอาจริงคือ ไม่หืนก็บุญแล้ว ส่วน Marzipan (ที่ไว้ใช้ทำขนม) กลิ่นของมันก็นึกว่าเป็นกลิ่นสังเคราะห์(ซึ่งก็ใช่ แต่ไม่เคยเอ๊ะใจว่ามัน relate กันกับกลิ่นของอัลมอลจริงๆ) พอได้มาทานอัลมอลจริงๆ กลิ่นมันหอมอ่อนๆเกือบทุกครั้งที่เคี้ยวเม็ด กลิ่นคล้ายๆ Marzipan นั้นแหละแต่ไม่รุนแรงเท่าและธรรมชาติกว่า คือกลิ่นนี้มันมีอยู่จริง ความรู้สึกเดียวกับทานช็อกโกแล็ตเมืองไทย แล้วไปทานที่สวิสซ์ ทำให้รู้สึกว่าช็อกโกแล็ตที่เมืองไทยที่เราทานมา เราทานพลาสติกรึเปล่า
ตามรูปด้านบนเป็นอันที่มาจาก Amalfi ก็ไม่แน่ใจว่าที่นี้เค้าเรียกกันว่าอะไร แต่อันด้านล่างมากจากทางแถบ Tuscany จะโด่งดังสุดที่เมือง Siena แต่ที่เมือง Florence ก็หาได้ไม่ยากและใช่ชื่อเดียวกันว่า “Ricciazelli” จะเห็นว่ามีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันของ Amalfi
ขนมชนิดนี้ราคาไม่ถูกนะคะ เพราะว่าอัลมอนมันราคาแพง แล้วเค้าก็ไม่ทำแบบบ้านเรา อ๋ออัลมอลแพงหรอ ก็ใส่แป้งเข้าไปแทนเยอะหน่อยใส่อัลมอนน้อยหน่อย ลดต้นทุน ถึงแพงเค้าก็ใส่เยอะเหมือนเดิม ราคาขนมแพงก็แพงสิ ไม่ซื้อก็อย่าซื้อ attitude แบบ “เรื่องของ”
อีกแหล่งที่เป็นแหล่งปลูกอัลมอลของประเทศก็คือเกาะ Sicily ทางตอนใต้
ซึ่งที่ Sicily เนี้ยเป็นสวรรค์ของคนรัก almond อย่างข้าพเจ้าเลยเจ้าค่ะ ทั้งอาหารคาวก็ใส่ ของหวานและเครื่องดื่มอีก แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ รูปด้านบนเป็นผล almond แบบสดที่เก็บมาจากต้นกับแบบที่แห้งแล้ว หลังจากนั้นเค้าจะเอาเม็ดอัลมอนที่ได้ไปกวนผสมน้ำตาล กลายเป็น paste แบบนี้ แล้วก็เอาไปทำขนม และอื่นๆต่อไป
ส่วนหน้าตาของ Almond Biscuits ของ Sicily นั้น หน้าตาจะหรูหรากว่าของทางตอนเหนือหน่อย เพราะว่าเค้าเป็นแหล่งผลิต จะเห็นว่าเคลือบด้วยอัลมอนข้างนอกอีก ชอบจัง 🙂 จะเห็นว่าหน้าตาฟินมากเพราะชอบจริงๆ
ถ้าใครอยากจะสั่งขนมชนิดนี้ คิดว่าถ้าพูดว่า “Biscotti di Mandorle” คนน่าจะเข้าใจและน่าจะได้ทานนะคะ (บิสค็อตตี้ ดิ แมนดอรเล่)
ขนมชนิดนี้สามารถเก็บไว้ได้นาน แต่ว่าความชุ่มด้านในมันก็จะแห้งไปเรื่อยๆ หรือถ้าไปซื้อร้านไม่อร่อย ด้านในมันก็จะไม่ชุ่ม กลายเป็นก้อนแห้งๆ ความอร่อยก็หายไปเยอะ เพราะฉะนั้นต้องดูเลือกซื้อดีดี ถ้าเป็นไปได้ก็ซื้อมาชิมสักชิ้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทั้งกล่อง
ขนมหวานที่ต้องลอง เวลาไปเที่ยวอิตาลี
พูดถึงความหอมของอัลมอล ตอนอยู่เมืองไทยบอกตรงๆว่าไม่เคยได้ประสบณ์พบเจอ เพราะอัลมอลที่เคยได้ทานแทบไม่มีรสชาติ กลิ่นนี่ไม่ต้องพูดถึง คือไม่มีเลย เอาจริงคือ ไม่หืนก็บุญแล้ว ส่วน Marzipan (ที่ไว้ใช้ทำขนม) กลิ่นของมันก็นึกว่าเป็นกลิ่นสังเคราะห์(ซึ่งก็ใช่ แต่ไม่เคยเอ๊ะใจว่ามัน relate กันกับกลิ่นของอัลมอลจริงๆ) พอได้มาทานอัลมอลจริงๆ กลิ่นมันหอมอ่อนๆเกือบทุกครั้งที่เคี้ยวเม็ด กลิ่นคล้ายๆ Marzipan นั้นแหละแต่ไม่รุนแรงเท่าและธรรมชาติกว่า คือกลิ่นนี้มันมีอยู่จริง ความรู้สึกเดียวกับทานช็อกโกแล็ตเมืองไทย แล้วไปทานที่สวิสซ์ ทำให้รู้สึกว่าช็อกโกแล็ตที่เมืองไทยที่เราทานมา เราทานพลาสติกรึเปล่า
ตามรูปด้านบนเป็นอันที่มาจาก Amalfi ก็ไม่แน่ใจว่าที่นี้เค้าเรียกกันว่าอะไร แต่อันด้านล่างมากจากทางแถบ Tuscany จะโด่งดังสุดที่เมือง Siena แต่ที่เมือง Florence ก็หาได้ไม่ยากและใช่ชื่อเดียวกันว่า “Ricciazelli” จะเห็นว่ามีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันของ Amalfi
ขนมชนิดนี้ราคาไม่ถูกนะคะ เพราะว่าอัลมอนมันราคาแพง แล้วเค้าก็ไม่ทำแบบบ้านเรา อ๋ออัลมอลแพงหรอ ก็ใส่แป้งเข้าไปแทนเยอะหน่อยใส่อัลมอนน้อยหน่อย ลดต้นทุน ถึงแพงเค้าก็ใส่เยอะเหมือนเดิม ราคาขนมแพงก็แพงสิ ไม่ซื้อก็อย่าซื้อ attitude แบบ “เรื่องของ”
อีกแหล่งที่เป็นแหล่งปลูกอัลมอลของประเทศก็คือเกาะ Sicily ทางตอนใต้
ซึ่งที่ Sicily เนี้ยเป็นสวรรค์ของคนรัก almond อย่างข้าพเจ้าเลยเจ้าค่ะ ทั้งอาหารคาวก็ใส่ ของหวานและเครื่องดื่มอีก แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ รูปด้านบนเป็นผล almond แบบสดที่เก็บมาจากต้นกับแบบที่แห้งแล้ว หลังจากนั้นเค้าจะเอาเม็ดอัลมอนที่ได้ไปกวนผสมน้ำตาล กลายเป็น paste แบบนี้ แล้วก็เอาไปทำขนม และอื่นๆต่อไป
ส่วนหน้าตาของ Almond Biscuits ของ Sicily นั้น หน้าตาจะหรูหรากว่าของทางตอนเหนือหน่อย เพราะว่าเค้าเป็นแหล่งผลิต จะเห็นว่าเคลือบด้วยอัลมอนข้างนอกอีก ชอบจัง 🙂 จะเห็นว่าหน้าตาฟินมากเพราะชอบจริงๆ
ถ้าใครอยากจะสั่งขนมชนิดนี้ คิดว่าถ้าพูดว่า “Biscotti di Mandorle” คนน่าจะเข้าใจและน่าจะได้ทานนะคะ (บิสค็อตตี้ ดิ แมนดอรเล่)
ขนมชนิดนี้สามารถเก็บไว้ได้นาน แต่ว่าความชุ่มด้านในมันก็จะแห้งไปเรื่อยๆ หรือถ้าไปซื้อร้านไม่อร่อย ด้านในมันก็จะไม่ชุ่ม กลายเป็นก้อนแห้งๆ ความอร่อยก็หายไปเยอะ เพราะฉะนั้นต้องดูเลือกซื้อดีดี ถ้าเป็นไปได้ก็ซื้อมาชิมสักชิ้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทั้งกล่อง