...กลุ่มอยู่เย็นเป็นประโยชน์...
...วันอาสาฬหบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระธรรม" และ วันพระสงฆ์"
เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าปฐมเทศนาประกาศพระธรรมจักรเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์
และเป็นวันที่บังเกิดมีพระสงฆ์ครบเป็นองค์พระรัตนตรัยครั้งแรก...
...ในวันอาสาฬหบูชพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ท่านพระปัญจวัคคีย์
อันมีท่านโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า
เรื่องที่ทรงแสดงคือ มัชฌิมาปฏิปทา คืออริยมรรคมีองค์แปด กับอริยสัจสี่
เริ่มทีเดียว พระองค์ทรงแสดงทางสองสายที่ไม่ควรเดิน
คือกามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันอยู่ในกาม
กับอัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบากโดยเปล่าประโยชน์
อย่างแรกการทำตนให้พัวพันอยู่ในความสุขในกามนั้น
พระองค์ตรัสว่า เป็นธรรมที่เลว เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มรรคผลนิพพาน
อย่างหลังเป็นการทำตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบาก
ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มรรคผลนิพพานเช่นกัน
ธรรมอย่างหลังนี้พระองค์ทรงหมายถึงการทรมานตนโดยเปล่าประโยชน์
เช่นการนอนบนหนามเป็นต้นว่า เป็นการทำตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์
เพราะการกระทำเช่นนั้นไม่อาจให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้
เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมที่ไม่ควรประพฤติอย่างนี้แล้ว
ก็แสดงธรรมที่ควรประพฤติว่าได้แก่มัชฌิมาปฏิปทา
คืออริยมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ก็มัชฌิมาปฏิปทาอันได้แก่ทางสายกลางนี้ ไม่เข้าไปใกล้ทาง ๒ สายข้างต้น
ทางสายกลางนี้แหละที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง
ทางสายกลางนี้เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ต่อจากนั้น พระองค์ทรงแสดงอริยสัจสี่ไปตามลำดับว่า
นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจทั้งสี่นั้นได้แก่อะไร พระองค์ก็ได้ทรงแสดงให้ทราบดังนี้
ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส ความเหือดแห้งใจ
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น สรุปโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความยึดถือนั่นแหละเป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ ได้แก่ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ถ้าไม่มีตัณหาก็ไม่ต้องเกิด
สภาพของตัณหานั้นได้แก่ความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลิน
มีปกติให้เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา
ความยินดีเพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ๑ ภวตัณหา ความยินดีในภพ
หรือความยินดีที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าธรรมทั้งปวงเป็นของเที่ยง ๑ วิภวตัณหา
ความยินดีในวิภพ คือความยินดีที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ คือความเห็นว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ คือไม่เกิดอีก ๑
ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่ธรรมที่ดับตัณหาโดยไม่มีเศษเหลือ ธรรมนั้นคือนิพพาน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ได้แก่ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์
ข้อปฏิบัตินี้คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในข้อว่า
มัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้เท่านั้นเป็นทางเดียว
คือข้อปฏิบัติอย่างเดียวที่จะให้ถึงมรรคผลนิพพาน
อริยสัจทั้งสี่นี้ พระองค์ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลย บัดนี้พระองค์ทรงรู้แล้วด้วยญาณปัญญาของพระองค์เองว่า
ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้และพระองคำได้ทรงกำหนดรู้แล้ว
ทุกขสมุทัยอริยสัจควรละ พระองค์ทรงได้ละแล้ว
ทุกขนิโรธอริยสัจควรทำให้แจ้ง ซึ่งพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจควรเจริญ พระองค์ได้เจริญแล้ว
ตราบใดที่พระองค์ยังมิได้ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ตามความเป็นจริง
พระองค์ก็ยังไม่ทรงประกาศว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ต่อเมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ตามความเป็นจริงแล้วนั่นแหละ
พระองค์จึงทรงประกาศให้โลกรู้ว่าพระองค์ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมแล้ว
เป็นเหตุให้พระองค์ทรงทราบว่า พระองค์ทรงพ้นแล้วจากตัณหา
พระองค์ไม่เกิดอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพระองค์แล้ว
ขณะเมื่อพระพุทธองค์ตรัสอริยสัจสี่อยู่นี้
ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนที่ความดับเป็นธรรมดา
ซึ่งความหมายว่า ธรรมทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป
ที่จะตั้งอยู่ตลอดกาลนั้นเป็นไปไม่ได้ นี้เป็นธรรมดาของธรรมทั้งหลาย
สรุปว่าท่านปัญจวัคคีย์ได้สดับธรรมจักรที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว
ใน ๕ คนนั้น มีท่านโกณฑัญญะ คนเดียวได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน
การประกาศธรรมจักรเป็นครั้งแรกของพระองค์
เป็นเหตุให้เทวดาตั้งแต่ภุมมเทวดาไปจนถึงพรหมในพรหมโลก
พากันบันลือเสียงกระฉ่อนเป็นลำดับไป จนกระทั่งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว
แสงสว่างส่องกระจ่างไปทั่วหมื่นโลกธาตุ กลบรัศมีของเทวดาและพรหมทั้งหลายจนหมดสิ้น
ทั้งหมดนี้แหละ คือธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในวันอาสาฬหบูชา....
...ที่มา...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=4&A=355&z=478
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฏกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=35
นานาปัญหาที่ ๓๕
...วันอาสาฬหบูชา...!!!
...กลุ่มอยู่เย็นเป็นประโยชน์...
...วันอาสาฬหบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระธรรม" และ วันพระสงฆ์"
เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าปฐมเทศนาประกาศพระธรรมจักรเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์
และเป็นวันที่บังเกิดมีพระสงฆ์ครบเป็นองค์พระรัตนตรัยครั้งแรก...
...ในวันอาสาฬหบูชพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ท่านพระปัญจวัคคีย์
อันมีท่านโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า
เรื่องที่ทรงแสดงคือ มัชฌิมาปฏิปทา คืออริยมรรคมีองค์แปด กับอริยสัจสี่
เริ่มทีเดียว พระองค์ทรงแสดงทางสองสายที่ไม่ควรเดิน
คือกามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันอยู่ในกาม
กับอัตตกิลมถานุโยค คือการประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบากโดยเปล่าประโยชน์
อย่างแรกการทำตนให้พัวพันอยู่ในความสุขในกามนั้น
พระองค์ตรัสว่า เป็นธรรมที่เลว เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มรรคผลนิพพาน
อย่างหลังเป็นการทำตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบาก
ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มรรคผลนิพพานเช่นกัน
ธรรมอย่างหลังนี้พระองค์ทรงหมายถึงการทรมานตนโดยเปล่าประโยชน์
เช่นการนอนบนหนามเป็นต้นว่า เป็นการทำตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์
เพราะการกระทำเช่นนั้นไม่อาจให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้
เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมที่ไม่ควรประพฤติอย่างนี้แล้ว
ก็แสดงธรรมที่ควรประพฤติว่าได้แก่มัชฌิมาปฏิปทา
คืออริยมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ก็มัชฌิมาปฏิปทาอันได้แก่ทางสายกลางนี้ ไม่เข้าไปใกล้ทาง ๒ สายข้างต้น
ทางสายกลางนี้แหละที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง
ทางสายกลางนี้เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ต่อจากนั้น พระองค์ทรงแสดงอริยสัจสี่ไปตามลำดับว่า
นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจทั้งสี่นั้นได้แก่อะไร พระองค์ก็ได้ทรงแสดงให้ทราบดังนี้
ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส ความเหือดแห้งใจ
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น สรุปโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความยึดถือนั่นแหละเป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ ได้แก่ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ถ้าไม่มีตัณหาก็ไม่ต้องเกิด
สภาพของตัณหานั้นได้แก่ความกำหนัดยินดี ความเพลิดเพลิน
มีปกติให้เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา
ความยินดีเพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ๑ ภวตัณหา ความยินดีในภพ
หรือความยินดีที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าธรรมทั้งปวงเป็นของเที่ยง ๑ วิภวตัณหา
ความยินดีในวิภพ คือความยินดีที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ คือความเห็นว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ คือไม่เกิดอีก ๑
ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่ธรรมที่ดับตัณหาโดยไม่มีเศษเหลือ ธรรมนั้นคือนิพพาน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ได้แก่ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์
ข้อปฏิบัตินี้คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในข้อว่า
มัชฌิมาปฏิปทานั่นเอง มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้เท่านั้นเป็นทางเดียว
คือข้อปฏิบัติอย่างเดียวที่จะให้ถึงมรรคผลนิพพาน
อริยสัจทั้งสี่นี้ พระองค์ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลย บัดนี้พระองค์ทรงรู้แล้วด้วยญาณปัญญาของพระองค์เองว่า
ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้และพระองคำได้ทรงกำหนดรู้แล้ว
ทุกขสมุทัยอริยสัจควรละ พระองค์ทรงได้ละแล้ว
ทุกขนิโรธอริยสัจควรทำให้แจ้ง ซึ่งพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจควรเจริญ พระองค์ได้เจริญแล้ว
ตราบใดที่พระองค์ยังมิได้ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ตามความเป็นจริง
พระองค์ก็ยังไม่ทรงประกาศว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ต่อเมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ตามความเป็นจริงแล้วนั่นแหละ
พระองค์จึงทรงประกาศให้โลกรู้ว่าพระองค์ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมแล้ว
เป็นเหตุให้พระองค์ทรงทราบว่า พระองค์ทรงพ้นแล้วจากตัณหา
พระองค์ไม่เกิดอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพระองค์แล้ว
ขณะเมื่อพระพุทธองค์ตรัสอริยสัจสี่อยู่นี้
ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนที่ความดับเป็นธรรมดา
ซึ่งความหมายว่า ธรรมทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป
ที่จะตั้งอยู่ตลอดกาลนั้นเป็นไปไม่ได้ นี้เป็นธรรมดาของธรรมทั้งหลาย
สรุปว่าท่านปัญจวัคคีย์ได้สดับธรรมจักรที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว
ใน ๕ คนนั้น มีท่านโกณฑัญญะ คนเดียวได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน
การประกาศธรรมจักรเป็นครั้งแรกของพระองค์
เป็นเหตุให้เทวดาตั้งแต่ภุมมเทวดาไปจนถึงพรหมในพรหมโลก
พากันบันลือเสียงกระฉ่อนเป็นลำดับไป จนกระทั่งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว
แสงสว่างส่องกระจ่างไปทั่วหมื่นโลกธาตุ กลบรัศมีของเทวดาและพรหมทั้งหลายจนหมดสิ้น
ทั้งหมดนี้แหละ คือธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในวันอาสาฬหบูชา....
...ที่มา...[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้