เตือน!! ใช้ “ทิชชู” ซับน้ำมันจากอาหารเสี่ยงได้รับสารก่อมะเร็ง และโซดาไฟ กัดกร่อนเนื้อเยื่อ แสบไหม้ปาก คอ กระเพาะอาหาร เหตุเศษเนื้อเยื่อทิชชูติดไปกับอาหาร แนะใช้กระดาษซับน้ำมันสำหรับอาหารโดยเฉพาะ ห้ามใช้หนังสือพิมพ์ห่อเช่นกัน
อันตราย! ใช้ “ทิชชู” ซับน้ำมันอาหาร เจอสารก่อมะเร็ง-โซดาไฟ
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การนำกระดาษทิชชูใช้ซับน้ำมันจากอาหาร เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเนื้อเยื่อเล็กๆ ของกระดาษทิชชูจะติดในอาหาร ทำให้ได้รับสารเคมีต่างๆ ที่อยู่ในกระดาษทิชชูด้วย คือ สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ และสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เนื่องจากกระบวนการผลิตกระดาษทิชชู นอกจากนำใช้ต้นไม้ เช่น ต้นไผ่ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่อกระดาษบริสุทธิ์แล้ว ปัจจุบันยังมีการนำกระดาษมาหมุนเวียนใหม่ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย เช่น นำกระดาษ A4 ที่ใช้แล้วมาผลิตกระดาษทิชชู เป็นต้น ซึ่งการตีวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อต้องใช้โซดาไฟ และเพื่อความขาวน่าใช้ จึงมีการใช้สารคลอรีนฟอกขาว ซึ่งมีสารไดออกซินเป็นส่วนประกอบ
นพ.พรเทพ กล่าวว่า โซดาไฟเมื่อทำปฏิกิริยากับโปรตีนและไขมัน จะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อรุนแรง ทำให้บริเวณนั้นอ่อนนุ่มกลายเป็นวุ้น ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกทำลายหรือถูกกัดลึกลงไป โดยการทำลายอาจต่อเนื่องหลายวัน หากหายใจเข้าไปจะทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน จาม ปวดคอ น้ำมูกไหล ปอดอักเสบรุนแรง หายใจขัด หากสัมผัสถูกผิวหนังจะระคายเคืองรุนแรง เป็นแผลไหม้และพุพองได้ การกลืนกินทำให้แสบไหม้บริเวณปาก คอ และกระเพาะอาหาร ส่วนสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปจะไม่ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน แต่จะค่อยๆ เกิดและเพิ่มความรุนแรงจนถึงเสียชีวิต
“การใช้ทิชชูซับน้ำมันจากอาหาร กระดาษจะสัมผัสกับอาหารโดยตรง จึงต้องเลือกใช้กระดาษที่ผลิตมาเพื่อใช้กับอาหารโดยเฉพาะ และต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานระดับสากล เช่น HACCP เป็นมาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร เป็นที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ร้านอาหารข้ามชาติ หรือร้านอาหารฟาสต์ฟูด ซึ่งจะต้องไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ไม่ปนเปื้อนเชื้อโรค ไม่มีสิ่งแปลกปลอมติดค้างอยู่ เช่น เศษกระดาษ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาใช้ห่อบรรจุอาหารทอดต่างๆ ก็เป็นอันตราย เพราะน้ำมันจะเป็นตัวละลายสารเคมีในหมึกพิมพ์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย แม้ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบมาตรฐานกระดาษที่ผู้ค้านำมาซับมันจากอาหารได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงอาหารมันและอาหารทอด เพื่อความปลอดภัยจากการรับสารเคมีตกค้าง และเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคด้วย
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000074541
อันตราย! ใช้ “ทิชชู” ซับน้ำมันอาหาร เจอสารก่อมะเร็ง-โซดาไฟ
อันตราย! ใช้ “ทิชชู” ซับน้ำมันอาหาร เจอสารก่อมะเร็ง-โซดาไฟ
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การนำกระดาษทิชชูใช้ซับน้ำมันจากอาหาร เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเนื้อเยื่อเล็กๆ ของกระดาษทิชชูจะติดในอาหาร ทำให้ได้รับสารเคมีต่างๆ ที่อยู่ในกระดาษทิชชูด้วย คือ สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ และสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เนื่องจากกระบวนการผลิตกระดาษทิชชู นอกจากนำใช้ต้นไม้ เช่น ต้นไผ่ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่อกระดาษบริสุทธิ์แล้ว ปัจจุบันยังมีการนำกระดาษมาหมุนเวียนใหม่ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย เช่น นำกระดาษ A4 ที่ใช้แล้วมาผลิตกระดาษทิชชู เป็นต้น ซึ่งการตีวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อต้องใช้โซดาไฟ และเพื่อความขาวน่าใช้ จึงมีการใช้สารคลอรีนฟอกขาว ซึ่งมีสารไดออกซินเป็นส่วนประกอบ
นพ.พรเทพ กล่าวว่า โซดาไฟเมื่อทำปฏิกิริยากับโปรตีนและไขมัน จะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อรุนแรง ทำให้บริเวณนั้นอ่อนนุ่มกลายเป็นวุ้น ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกทำลายหรือถูกกัดลึกลงไป โดยการทำลายอาจต่อเนื่องหลายวัน หากหายใจเข้าไปจะทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน จาม ปวดคอ น้ำมูกไหล ปอดอักเสบรุนแรง หายใจขัด หากสัมผัสถูกผิวหนังจะระคายเคืองรุนแรง เป็นแผลไหม้และพุพองได้ การกลืนกินทำให้แสบไหม้บริเวณปาก คอ และกระเพาะอาหาร ส่วนสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปจะไม่ทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน แต่จะค่อยๆ เกิดและเพิ่มความรุนแรงจนถึงเสียชีวิต
“การใช้ทิชชูซับน้ำมันจากอาหาร กระดาษจะสัมผัสกับอาหารโดยตรง จึงต้องเลือกใช้กระดาษที่ผลิตมาเพื่อใช้กับอาหารโดยเฉพาะ และต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานระดับสากล เช่น HACCP เป็นมาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร เป็นที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ร้านอาหารข้ามชาติ หรือร้านอาหารฟาสต์ฟูด ซึ่งจะต้องไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ไม่ปนเปื้อนเชื้อโรค ไม่มีสิ่งแปลกปลอมติดค้างอยู่ เช่น เศษกระดาษ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาใช้ห่อบรรจุอาหารทอดต่างๆ ก็เป็นอันตราย เพราะน้ำมันจะเป็นตัวละลายสารเคมีในหมึกพิมพ์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย แม้ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบมาตรฐานกระดาษที่ผู้ค้านำมาซับมันจากอาหารได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงอาหารมันและอาหารทอด เพื่อความปลอดภัยจากการรับสารเคมีตกค้าง และเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคด้วย
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000074541