คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๙ - ๒๕๖๖. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=2519&Z=2566&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=230
*************************
จากคู่มือ การศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ
จิตคืออะไร
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า
จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า
จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุอนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ
๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละเป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหายไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของกรรมเมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย
บทนำปรมัตถ์
http://www.abhidhamonline.org/rupa.files/paramath.htm
จิต
http://abhidhamonline.org/thesis/thesis2.files/thesis2.htm
**************************************************
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๙ - ๒๕๖๖. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=2519&Z=2566&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=230
*************************
จากคู่มือ การศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ
จิตคืออะไร
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า
จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า
จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุอนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ
๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละเป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหายไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของกรรมเมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย
บทนำปรมัตถ์
http://www.abhidhamonline.org/rupa.files/paramath.htm
จิต
http://abhidhamonline.org/thesis/thesis2.files/thesis2.htm
**************************************************
แสดงความคิดเห็น
จิต วิญญาณ เหมือนกัน แต่ต่างกัน ผมกำลังงงใช่ไหมครับ
ข้อความข้างต้นนี้เป็นความเข้าใจของผม ณ ตอนนี้ ไม่ทราบว่าถูกต้องไหม ผมไม่ค่อยรู้อภิธรรม