ธาตุ หมายถึง สิ่งที่ย่อยเล็กที่สุด หรือ สิ่งที่เป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง คือทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกหรือในจักรวาลนี้ไม่ว่าจะเป็นอะไร เมื่อนำมาแยกย่อยให้เหลือเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว สิ่งที่เหลือเล็กที่สุดนี้จะเรียกว่า “ธาตุ” ดังนั้นธาตุจึงเป็นพื้นฐานของทุกๆสิ่ง ทุกๆสิ่งเกิดมาจากธาตุที่มากมายมหาศาลมารวมตัวหรือประกอบกันขึ้น ซึ่งในการศึกษาเรื่องธาตุนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาให้ละเอียดถึงที่สุดชนิดแยกเป็นอะตอมก็ได้เพราะเกินความจำเป็น เราจะเอาเพียงแค่สายตาเรามองเห็นก็พอแล้ว โดยสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นเมื่อนำมาแยกย่อยออกจนมองเห็นว่าเล็กที่สุดแล้วก็จะเรียกสิ่งที่แยกย่อยแล้วนั้นว่า ธาตุ ซึ่งธาตุที่เป็นพื้นฐานในการปรุงแต่งให้เกิดทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตขึ้นมาในโลกนี้ก็มีอยู่ ๖ ธาตุด้วยกัน คือ
๑. ธาตุดิน คือคุณสมบัติที่ค่อนแข็ง (ของแข็ง)
๒. ธาตุน้ำ คือคุณสมบัติที่เหลว, เกาะกุมตัวกันง่าย (ของเหลว)
๓. ธาตุไฟ คือคุณสมบัติที่ร้อน, ทำลาย (อุณหภูมิ)
๔. ธาตุลม คือคุณสมบัติที่เบาบาง, ฟุ้งแผ่กระจาย (ก๊าซ)
๕. ธาตุว่าง คือคุณสมบัติที่ว่างเปล่าหรือไม่มีอะไรเลย (สุญญากาศ)
๖. ธาตุรู้ (ธาตุวิญญาณ) คือคุณสมบัติที่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ (วิญญาณ)
ธาตุดิน,ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, และธาตุลมนี้เองที่ปรุงแต่งให้เกิดเป็นวัตถุและสิ่งของทั้งหลายขึ้นมาและอาศัยธาตุว่างตั้งอยู่ (ถ้าไม่มีธาตุว่างก็จะทำให้วัตถุไม่มีที่อยู่ที่อาศัย) ส่วนธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุนี้จะเป็นธาตุพิเศษที่เมื่อเกิดขึ้นในวัตถุธาตุที่เหมาะสมก็จะทำให้วัตถุธาตุนั้นเกิดการรับรู้และรู้สึกต่อสิ่งต่างๆได้ เช่น ทำให้ตามองเห็นรูปได้ ทำให้หูได้ยินเสียงได้ ทำให้ร่างกายรับรู้ความเย็น ร้อน อ่อน แข็งได้ ทำให้ใจรับรู้ความรู้สึกต่างๆได้ เป็นต้น ซึ่งธาตุรู้นี้เองที่เป็นพื้นฐานมาประกอบกับความรู้สึก (เวทนา) การจำได้ (สัญญา) การคิดนึกปรุงแต่ง (สังขาร) จนเกิดเป็นสิ่งที่สมมติเรียกว่า จิต หรือ ใจของคนเราขึ้นมา
สรุปได้ว่าทั้งร่างกายและจิตใจของเราและของทุกชีวิต ล้วนเกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งของธาตุ แม้ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากธาตุด้วยเหมือนกัน ซึ่งความรู้นี้จะทำให้เข้าใจได้ว่า ทุกสิ่งเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ หาได้มีสิ่งที่เป็นตัวตนของเราหรือของใครๆจริงๆไม่ ซึ่งการที่ธาตุมาปรุงแต่งให้เกิดสิ่งทั้งหลายขึ้นมานี้เอง ที่ทำให้สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายมีความไม่เที่ยง มีสภาวะที่ต้องทน และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งเมื่อเราเข้าใจถึงลักษณะของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย (โดยเฉพาะในร่างกายและจิตใจของเราเอง) ได้ดังนี้แล้ว ก็จะทำให้เรามีปัญญาที่จะนำมาใช้ประกอบกับสมาธิ เพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นมาได้เพราะอาศัยธาตุตามธรรมชาติปรุงแต่งขึ้นมา ไม่ได้มีตัวตนอยู่ก่อน
๑. ธาตุดิน คือคุณสมบัติที่ค่อนแข็ง (ของแข็ง)
๒. ธาตุน้ำ คือคุณสมบัติที่เหลว, เกาะกุมตัวกันง่าย (ของเหลว)
๓. ธาตุไฟ คือคุณสมบัติที่ร้อน, ทำลาย (อุณหภูมิ)
๔. ธาตุลม คือคุณสมบัติที่เบาบาง, ฟุ้งแผ่กระจาย (ก๊าซ)
๕. ธาตุว่าง คือคุณสมบัติที่ว่างเปล่าหรือไม่มีอะไรเลย (สุญญากาศ)
๖. ธาตุรู้ (ธาตุวิญญาณ) คือคุณสมบัติที่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้ (วิญญาณ)
ธาตุดิน,ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, และธาตุลมนี้เองที่ปรุงแต่งให้เกิดเป็นวัตถุและสิ่งของทั้งหลายขึ้นมาและอาศัยธาตุว่างตั้งอยู่ (ถ้าไม่มีธาตุว่างก็จะทำให้วัตถุไม่มีที่อยู่ที่อาศัย) ส่วนธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุนี้จะเป็นธาตุพิเศษที่เมื่อเกิดขึ้นในวัตถุธาตุที่เหมาะสมก็จะทำให้วัตถุธาตุนั้นเกิดการรับรู้และรู้สึกต่อสิ่งต่างๆได้ เช่น ทำให้ตามองเห็นรูปได้ ทำให้หูได้ยินเสียงได้ ทำให้ร่างกายรับรู้ความเย็น ร้อน อ่อน แข็งได้ ทำให้ใจรับรู้ความรู้สึกต่างๆได้ เป็นต้น ซึ่งธาตุรู้นี้เองที่เป็นพื้นฐานมาประกอบกับความรู้สึก (เวทนา) การจำได้ (สัญญา) การคิดนึกปรุงแต่ง (สังขาร) จนเกิดเป็นสิ่งที่สมมติเรียกว่า จิต หรือ ใจของคนเราขึ้นมา
สรุปได้ว่าทั้งร่างกายและจิตใจของเราและของทุกชีวิต ล้วนเกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งของธาตุ แม้ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากธาตุด้วยเหมือนกัน ซึ่งความรู้นี้จะทำให้เข้าใจได้ว่า ทุกสิ่งเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ หาได้มีสิ่งที่เป็นตัวตนของเราหรือของใครๆจริงๆไม่ ซึ่งการที่ธาตุมาปรุงแต่งให้เกิดสิ่งทั้งหลายขึ้นมานี้เอง ที่ทำให้สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายมีความไม่เที่ยง มีสภาวะที่ต้องทน และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งเมื่อเราเข้าใจถึงลักษณะของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย (โดยเฉพาะในร่างกายและจิตใจของเราเอง) ได้ดังนี้แล้ว ก็จะทำให้เรามีปัญญาที่จะนำมาใช้ประกอบกับสมาธิ เพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า