กรมการขนส่งทางราง เพื่ออะไร ??

กระทู้คำถาม
เห็นข่าวในไทยรัฐทีวีตะกี้ ได้ยินคร่าวๆ

จะมีหน้าที่สร้างราง และให้เอกชนเดินรถ !!

ขอถาม!!! ค่าโดยสารจะเป็นยังไง แล้วปัจจุบันจะต้องสร้างรางมากมายขนาดเลยหรอ ?   

หรือตั้งมาเพื่อรถไฟความเร็วสูง???
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เพื่อแบ่งแยกอำนาจในทางการบริหารออกจากกัน
โดยเฉพาะในส่วนของผู้ออกกฏ/ผู้กำกับดูแล  (Regulator) กับผู้ปฏิบัติ (Operator)
เพื่อให้มีการคานอำนาจกัน และตรวจสอบซึ่งกันและกันเจ้าค่ะ

จริงๆแล้ว ต้องแบ่งเป็น 3 ส่วนเลยทีเดียวคือ
1. ผู้ออกกฏระเบียบ ดูแลด้านมาตรฐาน การออกใบอนุญาตต่างๆ
2. ผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้เป็นไปตามมาตรฐาน
3. ผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการขนส่ง ฯลฯ

ทางบก:
1.  มีกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ออกกฏ/ออกใบอนุญาต/กำกับดูแล
2. กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษฯ เป็นผู้จัดสร้างถนน
3. ขสมก. บขส. ผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป เป็นผู้ปฏิบัติ

ทางน้ำ:
1. มีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี(กรมเจ้าท่า) เป็นผู้ออกกฏ/ออกใบอนุญาต/กำกับดูแล
2. มี การท่าเรือ / เอกชน เป็นผู้จัดสร้างท่าเรือ
3. มีสายการเดินเรือต่างๆเป็นผู้ปฏิบัติ

ทางอากาศ:
1.  มีกรมการบินพลเรือน(กรมการบินพาณิชย์เดิม/กรมการขนส่งทางอากาศเดิม)
เป็นผู้ออกกฏ/ออกใบอนุญาต/กำกับดูแล
2. มีการท่า มีวิทยุการบิน เป็นผู้จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน
3. มีสายการบินต่างๆ เป็นผู้ปฏิบัติ

แต่ทางขนส่งทางราง มีการรถไฟ เป็นทั้ง เป็นผู้ออกกฏ/ออกใบอนุญาต/กำกับดูแล
เป็นทั้งผู้ปฏิบัติ ทำให้การกำกับการตรวจสอบต่างๆทำได้ยาก
เพราะลูบหน้าก็ปะจมูก มีปัญหาอะไรก็ขยับอะไรลำบาก เพราะคนกันเองทั้งนั้น
เหมือนกับ คนออกข้อสอบ กับคนเข้าสอบเป็นคนเดียวกัน
มันก็ทำให้ทำอะไรได้ยาก พัฒนาอะไรก็ยาก เพราะไม่มีใครมากดดัน
คู่แข่งก็ไม่มี ทำให้แค่อยู่ไปวันๆก็รอดแล้ว ไม่ต้องคิดทำอะไรที่มันก้าวหน้า

รถไฟตกรางทีนึง ก็สอบสวน แก้ไข จัดซื้อ ปรับปรุง รายงาน กันอยู่ภายในหน่วยงาน
ชาวบ้านไม่เกี่ยว คนภายนอกไม่เกี่ยว ทำให้อะไรๆมันจึงซุกอยู่ใต้พรมนั่นแหละ

เด้อค่ะเด้อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่