"สหภาพรถไฟฯขู่ หากแปรรูปจะทำให้ค่าโดยสารแพงขึ้น 400%" เราควรปฏิรูปต่อดีไหม

สหภาพฯรถไฟระทึกถูกแปรรูป งัดไม้ตายค่าโดยสารพุ่ง 400%
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1125500

"ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากมีการแปรรูป รฟท. จะทำให้รูปแบบการให้บริการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะค่าโดยสารที่ต้องปรับเพิ่มสูงขึ้น 400% จากขณะนี้ เนื่องจากเอกชนนเข้ามาดูแลก็ต้องแสวงหากำไร เช่นค่ารถไฟ 100 บาท อาจเพิ่มขึ้นเป็น 500 บาท แต่หากเป็นรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลก็ยังสนับสนุน เช่น ปัจจุบันเก็บค่าโดยสารต่อคนที่ 0.20 บาท ต่อกิโลเมตร (กม.) ขณะที่มีต้นทุนจริงอยู่ที่ 2.40 บาทต่อ กม."

ขณะนี้ รัฐบาลกำลังผลักดันการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปรับโครงสร้างทางการบริหาร ให้บริการของระบบรางในประเทศไทยทั้งหมด หรือก็คือการปฏิรูปรถไฟไทยอย่างสมบูรณ์ ดังรูป
- ด้านการบริหาร
ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย จากเดิมที่ผูกขาดการดำเนินงานทั้งการให้บริการเดินรถไฟ การสร้างและซ่อมบำรุงทางกรถไฟ
จะถูกแบ่งหน้าที่ใหม่ แยกออกไปเป็นบริษัทย่อย (ดำเนินงานแบบเอกชน ซึ่งมีความคล่องตัวกว่า)  

ในขณะที่การให้บริการเชิงสังคม (บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) ยังคงมีอยู่แน่นอน แต่จะถูกจัดระเบียบให้ดีขึ้น โดยมีกรมการขนส่งทางรางเป็นคนจ่ายเงินชดเชยให้บริษัทเดินรถ จากปัจจุบันที่ร.ฟ.ท.รับตรงจากกระทรวงคมนาคม (ซึ่งร.ฟ.ท.ก็อ้างมาเสมอว่าเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้รถไฟขาดทุน เพราะได้รับเงินจริงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น) แต่ด้วยกรมรางฯ จะทำให้การจ่ายเงินมีประสิทธิภาพขึ้น

ด้วยระบบระเบียบแบบเดิมที่เป็นรัฐวิสาหกิจอาจจะหายไป เช่นการบริหารงานที่ห่วย มีความเป็นเอกชนมากขึ้น แน่นอนว่ามันต้องดีขึ้นแน่นอน
ผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนคือ การหวังผลกำไร นั่นจะส่งผลให้ค่าโดยสารเปลี่ยนไปจากปัจจุบันแน่นอน

- ด้านราคา
ปัจจุบันรถไฟไทยให้บริการขบวนรถเชิงสังคม(ฟรี/บัตรสวัสดิการ) รวมถึง"ค่าโดยสาร"ท่ี่"ถูกมากๆ"
กรุงเทพ - เชียงใหม่ ค่าโดยสารชั้น 3 แค่ 121 บาทเท่านั้น
แต่มันแพงขึ้นไปอีกหลายร้อยเพราะค่าธรรมเนียม (รถด่วน รถปรับอากาศ) ซึ่งการถไฟขึ้นค่าธรรมเนียมได้อย่างเดียว ขึ้นค่าโดยสารไม่ได้มานามากแล้ว

จากข่าวด้านบน ปัจจุบันเก็บค่าโดยสาร 0.2 บาทต่อกิโล แต่ต้นทุนอยู่ที่ 2.4 บาท ขาดทุน 2.2 บาท ซึ่งก็ไม่พ้นต้องเอาภาษีมาโปะ

- สรุป
การปฏิรูปนี้จะทำให้การบริหารดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การบริการดีขึ้นแน่นอน
และต้องเตรียมรับมือกับค่าโดยสารที่จะเพิ่มขึ้น  (แต่บัตรสวัสดิการใช้ได้เหมือนเดิม)

มาที่คำถาม
1. คุณเห็นควรให้ปฏิรูปต่อไปหรือไม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่