(เนื้อหาบางส่วน)
ในพุทธศาสนาอย่าง
หลักปฏิจจสมุปบาทนี้บอกให้รู้ว่า การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ต่าง ๆ นี้
ที่สมุปปาทะมันก็เกิดพรึ่บขึ้น สมุปปาทะก็คือเกิดพร้อม เกิดพรึ่บขึ้นมานี้โดยอาศัยกัน ๆ
มันเป็นระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่ว่าเมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมผลจึงเกิดขึ้น
ไม่ใช่ระบบเหตุเดียวผลเดียว
หมายความว่าความจริงของธรรมชาตินี้ มันไม่ใช่เหตุเดียวผลเดียว
แต่มนุษย์นี้มันมักจะติดความคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว
ก็ยกตัวอย่างบ่อย ๆ คือสิ่งทั้งหลายที่เป็นปรากฏการณ์นี้ เราบอกว่าเกิดจากเหตุ เพราะมันเป็นผล
เช่น เรายกตัวอย่างว่าต้นมะม่วงเกิดขึ้นก็มาจากเหตุ เราก็อาจจะบอกว่า เช่น เกิดจากเม็ดมะม่วง
ถ้าเราบอกว่าต้นมะม่วงเกิดจากเม็ดมะม่วง เม็ดมะม่วงเป็นเหตุ แล้วต้นมะม่วงเป็นผล
อย่างนี้คือระบบเหตุเดียวผลเดียว
ความจริงเป็นไปไม่ได้ จริงอยู่ เราบอกว่าม็ดมะม่วง เป็นเหตุ แล้วต้นมะม่วงเป็นผล
แปลว่ามีแต่เม็ดที่เป็นเหตุมีแต่เหตุนั้น ต้นมะม่วงเกิดไม่ได้ ต้นมะม่วงเกิด
ก็เป็นปรากฏการณ์ที่มีความพรั่งพร้อมของเหตุปัจจัยหลายอย่าง
นอกจากเม็ดมะม่วงต้องมีอะไรอีกบ้าง
ต้องมีดิน มีโอชะหรือปุ๋ย อะไรก็แล้วแต่ หรือทางบาลีเรียกว่าโอชา แล้วก็มีน้ำ มีอุณหภูมิเหมาะ มีอากาศ เป็นต้น
เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมแล้วต้นมะม่วงจึงเกิดได้ อันนี้คือระบบที่เรียกว่าเหตุปัจจัย เราเรียกกันว่าอย่างนั้นเรียกง่ายๆ
ก็คือการที่มีปัจจัยพรั่งพร้อม คามจริงเหตุก็เป็นอันหนึ่งในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย
อันนี้ก็เป็นเรื่องของความเข้าใจเบื้องต้นที่สำคัญนะ
ถ้าจับอันนี้ไม่ได้ ก็อาจจะทำให้ความเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ เขวได้หรือสับสน
ทีนี้มนุษย์แม้แต่ในปัจจุบันก็ชอบติดอยู่ในระบบเหตุเดียวผลเดียว
ทีนี้เวลาเราทำการต่าง ๆ เนี่ย เราจึงต้องระวัง ว่าถ้าเราต้องการผลอันนี้ เราจะไปนึกแต่ว่าทำเหตุอันนั้นๆ นะ
เราต้องนึกถึงมีปัจจัยเเวดล้อมต่าง ๆ ปัจจัยภายในตัว ปัจจัยนอกตัว ปัจจัยทางสังคม ฯลฯ
แล้วอันนี้มันจะมาช่วยเราในการแก้ไขปรับปรุง เช่นเวลาตรวจสอบ ว่าผลได้เกิดขึ้นตามคาดหมาย อ้าว
มันมีเหตุปัจจัยอะไร
เราทำเหตุแต่ปัจจัยไม่เอื้อ อันโน้น อันนี้ จะได้ไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูก ไม่ใช่มองแต่ว่าชั้นทำเหตุแล้วทำไมไม่เกิดผล
แล้วก็มาร้องว่าทำดีไม่เห็นได้ดีเลยอย่างนี้ เพราะเป็นคนที่ไม่รู้จักดูปัจจัย
-----------
ทีนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือความเป็นปัจจัยนี้
เรามักจะนึกในแง่ของความเป็นไปตามลำดับกาลเวลา อันนี้เกิดขึ้นแล้วทำให้อันโน้นเกิดขึ้น อย่างนี้ก็ไม่ถูก
อันนี้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันนี้ อย่างอภิธรรมนี้ท่านจะแยกไว้ตั้ง 24 แบบ
ไม่จำเป็นจะต้องปัจจัยนี้เกิดก่อนแล้วทำให้อันโน้นเกิดตาม ความเป็นปัจจัยแก่กันนี้อาจจะมีในเวลาเดียวกันหรือเป็นปัจจัยแก่กัน
โดยการที่ว่า เมื่ออันนี้มี อันนั้นก็จะต้องมีด้วย
------------------------------------------------------
ทีนี้ไปคิดกันเพียงว่าอวิชชาเป็นปัจจัย มีอวิชชาเกิดขึ้นก่อนแล้วไปมีอันนั้นๆ ก็คิดกันอย่างนี้ก็ยุ่งสิทีนี้
ที่จริงมันก็อยู่ในกระบวนการของชีวิตเราตลอดเวลา อย่างที่บอกว่า
อย่ามองปัจจัยในแง่ของการเกิดตามลำดับเวลา
มันก็เป็นตัวปัจจัย คือตัวให้โอกาสอยู่ตลอดเวลา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าธรรมนั่นธรรมนี้
แล้วพระองค์ก็ตรัสสรุปว่า
ทั้งหมดนี้อวิชชาแฝงอยู่ตลอด อย่างนี้เป็นต้นนะ อันนี้ก็ให้เห็นนะ
อันนี้ก็เป็นการให้ภาพกว้าง ๆ เวลาจะมามองลักษณะหลักเหล่านี้ ทีนี้พอเราได้ภาพกว้าง ๆนี้ เวลาเราไปศึกษานี้มันจะง่ายขึ้น....
ไม่งั้นเราก็ไปศึกษาทีละตอนๆ อวิชชาเป็นปัจจัยสำคัญยังไง ๆ โดยไม่ได้ภาพอย่างนี้ไว้ บางทีก็จับวุ่นวายสับสนหมด
------------------------------------------------------------
อย่างเช่นที่เค้าบอกว่า อ้าว ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ ถ้าบรรลุธรรมแล้วก็ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้นก็ต้องกลับมาเป็นปุถุชนได้สิ อย่างนี้เป็นต้นนะ
เอ๊ะ บางครั้งท่านมาพูดอย่างนี้มันก็ได้ยินกันหลายคนก็งง เอ๊ะ ถ้ามันจริง อ้าว แล้วมันไม่ขัดกันเหรอ
ก็พระอรหัตร์กลับมาเป็นปุถุชนได้ ก็แย่สิ เอ๊ะ ถ้าว่าไม่กลับก็ขัดหลักอนิจจังสิ อะไรอย่างนี้นะ
นี้แหละ ความจริงมันมีอยู่เพียงว่า สิ่งทั้งหลายนี้ไม่เที่ยง
ที่ว่าไม่เที่ยงนี้ไม่ใช่เป็นไปลอยๆ นะ เป็นไปตามเหตุปัจจัย
ทีนี้พระอรหันต์ไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้มาเป็นปุถุชน ก็เลยไม่เป็นปุถุชน ก็เท่านั้นเอง มันไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้น
ความไม่เที่ยงมันก็อยู่ในขอบเขตของมันนั่นแหละ ที่มันไม่เที่ยง เช่น ร่างกายไม่เที่ยง หรืออะไรจิตใจขันธ์ห้าไม่เที่ยง ก็ว่าไป
แต่ไม่ใช่ว่าไม่เที่ยงแล้วกลับไปกลับมา อะไรมันอยู่ที่เหตุปัจจัยนะ
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ถ้าเราไปติดอยู่แค่นี้นะ อาจจะทำให้หลอกตัวเอง
เพราะว่าหลักการสำคัญนี้ที่บอกว่าไม่เที่ยง มันมีตัวสำคัญอยู่ มันอยู่ในระบบความสัมพันธ์
ที่มันไม่เที่ยงนี้ ก็คือมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ทีนี้การที่ไม่เที่ยงแล้วจะเปลี่ยนเเปลงไปอย่างไรก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มาสัมพันธ์กัน
ทีนี้ เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยให้เป็นอย่างนั้นมันก็ไม่เป็นก็เท่านั้นเอง อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ว่ามาใช้ได้แม้แต่ชีวิตประจำวัน
***************************************************
จะเห็นว่าปฏิจจสมุปบาทนั้น เจตนาเป็นตัวสำคัญเลย ตัวแปรที่จะให้เป็นไป แล้วก็กรรมก็อยู่ที่เจตนาเลย
แล้วก็ตัวให้โอกาสก็คืออวิชชาแฝงอยู่ตลอดเวลา พออวิชชาหมดเมื่อใดกลายเป็นวิชชาปั๊บ กระบวนการนี้พังครืนเลย
ไม่มีตัวให้โอกาส อันนี้เรากำลังเข้ามาสู่กระบวนการบางอย่างในองค์ธรรมทั้งหมดนั้น
------------------------------------------------
จาก ธรรมกถา ปาฐกถา เรื่อง
"ข้อควรทราบเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท"
เป็นส่วนหนึ่งของธรรมบรรยายอยู่ในชุด
หลักพุทธศาสนา ต้องศึกษาให้ชัด
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
http://www.youtube.com/watch?v=xZsylipHkPQ
http://www.youtube.com/watch?v=HVecAau8aIY
ข้อควรทราบเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ในพุทธศาสนาอย่างหลักปฏิจจสมุปบาทนี้บอกให้รู้ว่า การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ต่าง ๆ นี้
ที่สมุปปาทะมันก็เกิดพรึ่บขึ้น สมุปปาทะก็คือเกิดพร้อม เกิดพรึ่บขึ้นมานี้โดยอาศัยกัน ๆ
มันเป็นระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่ว่าเมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมผลจึงเกิดขึ้น ไม่ใช่ระบบเหตุเดียวผลเดียว
หมายความว่าความจริงของธรรมชาตินี้ มันไม่ใช่เหตุเดียวผลเดียว แต่มนุษย์นี้มันมักจะติดความคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว
ก็ยกตัวอย่างบ่อย ๆ คือสิ่งทั้งหลายที่เป็นปรากฏการณ์นี้ เราบอกว่าเกิดจากเหตุ เพราะมันเป็นผล
เช่น เรายกตัวอย่างว่าต้นมะม่วงเกิดขึ้นก็มาจากเหตุ เราก็อาจจะบอกว่า เช่น เกิดจากเม็ดมะม่วง
ถ้าเราบอกว่าต้นมะม่วงเกิดจากเม็ดมะม่วง เม็ดมะม่วงเป็นเหตุ แล้วต้นมะม่วงเป็นผล อย่างนี้คือระบบเหตุเดียวผลเดียว
ความจริงเป็นไปไม่ได้ จริงอยู่ เราบอกว่าม็ดมะม่วง เป็นเหตุ แล้วต้นมะม่วงเป็นผล
แปลว่ามีแต่เม็ดที่เป็นเหตุมีแต่เหตุนั้น ต้นมะม่วงเกิดไม่ได้ ต้นมะม่วงเกิด
ก็เป็นปรากฏการณ์ที่มีความพรั่งพร้อมของเหตุปัจจัยหลายอย่าง นอกจากเม็ดมะม่วงต้องมีอะไรอีกบ้าง
ต้องมีดิน มีโอชะหรือปุ๋ย อะไรก็แล้วแต่ หรือทางบาลีเรียกว่าโอชา แล้วก็มีน้ำ มีอุณหภูมิเหมาะ มีอากาศ เป็นต้น
เมื่อปัจจัยพรั่งพร้อมแล้วต้นมะม่วงจึงเกิดได้ อันนี้คือระบบที่เรียกว่าเหตุปัจจัย เราเรียกกันว่าอย่างนั้นเรียกง่ายๆ
ก็คือการที่มีปัจจัยพรั่งพร้อม คามจริงเหตุก็เป็นอันหนึ่งในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย
อันนี้ก็เป็นเรื่องของความเข้าใจเบื้องต้นที่สำคัญนะ
ถ้าจับอันนี้ไม่ได้ ก็อาจจะทำให้ความเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ เขวได้หรือสับสน
ทีนี้มนุษย์แม้แต่ในปัจจุบันก็ชอบติดอยู่ในระบบเหตุเดียวผลเดียว
ทีนี้เวลาเราทำการต่าง ๆ เนี่ย เราจึงต้องระวัง ว่าถ้าเราต้องการผลอันนี้ เราจะไปนึกแต่ว่าทำเหตุอันนั้นๆ นะ
เราต้องนึกถึงมีปัจจัยเเวดล้อมต่าง ๆ ปัจจัยภายในตัว ปัจจัยนอกตัว ปัจจัยทางสังคม ฯลฯ
แล้วอันนี้มันจะมาช่วยเราในการแก้ไขปรับปรุง เช่นเวลาตรวจสอบ ว่าผลได้เกิดขึ้นตามคาดหมาย อ้าว มันมีเหตุปัจจัยอะไร
เราทำเหตุแต่ปัจจัยไม่เอื้อ อันโน้น อันนี้ จะได้ไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูก ไม่ใช่มองแต่ว่าชั้นทำเหตุแล้วทำไมไม่เกิดผล
แล้วก็มาร้องว่าทำดีไม่เห็นได้ดีเลยอย่างนี้ เพราะเป็นคนที่ไม่รู้จักดูปัจจัย
-----------
ทีนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือความเป็นปัจจัยนี้
เรามักจะนึกในแง่ของความเป็นไปตามลำดับกาลเวลา อันนี้เกิดขึ้นแล้วทำให้อันโน้นเกิดขึ้น อย่างนี้ก็ไม่ถูก
อันนี้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันนี้ อย่างอภิธรรมนี้ท่านจะแยกไว้ตั้ง 24 แบบ
ไม่จำเป็นจะต้องปัจจัยนี้เกิดก่อนแล้วทำให้อันโน้นเกิดตาม ความเป็นปัจจัยแก่กันนี้อาจจะมีในเวลาเดียวกันหรือเป็นปัจจัยแก่กัน
โดยการที่ว่า เมื่ออันนี้มี อันนั้นก็จะต้องมีด้วย
------------------------------------------------------
ทีนี้ไปคิดกันเพียงว่าอวิชชาเป็นปัจจัย มีอวิชชาเกิดขึ้นก่อนแล้วไปมีอันนั้นๆ ก็คิดกันอย่างนี้ก็ยุ่งสิทีนี้
ที่จริงมันก็อยู่ในกระบวนการของชีวิตเราตลอดเวลา อย่างที่บอกว่าอย่ามองปัจจัยในแง่ของการเกิดตามลำดับเวลา
มันก็เป็นตัวปัจจัย คือตัวให้โอกาสอยู่ตลอดเวลา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าธรรมนั่นธรรมนี้
แล้วพระองค์ก็ตรัสสรุปว่าทั้งหมดนี้อวิชชาแฝงอยู่ตลอด อย่างนี้เป็นต้นนะ อันนี้ก็ให้เห็นนะ
อันนี้ก็เป็นการให้ภาพกว้าง ๆ เวลาจะมามองลักษณะหลักเหล่านี้ ทีนี้พอเราได้ภาพกว้าง ๆนี้ เวลาเราไปศึกษานี้มันจะง่ายขึ้น....
ไม่งั้นเราก็ไปศึกษาทีละตอนๆ อวิชชาเป็นปัจจัยสำคัญยังไง ๆ โดยไม่ได้ภาพอย่างนี้ไว้ บางทีก็จับวุ่นวายสับสนหมด
------------------------------------------------------------
อย่างเช่นที่เค้าบอกว่า อ้าว ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ ถ้าบรรลุธรรมแล้วก็ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้นก็ต้องกลับมาเป็นปุถุชนได้สิ อย่างนี้เป็นต้นนะ
เอ๊ะ บางครั้งท่านมาพูดอย่างนี้มันก็ได้ยินกันหลายคนก็งง เอ๊ะ ถ้ามันจริง อ้าว แล้วมันไม่ขัดกันเหรอ
ก็พระอรหัตร์กลับมาเป็นปุถุชนได้ ก็แย่สิ เอ๊ะ ถ้าว่าไม่กลับก็ขัดหลักอนิจจังสิ อะไรอย่างนี้นะ
นี้แหละ ความจริงมันมีอยู่เพียงว่า สิ่งทั้งหลายนี้ไม่เที่ยง ที่ว่าไม่เที่ยงนี้ไม่ใช่เป็นไปลอยๆ นะ เป็นไปตามเหตุปัจจัย
ทีนี้พระอรหันต์ไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้มาเป็นปุถุชน ก็เลยไม่เป็นปุถุชน ก็เท่านั้นเอง มันไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นอย่างนั้น
ความไม่เที่ยงมันก็อยู่ในขอบเขตของมันนั่นแหละ ที่มันไม่เที่ยง เช่น ร่างกายไม่เที่ยง หรืออะไรจิตใจขันธ์ห้าไม่เที่ยง ก็ว่าไป
แต่ไม่ใช่ว่าไม่เที่ยงแล้วกลับไปกลับมา อะไรมันอยู่ที่เหตุปัจจัยนะ
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ถ้าเราไปติดอยู่แค่นี้นะ อาจจะทำให้หลอกตัวเอง
เพราะว่าหลักการสำคัญนี้ที่บอกว่าไม่เที่ยง มันมีตัวสำคัญอยู่ มันอยู่ในระบบความสัมพันธ์
ที่มันไม่เที่ยงนี้ ก็คือมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ทีนี้การที่ไม่เที่ยงแล้วจะเปลี่ยนเเปลงไปอย่างไรก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มาสัมพันธ์กัน
ทีนี้ เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยให้เป็นอย่างนั้นมันก็ไม่เป็นก็เท่านั้นเอง อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ว่ามาใช้ได้แม้แต่ชีวิตประจำวัน
***************************************************
จะเห็นว่าปฏิจจสมุปบาทนั้น เจตนาเป็นตัวสำคัญเลย ตัวแปรที่จะให้เป็นไป แล้วก็กรรมก็อยู่ที่เจตนาเลย
แล้วก็ตัวให้โอกาสก็คืออวิชชาแฝงอยู่ตลอดเวลา พออวิชชาหมดเมื่อใดกลายเป็นวิชชาปั๊บ กระบวนการนี้พังครืนเลย
ไม่มีตัวให้โอกาส อันนี้เรากำลังเข้ามาสู่กระบวนการบางอย่างในองค์ธรรมทั้งหมดนั้น
------------------------------------------------
จาก ธรรมกถา ปาฐกถา เรื่อง "ข้อควรทราบเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท"
เป็นส่วนหนึ่งของธรรมบรรยายอยู่ในชุด หลักพุทธศาสนา ต้องศึกษาให้ชัด
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
http://www.youtube.com/watch?v=xZsylipHkPQ
http://www.youtube.com/watch?v=HVecAau8aIY