สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 31
อเมริกาเค้าเห็นมาเยอะครับ ประเทศที่รัฐประหารแล้วอ้างว่าปฎิรูป แต่ผลออกมา ครองอำนาจเป็น 10 ปี อย่างประเทศพม่า กว่าจะกดดันให้คืนอำนาจให้ประชาชน ก็ต้องบอยคอต กดดัน สารพัด อีกอย่าง ธุรกิจเมกาอยู่ในเมืองไทยมากมาย สมัยสงครามเวียดนาม เมกาก็มาตั้งฐานทัพในไทย ไทยอาจมองเค้าว่าเป็นมหามิตร แต่เค้าอาจมองเราเป็นลูกข่ายของเค้า เหมือนฟิลิปินส์ (ไม่อยากใช้คำว่าอนานิคม) การที่เค้ากดดันเราก็มีเหตุผลอยู่ แต่เค้าอาจคิดแบบคนตะวันตก คือพอเลือกตั้งแล้ว ทุกอย่างจบ ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินใจของประชาชน แต่ที่นี่เมืองไทย เลือกตั้งแพ้ แต่คนไม่แพ้ หาช่อง หารู ล้มรัฐบาลที่มาจากประชาชน พวกเราเห็นอย่างนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว น่าเบื่อหน่ายมากๆๆๆ ถ้าเผด็จการแล้วแก้ปัญหานี้ได้ จะอนุโมทนาสาธุเลย แต่ดูจากทรงแล้ว คงเข้าอีหรอบเดิมเหมือนตอนปี 49 เดี๋ยวโฉมหน้า ครม, สนช ออกมาก็คงรู้ ว่าจะมาแก้ปัญหา หรือมาเหยียบย่ำ ปชต
แสดงความคิดเห็น
สหรัฐไม่พอใจ Roadmap ของคสช. คำถามคือ "แล้วยังหรอ"
"เราทราบว่าพวกเขาได้แถลง สิ่งที่บอกว่าเป็นโรดแมปมุ่งสู่ประชาธิปไตย แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอ" เจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุ พร้อมย้ำวอชิงตันเชื่อว่าย่างก้าวที่ดีที่สุดคือ "กำหนดกรอบเวลาเลือกตั้งโดยเร็ว และทำให้เกิดกระบวนการเลือกตั้งที่โปร่งใสและครอบคลุม"
ในการแถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติเป็นครั้งแรกนับตั้งนำกองทัพเข้ายึดอำนาจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา บอกว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) วางแผนเพื่อผลักดันประเทศคืนสู่ประชาธิปไตยในกรอบเวลาราวๆ 15 เดือน
โดยขั้นแรก ซึ่งใช้เวลาราว 3 เดือน จะพุ่งเป้าไปที่การคืนความปรองดองของคนภายในชาติที่แตกแยกอย่างหนัก ส่วนขั้น 2 จะมีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติและคณะรัฐมนตรี รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญใหม่พร้อมทั้งตั้งสภาปฏิรูป ซึ่งน่าจะใช้เวลา 1 ปี และจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตามนางซากี บอกว่ากรอบเวลา 15 เดือนนั้นนานเกินไป แม้ว่าเธอจะไม่ได้เสนอทางเลือกอื่น "เราไม่ต้องการให้ทุกอย่างจบลงด้วยความยุ่งเหยิง แต่เราติดว่าการกำหนดกรอบเวลาในการเลือกตั้งนั้นเป็นไปไม่ได้ ไม่มีเหตุผลอะไรที่พวกเขาไม่สามารถจัดเลือกตั้งได้ในระยะเวลาอันสั้นได้"