คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ประเทศไทยต้องลดจำนวนคนทำการเกษตรครับ ยังไงก็ต้องลด เรื่องนี้เป็นภาคบังคับที่จะปฏิเสธไม่ได้หากประเทศต้องการพัฒนาขึ้นไป
ปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรของไทยนั้นใช้แรงงานถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด แต่สร้างรายได้ให้ประเทศเพียงไม่ถึง 10% ของ GDP แล้วภาครัฐยังต้องอัดฉีดเงินจำนวนมากเพื่ออุดหนุนวงการเกษตรอีก แบบนี้สภาพมันคือประเทศไทยต้องเอาเงินรายได้จากภาคการผลิตอื่นๆและภาคการบริการไปอุดหนุนภาคการเกษตร ซึ่งยังต้องมากขึ้นไปเรื่อยๆในแต่ละปี และในที่สุดมันก็จะไปถึงจุดที่ภาครัฐต้องอุดหนุนภาคการเกษตรมากกว่ารายได้ที่ภาคการเกษตรทำได้ กลายเป็นว่ายิ่งประเทศไทยทำการเกษตรยิ่งขาดทุน
คนทำการเกษตรในไทยมีราว 20 ล้านคน อย่างน้อยๆก็ควรพยายามทำให้ลดลงมาให้เหลือราว 5-10 ล้านคน
การอุดหนุนผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นจำนำพืชผลทางการเกษตรรึประกันราคาพืชผลทางการเกษตรเป็นแนวคิดที่ผิดแต่เริ่มแล้วครับ การทำแบบนี้มันคือการเอาเงินไปอุดหนุนเกษตรกรให้มีเงินมากขึ้น แต่ปัญหาที่เป็นสาเหตุให้เกษตรกรยากจนไม่ได้ถูกแก้อะไรไปเลยแม้แต่นิดเดียว เอาเงินช่วยไปเกษตรกรก็มีเงินหมดหนี้จริง แต่พอเลิกอัดเงินเข้าไปในที่สุดก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม เกษตรกรก็จะเริ่มไม่มีเงินและเกิดหนี้ขึ้นมาอีกเหมือนเดิม
อีกทั้งยิ่งอุดหนุนไป แรงงานภาคเกษตรได้เงินมาพอใจ แล้วใครจะเลิกทำการเกษตร ก็ยังพอใจกับการทำการเกษตรต่อไป การลดแรงงานภาคเกษตรยิ่งยากเย็นเข้าไปใหญ่ รัฐก็ต้องอุดหนุนต่อไปไม่สิ้นสุด
แต่นักการเมืองอาจจะชอบแบบนี้ก็ได้ เพราะมันใช้สร้างความนิยมหาคะแนนเสียง ถามเกษตรกรว่าพอใจกับโครงการมั้ยมันก็ต้องตอบว่าพอใจแน่นอนที่สุด ไม่ว่าใครได้เงินมากๆแบบไม่ผิดกฎหมายมีเหรอจะบอกไม่ดี ยิ่งทำโครงการไปเรื่อยๆเกษตรกรก็ยิ่งชอบและเทคะแนนเสียงให้ตน สำหรับนักการเมืองอะไรมันจะดีไปกว่าเอาเงินหลวงมาสร้างความนิยมให้ตัวเอง เงินตัวเองก็ไม่เสียแถมได้ประโยชน์
GDP ของไทยปี 2013 คือราวๆ 385,000 ล้านดอลล่าร์ ผลผลิตภาคการเกษตรทำรายได้ได้ 8.4% เท่ากับ 32,340 ล้านดอลล่าร์ เป็นบาทก็ราวๆ 970,200 ล้านบาท
ปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรของไทยนั้นใช้แรงงานถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด แต่สร้างรายได้ให้ประเทศเพียงไม่ถึง 10% ของ GDP แล้วภาครัฐยังต้องอัดฉีดเงินจำนวนมากเพื่ออุดหนุนวงการเกษตรอีก แบบนี้สภาพมันคือประเทศไทยต้องเอาเงินรายได้จากภาคการผลิตอื่นๆและภาคการบริการไปอุดหนุนภาคการเกษตร ซึ่งยังต้องมากขึ้นไปเรื่อยๆในแต่ละปี และในที่สุดมันก็จะไปถึงจุดที่ภาครัฐต้องอุดหนุนภาคการเกษตรมากกว่ารายได้ที่ภาคการเกษตรทำได้ กลายเป็นว่ายิ่งประเทศไทยทำการเกษตรยิ่งขาดทุน
คนทำการเกษตรในไทยมีราว 20 ล้านคน อย่างน้อยๆก็ควรพยายามทำให้ลดลงมาให้เหลือราว 5-10 ล้านคน
การอุดหนุนผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นจำนำพืชผลทางการเกษตรรึประกันราคาพืชผลทางการเกษตรเป็นแนวคิดที่ผิดแต่เริ่มแล้วครับ การทำแบบนี้มันคือการเอาเงินไปอุดหนุนเกษตรกรให้มีเงินมากขึ้น แต่ปัญหาที่เป็นสาเหตุให้เกษตรกรยากจนไม่ได้ถูกแก้อะไรไปเลยแม้แต่นิดเดียว เอาเงินช่วยไปเกษตรกรก็มีเงินหมดหนี้จริง แต่พอเลิกอัดเงินเข้าไปในที่สุดก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม เกษตรกรก็จะเริ่มไม่มีเงินและเกิดหนี้ขึ้นมาอีกเหมือนเดิม
อีกทั้งยิ่งอุดหนุนไป แรงงานภาคเกษตรได้เงินมาพอใจ แล้วใครจะเลิกทำการเกษตร ก็ยังพอใจกับการทำการเกษตรต่อไป การลดแรงงานภาคเกษตรยิ่งยากเย็นเข้าไปใหญ่ รัฐก็ต้องอุดหนุนต่อไปไม่สิ้นสุด
แต่นักการเมืองอาจจะชอบแบบนี้ก็ได้ เพราะมันใช้สร้างความนิยมหาคะแนนเสียง ถามเกษตรกรว่าพอใจกับโครงการมั้ยมันก็ต้องตอบว่าพอใจแน่นอนที่สุด ไม่ว่าใครได้เงินมากๆแบบไม่ผิดกฎหมายมีเหรอจะบอกไม่ดี ยิ่งทำโครงการไปเรื่อยๆเกษตรกรก็ยิ่งชอบและเทคะแนนเสียงให้ตน สำหรับนักการเมืองอะไรมันจะดีไปกว่าเอาเงินหลวงมาสร้างความนิยมให้ตัวเอง เงินตัวเองก็ไม่เสียแถมได้ประโยชน์
GDP ของไทยปี 2013 คือราวๆ 385,000 ล้านดอลล่าร์ ผลผลิตภาคการเกษตรทำรายได้ได้ 8.4% เท่ากับ 32,340 ล้านดอลล่าร์ เป็นบาทก็ราวๆ 970,200 ล้านบาท
แสดงความคิดเห็น
ทำไม แรงงานไทย อยู่ภาคการเกษตร 41.1 % แต่มีผลิตผล (GDP) แค่ 8.4 % ของ GDP รวม
เป็นการใช้แรงงานที่ไม่ค่อยคุ้มค่ารึเปล่าครับ
กับ มูลค่าเศรษฐกิจที่ได้
รัฐควรออกนโยบาย จำกัด ปริมาณเกษตรกร แบบประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ รึยังครับ
แล้วเอาเงินที่ต้องอุดหนุน ภาคการเกษตร ไป อุดหนุน ภาคอุตสาหกรรม และ การบริการ แทน
จะทำให้ มูลค่าทางเศรษฐกิจของไทย ดีขึ้นกว่านี้ไหมครับ