14 ตุลา (อาจารย์สัญญา) กับ มาตรา 7 (กปปส.) ความไม่เหมือนที่แตกต่าง (รับความจริงไม่ได้อย่าอ่าน)

ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมวิเคราะห์และจับมาโยงรวมกันเพื่อหาเหตุผล ไม่รู้ถูกไหมนะครับ
ผมจะแบ่งเหตุการณ์ที่จะเล่าออกเป็น 2 ยุค คือ 1. ยุค 14 ตุลาคม 2516    2. ยุค ณ ปัจจุบัน
ยุค 14 ตุลาคม 2516
1. 14 ตุลาคม 2516 เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพล ถนอม กิตติขจร (เหตุการณ์เป็นอย่างไร น่าจะทราบกันดี ไม่ก็ลองเปิดดูในเว็บแล้วจะรู้ว่าคนห้าแสนคนของจริงเป็นแบบไหน) ขอขอบคุณ Wikipedia
2. ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ลาออกตำแหน่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งนายสัญญา ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
3.    การแต่งตั้งอาจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์ มีข้อเท็จจริงดังนี้
3.1 เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ลาออกตำแหน่ง ทำให้เกิด “สุญญากาศทางรัฐบาล” สมัยนั้นธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ มี ๒๓ มาตรา เมื่อนายกลาออกกฎหมายไม่ได้บอกว่าต้องทำอย่างไร
3.2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้ง อาจารย์สัญญา เป็นนายก ตามคำแนะนำของสภานิติบัญญัติ
ถามว่าทำได้หรือไม่   ตอบ   ทำได้ไม่ได้อ่านเอาเอง
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕
"มาตรา ๒๒ : ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวแก่การวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัย ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยชี้ขาด"
3.3 ถามว่าทำไมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงเลือกวิธีแต่งตั้งอาจารย์สัญญา  ตอบว่าผมคิดว่าน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในสมัยนั้น  คือ กฎหมายเปิดช่อง  บวกกับเป็นการแก้สุญญากาศทางรัฐบาล   บวกกับประชาชนเกือบทั้งประเทศไม่เอาจอมพลถนอม จริงๆ บวกกับ (ณ ตอนนั้น คงเกิดการเลือกตั้งได้ยาก เพราะโดนทหารยึดอำนาจมานาน ก่อนหน้านั้นคงไม่มีพรรคไหนจะสู้จอมพลถนอมที่เป็นเผด็จการทหาร  อันนี้คิดเอง)

ยุคที่สอง ยุคปัจจุบัน หรือยุคมาตรา 7 ฟีเวอร์
สั้นๆเลยละกัน  ความต่างมันต่างกันตรงที่
1.    กฎหมายระบุชัดให้รีบๆเลือกตั้ง (อันนี้ตอบโจทย์ที่สุด)
2.    สมัยนี้มีกฎหมายรองรับหลายชั้นไม่ให้เกิดสุญญากาศ
3.    สามารถเกิดการเลือกตั้งได้ง่าย
4.    ประชาชนส่วนใหญ่อยากเลือกตั้ง (ไม่เชื่อ ลองใช้วิธีเลือกตั้ง      ว่าคนจะไปเลือกตั้ง  กับคนจะไม่ไปเลือกตั้ง อันไหนเยอะกว่า  ไม่งงใช่ม่ะ)
5.    มาตรา 7 ปัจจุบัน ระบุชัดว่าให้ทำตามบทบัญญัติก่อน
6.    สมัยก่อนเรียกร้องเปลี่ยนเผด็จการเป็นประชาธิปไตย  สมัยนี้เรียกร้องเปลี่ยนประชาธิปไตยเป็นเผด็จการ  งงสาส! จะบอกว่ามันคนละยุค  คนละอย่างกัน  แถมคนละกฎหมาย มาเหมารวมอีกและ
7.    ข้อนี้สำคัญว่านายกมาตรา 7 จะเกิดขึ้นได้ไหม  ลองหาฟังดูสำหรับคนบางจำพวกที่ไม่รับข่าวสารด้านอื่น
“จะขอนายกพระราชทานไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษพูด แบบมั่ว แบบไม่มี ไม่มีเหตุมีผล” พระราชดำรัสในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่  ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล  วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549 (ทรงพระเจริญ)   http://www.youtube.com/watch?v=MyG1J_xGquo
ขอขอบพระคุณ youtube   หวังว่าจะหาฟังแบบเต็มๆกันนะจะได้ชัด  แปะให้ทีทำไม่เป็น  

ผิดตรงไหนเพิ่มเติมอะไรบอกด้วยนะ อยากได้ความรู้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่