ประสิทธิ์ ณรงค์เดช (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2541) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี และ พี่ชายของภรรยา คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
คุณลุงประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ที่บ้านถนนพรหมราช อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีฐานะ เป็นบุตรชายของนายเปี้ยน และนางเฮียง ณรงค์เดช จบการศึกษาขั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ และต่อช้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดศรีทอง ภายในอำเภอเมือง และได้ย้ายมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ในกรุงเทพมหานคร และจบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบการศึกษาขั้นปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนายกสโมสรนิสิตุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นทหารเป็นเวลาหนึ่งปี ได้รับยศร้อยตรี (ร.ต.) จากนั้นได้ไปศึกษาต่อและทำงานยังสหรัฐอเมริกา จบปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส รัฐเท็กซัส
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เกษรี ณรงค์เดช มีบุตร 1 คน
นายประสิทธิ์ ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงการเมือง ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเป็นหนึ่งในกลุ่มนิสิตและนักศึกษาที่ก่อตั้ง สมาพันธ์นักศึกษาห้าสถาบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการชุมนุมประท้วงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ที่ได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่ทุจริตอย่างกว้างขวางในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนที่จะมีการรัฐประหารโดย พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปีเดียวกัน และเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัวหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังใหม่ โดยมี น.พ.กระแส ชนะวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค นายประสิทธิ์ได้ลงรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2518 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ต่อมาในรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายประสิทธิ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติและประธานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในสมัยรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2520
ในปี พ.ศ. 2522 นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับการเลือกตั้งทำให้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์[2] หลังจากปี พ.ศ. 2526 นายประสิทธิ์ได้ยุติบทบาททางการเมืองลง แต่อีกหลายปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2530 เขาเข้ามามีบทบาทในฐานะเลขาธิการพรรคกิจประชาคม[3] ซึ่งมี บุญชู โรจนเสถียร เป็นหัวหน้าพรรค
ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคนำไทย และได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงวาระที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีได้ยุบสภาเมื่อปี พ.ศ. 2539 บทบาททางการเมืองของนายประสิทธิ์จึงได้ยุติลง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ
ด้านธุรกิจ นายประสิทธิ์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทอนามัยภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ด้วยการร่วมหุ้นกันในหมู่เครือญาติตระกูลณรงค์เดช จำหน่ายและนำเข้าสินค้าประเภทผ้าอนามัยและกระดาษชำระจากสหรัฐอเมริกา เครื่องสำอางค์นีเวีย จาก เยอรมัน และยังก่อตั้งอีกหลายบริษัท เช่น บริษัทประสิทธิ์อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อปี พ.ศ. 2513, บริษัทบีดีเอฟ-อินทนิล เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นผู้ผลิตพลาสเตอร์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากประเทศเยอรมนี และบริษัทสุราทิพย์ในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้ผลิตสุราไทยยี่ห้อต่าง ๆ
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช
คุณลุงประสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ที่บ้านถนนพรหมราช อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีฐานะ เป็นบุตรชายของนายเปี้ยน และนางเฮียง ณรงค์เดช จบการศึกษาขั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ และต่อช้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดศรีทอง ภายในอำเภอเมือง และได้ย้ายมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ในกรุงเทพมหานคร และจบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบการศึกษาขั้นปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนายกสโมสรนิสิตุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นทหารเป็นเวลาหนึ่งปี ได้รับยศร้อยตรี (ร.ต.) จากนั้นได้ไปศึกษาต่อและทำงานยังสหรัฐอเมริกา จบปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส รัฐเท็กซัส
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เกษรี ณรงค์เดช มีบุตร 1 คน
นายประสิทธิ์ ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงการเมือง ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเป็นหนึ่งในกลุ่มนิสิตและนักศึกษาที่ก่อตั้ง สมาพันธ์นักศึกษาห้าสถาบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการชุมนุมประท้วงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ที่ได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่ทุจริตอย่างกว้างขวางในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก่อนที่จะมีการรัฐประหารโดย พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปีเดียวกัน และเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัวหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังใหม่ โดยมี น.พ.กระแส ชนะวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค นายประสิทธิ์ได้ลงรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2518 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ต่อมาในรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายประสิทธิ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติและประธานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในสมัยรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2520
ในปี พ.ศ. 2522 นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับการเลือกตั้งทำให้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์[2] หลังจากปี พ.ศ. 2526 นายประสิทธิ์ได้ยุติบทบาททางการเมืองลง แต่อีกหลายปีต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2530 เขาเข้ามามีบทบาทในฐานะเลขาธิการพรรคกิจประชาคม[3] ซึ่งมี บุญชู โรจนเสถียร เป็นหัวหน้าพรรค
ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 นายประสิทธิ์ได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคนำไทย และได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งถึงวาระที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีได้ยุบสภาเมื่อปี พ.ศ. 2539 บทบาททางการเมืองของนายประสิทธิ์จึงได้ยุติลง เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ
ด้านธุรกิจ นายประสิทธิ์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทอนามัยภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ด้วยการร่วมหุ้นกันในหมู่เครือญาติตระกูลณรงค์เดช จำหน่ายและนำเข้าสินค้าประเภทผ้าอนามัยและกระดาษชำระจากสหรัฐอเมริกา เครื่องสำอางค์นีเวีย จาก เยอรมัน และยังก่อตั้งอีกหลายบริษัท เช่น บริษัทประสิทธิ์อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อปี พ.ศ. 2513, บริษัทบีดีเอฟ-อินทนิล เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นผู้ผลิตพลาสเตอร์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากประเทศเยอรมนี และบริษัทสุราทิพย์ในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้ผลิตสุราไทยยี่ห้อต่าง ๆ