ความหมายของคำว่า "ธรรมเอก" และ "อินทรีย์" ตามหลักทางตำราที่ตรงกับทางปฏิบัติจริง...

หลายๆคน อาจจะเคยอ่านเจอในตำรา เช่น สำนวนว่า  "มีสติเป็นธรรมเอก.."  บ้าง .. หรือ "มีสมาธิเป็นธรรมเอก.."  บ้าง...หรืออื่นๆอีกบ้างทำนองเดียวกันนั้น ฯ ..

ส่วนความหมายของคำว่า "อินทรีย์"  หลายๆคนคงจะรู้อยู่แล้วว่า หมายถึง  ความเป็นใหญ่....

คงจะเดาออกกันว่า   ที่จะเอามาพูดในกรณีนี้  หมายถึง  พละทั้ง ๕ หรือ อินทรีย์ทั้ง ๕ คือ  ศรัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา

-------------------------

ความหมายของคำว่า  ธรรมเอก  ที่ยกมาเป็นประเด็นแรกของกระทู้

เช่น ถ้าเราเจอสำนวนว่า  มีสติเป็นธรรมเอก  นั่นหมายถึงว่า ในตอนนั้น  สติ จะมีพลังสูงสุดเหนือว่าเจตสิกอื่นๆอีก ๔ ตัวที่เหลือในชุดนั้น ในขณะนั้น  ในอรรถกถาพระอภิธรรม ท่านเปรียบเทียบว่า   เปรียบเสมือนบนท้องฟ้ายามกลางคืน ตอนนั้น มีดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นดวงสว่างที่สุดเพียงดวงเดียว  ดวงดาวอื่นๆที่เหลือทั้งหมด  มีแสงริบรี่ นิดๆ....

แต่ถ้าเมื่อใดพลังของเจตสิกทั้ง ๕ นั้น  มีพลังเด่นดวงสว่างเท่าๆกันหมด  ตอนนั้นก็จะเรียกว่า อินทรีย์  เปรียบเสมือนบนท้องฟ้าตอนนั้น  มีดวงจันทร์เต็มดวง  ขึ้นมาลอยเด่นดวงพร้อมๆกัน ๕ ดวง

เมื่อใดอริยมรรคปรากฏ  เมื่อนั้น พลังทั้ง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา  จะมีพลังสูงสุด สม่ำเสมอ เท่าๆกันหมด  ... ถ้ามีพลังเด่นไม่ครบพร้อมกันทั้ง ๕  อริยมรรคจะเกิดไม่ได้...  

ดังนั้น ในตำรา จึงบอกว่า ให้ผู้ฝึกพยายามปรับอินทรีย์ ให้สม่ำเสมอกัน  ก็ต้องเข้าใจว่า หมายถึงมีพลังสูงสุดเท่าๆกันทั้ง ๕  

แต่ โดยทั่วไป  กว่าจะฝึกให้ถึงจุดที่มีพลังสูงสุดสม่ำเสมอได้  ก็ต้องฝึกไปทีละตัวก่อน  เช่น ฝึกสมาธิจนชำนาญ จนมีสมาธิโดดเด่นมากๆ ก่อนอื่น(ที่เรียกว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอก นั่นแหละ) แล้วฝึกตัวอื่นๆที่เหลืออีก ๔  แล้วค่อยหาวิธีปรับให้สม่ำเสมอเท่าๆกัน ... ทำนองเดียวกับนักมวย  ขั้นแรก ก็ฝึกพลังหมัด  ฝึกต่อยอย่างเดียวก่อนสักเดือนสองเดือน  เมื่อต่อยจนชำนาญ  ต่อไปก็ไปฝึกการเตะ  เตะๆๆ จนชำนาญ  ต่อไปก็ไปฝึกตีเข่า  ตีๆๆ จนชำนาญ ต่อไปก็ไปฝึกตีศอก  ตีๆๆ จนชำนาญ  ..ต่อจากนั้นก็ขึ้นเวทีได้  คราวนี้ก็เอา หมัด เท้า เข่า  ศอก  มาผสมกันให้สมบูรณ์ เพื่อน๊อคเอ๊าต์คู่ต่อสู้ลงให้ได้...

สรุป..ง่ายๆคือ ..ถ้าเด่นตัวใดตัวหนึ่งตัวเดียว  ท่านก็เรียกว่ามีตัวนั้นเป็นธรรมเอก  ..ถ้าเด่นพร้อมๆกันทั้ง ๕ ท่านจะเรียกว่า อินทรีย์ ...

    (ฟังจากเทปบรรยายพระอภิธรรมมา  พอดีเอามาพิจารณาว่า  ตรงกับในความจริงจากการปฏิบัติ  จึงเอามาบอกกัน   ขยายความเพิ่มอีกนิดหน่อย  เพื่อให้บางคนเข้าใจง่ายขึ้น)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่