มีหลายท่านเคยนำเสนอเรื่องนี้ ผมขอรีวิวใหม่ด้วยคนครับ
จิตที่เป็นสมาธิ คือจิตที่สามารถละนิวรณ์ห้าได้ จิตก็จะเข้าสู่ฌาน
(นิวรณ์ห้า ก็ประกอบด้วย กามฉันทะ คิดหมกมุ่นในกาม, พยาบาท ผูกโกรธ, ถีนมิทธะ ง่วงหงาว หาวนอน, อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่าน , วิจิกิจฉา ลังเลสงสัย)
รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
1. ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
2. ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
3. ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
4. จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
- จิตที่เป็นสมาธิ หรือจะเรียกว่า สมาธิจิตก็ได้ มีตั้งแต่ระดับอ่อนๆ ไปจนถึงระดับ ฌาน ตำราเขาก็ว่าใว้อย่างที่ผมยกมา
- การทำสมถะถึงจะไม่ใช่เป้าหมายหลักของพทธศาสนา แต่ สมถะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะทำให้การทำวิปัสสนาได้ผล เดี่ยวค่อยคุยกันตอนหลัง
- เรามาว่ากันแบบสามารถทดลองทำกัน
- สมาธิจิต เกิดจาก สติบริสุทธิ เมื่อจิตมีสติกับสิ่งไดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือจิต เกาะกับสิ่งไดสิ่งหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้จิตเป็นสมาธิ
- ว่าโดยย่อ ก็คือ สติบริสุทธิ ก็จะกลายเป็นสมาธิ
- ในหนังสือวิสุทธิมรรค มีให้เลือกกรรมฐานถึง 40 กอง
มีผู้นิยมเอามาปฏิบัติ เช่น การทำอานาปานสติ , กสิณ เป็นต้น
การทำอานาปานสติ ก็คือ เอาสติกับลมหายใจเข้าออก ซึ่งสติ แปลว่า ระลึกได้ เมื่อลมผ่านเข้าออก จิตระลึกได้ ว่า สิ่งนี้เคยเกิดมาก่อน ดังนั้นเมื่อลมผ่านเข้าออก ก็จะเกิดสติ ระลึกได้
เหมือนการฝึก การดูจิต เมื่อจิตโกรธ เราก็ฝึก ซ้ำๆ จนจิตจำได้ เมื่อเกิดจิตโกรธ จิตก็จะมีสติ ระลึกได้ว่านี้จิตโกรธ
ในพระสูตร จะกล่าวสั้นว่า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า แค่นั้น ส่วนเรืองรู้ลมสั้น ลมยาว ค่อยว่ากัน เราเอาเฉพาะ สมาธิจิตล้วนๆก่อน เมื่อสติบริสุทธิ์ คือจิตมีสติอยู่ที่ลมหมายใจอย่างเดียว
ก็เรียกว่า เป็นเอกคตาจิต จิตก็เป็นสมาธิ เมื่อเป็นมากๆขึ้นก็เข้าสู่ องค์ปฐมฌาน เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ
ในการเพ่งกสิณ อันนี้ก็เหมือน การฝึกดูจิต หลักการเดียวกัน เมื่อเราเพ่งดวงกระสิณ เช่นกสิณสีแดง เราเพ่งกระดาษวงกลมสีแดง อันนี้ดูจาก ยูทูป ได้เขาทำใว้ดีมาก เพ่งแล้ว หลักตา นึกถึงวงกลมที่เพ่ง จิตมันยังจำไม่ได้ เพ่งจนจำได้ เมื่อหลับตาก็จะเห็นวงกลมนั้น แรกๆ ก็เป็นสีเขียวเรื่อๆ จะคงอยู่ตราบที่เรายังมีจิตเป็นสมาธิ ถ้าจิตมีสมาธิมากขึ้นก็จะสามารถบังคับ
ขนาดดวงกสิณ และบังคับเปลียนสีได้ ก็เรียกว่า จิตเป็นสมาธิ
ความหมายก็คือจิต มีสติระลึกได้ถึง ภาพดวงกสิณที่เกิดขึ้นในใจ จิตที่มีสติกับดวงกสิณอย่างเดียว ก็จะเป็นเอกคตาจิต จิตก็เป็นสมาธิ
การบริกรรม เช่น หายใจเข้าพุท ออกโธ ก็สมารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้ หลวงพ่อพุท ท่านก็ได้อธิบายใว้ ท่านอธิบาย บริกรรมคำอื่นก็ได้ที่ทำให้ใจจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมนั้น
- แล้วปัญหาว่า เราจะทำสมาธิให้ถึงฌานได้อย่างไร
- ก็ต้องตอบว่า ยากมากๆ
การเพ่งกสิณจะมีตัวดวงกสิณเป็น ตัว แสดงผลให้เราเห็นชัดๆ เลยว่าตราบไดที่ยังเห็นดวงกสิณอยู่ตราบนั้นจิตก็เป็นสมาธฺิ
การทำอานาปานสติ ยากมากๆ เราไม่มีตัวแสดงผลเลย นั่งเป็นชั่วโมงๆ ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตท่านเป็นสมาธิ ใจลอยกี่ครั้ง ทุกครั้งที่ใจลอย ก็ต้องมาตั้งต้นใหม่
การทำอานาปานสติ ตามพระสูตรยิ่งยาก ต้อง ทำทั้งสติจากลมหายใจ และทำสัมปชัญญะ ไม่เหมือน กสิณ ทำแต่ สติกับดวงกสิณ
ถ้าเราสามารถทำสมาธิ ให้ถึงฌานได้ น่าจะเลือก การเพ่งกสิณ ก่อน เมื่อชำนาญ เราก็ทำคู่กับการทำอานาปานสติ เพราะ เราต้องการให้เกิดสัมปชัญญะด้วย จะได้เป็นสัมมาสมาธิ
มีบางคนเข้าใจว่า การตั้งใจ ก็เป็นสมาธิ อันนี้ ถ้าความหมายตามศาสนาพุทธ ไม่น่าใช่
ตัวอย่าง เช่น ตั้งใจเล่นเกมส์ ตั้งใจอ่านหนังสือ ตั้งใจขับรถ คิดดูว่า จิตที่ขณะนั้น ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเอกคตาจิตได้เลย จิตจะวิ่งไปตามบทนั้น เข่น การเล่นเกมส์ จิตต้องเตรียมพร้อมที่จะ วิ่งไปตามเกมส์ มีหลบ มีกระโดด พอไม่ได้ดังใจ จิตก็เต็มไปด้วย ความโกรธ แม้แต่การอ่านหนังสือ จิตต้องวิ่งไปตามตัวหนังสือ ไม่เป็นเอกคตาจิตเลย
การดูจิตละ ถ้าท่านเป็นนักดูจิตจะรู้ดี การดูจิตมักจะเอาใจลอยเป็นหลัก ใจลอยก็รู้ มีสติรู้ว่า จิตหลง ใจลอยก็คือจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านก็คือนิวรณ์นั้นเอง จิตจะวนไปเรื่อยๆ ไม่เป็นเอกคตาจิต
ในสมัยพุทธกาล มีคนตั้งใจฟังเทศนา ของพระพุทธองค์ ได้บรรลุธรรม ตอนนั้น จิตเขาเป็นสมาธิหรือเปล่า การบรรลุธรรม นั้นจิตต้องเป็นสมาธิพอสมควร ถ้าเราฟังพระสูตร ในพระสูตร บางครั้ง คำเทศนาจะเป็นการกล่าวซ้ำๆ เพื่อย้ำให้จิต นิ่งพอ หรือบางครั้งการเข้าฟังจากพระโอฐ อาจทำให้ตรึงจิตให้เป็นสมาธิได้เพราะแรงศรัทธา แต่การบรรลุธรรม นั้นตัวที่เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม ไม่ใช่จิต ตัวญาณต่างหาก จิตที่นิ่งจะส่งให้ตัวญาณ เกิดการรับรู้ใด้ชัดขึ้น
เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะมีประโยชน์ในการบรรลุธรรม จากพระสูตร
[๑๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
- การบรรลุธรรม ไม่ใช่ชองง่ายเลย มันเป็นปริญญา ของทางพุทธศาสนา เป็นหัวใจหลักของศาสนา
- ถ้าจิตที่เป็นสมาธิไม่มากก็น้อย ย่อมมีประโยชน์ในการโน้มน้อมจิต เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ
การทำสมาธิให้เป็นสัมมาสมาธินั้น ตอนนี้จะไม่พูดถึงเพราะจะยาวไป
เอาเป็นการทำความเข้าใจ คำว่า จิตเป็นสมาธิ เท่านั้น
คำถาม แล้วท่านละคำว่า จิตเป็นสมาธิ มีความหมายอย่างไร
จิตที่เป็นสมาธิ มีความหมายอย่างไร
จิตที่เป็นสมาธิ คือจิตที่สามารถละนิวรณ์ห้าได้ จิตก็จะเข้าสู่ฌาน
(นิวรณ์ห้า ก็ประกอบด้วย กามฉันทะ คิดหมกมุ่นในกาม, พยาบาท ผูกโกรธ, ถีนมิทธะ ง่วงหงาว หาวนอน, อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่าน , วิจิกิจฉา ลังเลสงสัย)
รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
1. ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
2. ทุติยฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
3. ตติยฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
4. จตุตถฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
- จิตที่เป็นสมาธิ หรือจะเรียกว่า สมาธิจิตก็ได้ มีตั้งแต่ระดับอ่อนๆ ไปจนถึงระดับ ฌาน ตำราเขาก็ว่าใว้อย่างที่ผมยกมา
- การทำสมถะถึงจะไม่ใช่เป้าหมายหลักของพทธศาสนา แต่ สมถะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะทำให้การทำวิปัสสนาได้ผล เดี่ยวค่อยคุยกันตอนหลัง
- เรามาว่ากันแบบสามารถทดลองทำกัน
- สมาธิจิต เกิดจาก สติบริสุทธิ เมื่อจิตมีสติกับสิ่งไดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือจิต เกาะกับสิ่งไดสิ่งหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้จิตเป็นสมาธิ
- ว่าโดยย่อ ก็คือ สติบริสุทธิ ก็จะกลายเป็นสมาธิ
- ในหนังสือวิสุทธิมรรค มีให้เลือกกรรมฐานถึง 40 กอง
มีผู้นิยมเอามาปฏิบัติ เช่น การทำอานาปานสติ , กสิณ เป็นต้น
การทำอานาปานสติ ก็คือ เอาสติกับลมหายใจเข้าออก ซึ่งสติ แปลว่า ระลึกได้ เมื่อลมผ่านเข้าออก จิตระลึกได้ ว่า สิ่งนี้เคยเกิดมาก่อน ดังนั้นเมื่อลมผ่านเข้าออก ก็จะเกิดสติ ระลึกได้
เหมือนการฝึก การดูจิต เมื่อจิตโกรธ เราก็ฝึก ซ้ำๆ จนจิตจำได้ เมื่อเกิดจิตโกรธ จิตก็จะมีสติ ระลึกได้ว่านี้จิตโกรธ
ในพระสูตร จะกล่าวสั้นว่า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า แค่นั้น ส่วนเรืองรู้ลมสั้น ลมยาว ค่อยว่ากัน เราเอาเฉพาะ สมาธิจิตล้วนๆก่อน เมื่อสติบริสุทธิ์ คือจิตมีสติอยู่ที่ลมหมายใจอย่างเดียว
ก็เรียกว่า เป็นเอกคตาจิต จิตก็เป็นสมาธิ เมื่อเป็นมากๆขึ้นก็เข้าสู่ องค์ปฐมฌาน เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ
ในการเพ่งกสิณ อันนี้ก็เหมือน การฝึกดูจิต หลักการเดียวกัน เมื่อเราเพ่งดวงกระสิณ เช่นกสิณสีแดง เราเพ่งกระดาษวงกลมสีแดง อันนี้ดูจาก ยูทูป ได้เขาทำใว้ดีมาก เพ่งแล้ว หลักตา นึกถึงวงกลมที่เพ่ง จิตมันยังจำไม่ได้ เพ่งจนจำได้ เมื่อหลับตาก็จะเห็นวงกลมนั้น แรกๆ ก็เป็นสีเขียวเรื่อๆ จะคงอยู่ตราบที่เรายังมีจิตเป็นสมาธิ ถ้าจิตมีสมาธิมากขึ้นก็จะสามารถบังคับ
ขนาดดวงกสิณ และบังคับเปลียนสีได้ ก็เรียกว่า จิตเป็นสมาธิ
ความหมายก็คือจิต มีสติระลึกได้ถึง ภาพดวงกสิณที่เกิดขึ้นในใจ จิตที่มีสติกับดวงกสิณอย่างเดียว ก็จะเป็นเอกคตาจิต จิตก็เป็นสมาธิ
การบริกรรม เช่น หายใจเข้าพุท ออกโธ ก็สมารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้ หลวงพ่อพุท ท่านก็ได้อธิบายใว้ ท่านอธิบาย บริกรรมคำอื่นก็ได้ที่ทำให้ใจจดจ่ออยู่กับคำบริกรรมนั้น
- แล้วปัญหาว่า เราจะทำสมาธิให้ถึงฌานได้อย่างไร
- ก็ต้องตอบว่า ยากมากๆ
การเพ่งกสิณจะมีตัวดวงกสิณเป็น ตัว แสดงผลให้เราเห็นชัดๆ เลยว่าตราบไดที่ยังเห็นดวงกสิณอยู่ตราบนั้นจิตก็เป็นสมาธฺิ
การทำอานาปานสติ ยากมากๆ เราไม่มีตัวแสดงผลเลย นั่งเป็นชั่วโมงๆ ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตท่านเป็นสมาธิ ใจลอยกี่ครั้ง ทุกครั้งที่ใจลอย ก็ต้องมาตั้งต้นใหม่
การทำอานาปานสติ ตามพระสูตรยิ่งยาก ต้อง ทำทั้งสติจากลมหายใจ และทำสัมปชัญญะ ไม่เหมือน กสิณ ทำแต่ สติกับดวงกสิณ
ถ้าเราสามารถทำสมาธิ ให้ถึงฌานได้ น่าจะเลือก การเพ่งกสิณ ก่อน เมื่อชำนาญ เราก็ทำคู่กับการทำอานาปานสติ เพราะ เราต้องการให้เกิดสัมปชัญญะด้วย จะได้เป็นสัมมาสมาธิ
มีบางคนเข้าใจว่า การตั้งใจ ก็เป็นสมาธิ อันนี้ ถ้าความหมายตามศาสนาพุทธ ไม่น่าใช่
ตัวอย่าง เช่น ตั้งใจเล่นเกมส์ ตั้งใจอ่านหนังสือ ตั้งใจขับรถ คิดดูว่า จิตที่ขณะนั้น ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นเอกคตาจิตได้เลย จิตจะวิ่งไปตามบทนั้น เข่น การเล่นเกมส์ จิตต้องเตรียมพร้อมที่จะ วิ่งไปตามเกมส์ มีหลบ มีกระโดด พอไม่ได้ดังใจ จิตก็เต็มไปด้วย ความโกรธ แม้แต่การอ่านหนังสือ จิตต้องวิ่งไปตามตัวหนังสือ ไม่เป็นเอกคตาจิตเลย
การดูจิตละ ถ้าท่านเป็นนักดูจิตจะรู้ดี การดูจิตมักจะเอาใจลอยเป็นหลัก ใจลอยก็รู้ มีสติรู้ว่า จิตหลง ใจลอยก็คือจิตฟุ้งซ่าน จิตฟุ้งซ่านก็คือนิวรณ์นั้นเอง จิตจะวนไปเรื่อยๆ ไม่เป็นเอกคตาจิต
ในสมัยพุทธกาล มีคนตั้งใจฟังเทศนา ของพระพุทธองค์ ได้บรรลุธรรม ตอนนั้น จิตเขาเป็นสมาธิหรือเปล่า การบรรลุธรรม นั้นจิตต้องเป็นสมาธิพอสมควร ถ้าเราฟังพระสูตร ในพระสูตร บางครั้ง คำเทศนาจะเป็นการกล่าวซ้ำๆ เพื่อย้ำให้จิต นิ่งพอ หรือบางครั้งการเข้าฟังจากพระโอฐ อาจทำให้ตรึงจิตให้เป็นสมาธิได้เพราะแรงศรัทธา แต่การบรรลุธรรม นั้นตัวที่เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม ไม่ใช่จิต ตัวญาณต่างหาก จิตที่นิ่งจะส่งให้ตัวญาณ เกิดการรับรู้ใด้ชัดขึ้น
เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะมีประโยชน์ในการบรรลุธรรม จากพระสูตร
[๑๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
- การบรรลุธรรม ไม่ใช่ชองง่ายเลย มันเป็นปริญญา ของทางพุทธศาสนา เป็นหัวใจหลักของศาสนา
- ถ้าจิตที่เป็นสมาธิไม่มากก็น้อย ย่อมมีประโยชน์ในการโน้มน้อมจิต เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ
การทำสมาธิให้เป็นสัมมาสมาธินั้น ตอนนี้จะไม่พูดถึงเพราะจะยาวไป
เอาเป็นการทำความเข้าใจ คำว่า จิตเป็นสมาธิ เท่านั้น
คำถาม แล้วท่านละคำว่า จิตเป็นสมาธิ มีความหมายอย่างไร