[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผมนั่งสมาธิมาตั้งแต่ 10 ขวบ จนตอนนี้ อายุ 40+ ปี ก็ยังนั่งอยู่
แนวทางแบบอาณาปาณสติ จับการยุบ-พอง ตรงท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ 2 นิ้ว) และบริกรรมว่า ยุบหนอ-พองหนอ
แต่ไม่ค่อยพัฒนาเท่าไร อาจเกิดจากการใช้ชีวิตทางโลกที่ค่อนข้างวุ่นวาย เลยทำให้จิตเป็นสมาธิยากกว่าปกติด้วยครับ
แต่ช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ลองใช้การเพ่งกสิณดู กลับพบว่าจริตผมถูกกับการเพ่งกสิณมากกว่า
เลยจะมาลองแนะนำ เผื่อใครทำอาณาปาณสติได้ยาก อาจจะลองเพ่งกสิณดู เผื่อจะทำได้ดีกว่าครับ
1. อาณาปาณสติ วัดผลยาก ว่าจิตเรานิ่งหรือไม่
พออารมณ์นิ่ง จิตก็มักจะสงสัยว่าใช่อารมณ์นี้หรือเปล่า สุดท้ายก็เลยหลุดจากอารมณ์นั้นตลอด
แต่การเพ่งกสิณ อารมณ์ที่นิ่ง คือการนึกถึงภาพได้ชัดเจน ก็เลยไม่ต้องสงสัยอะไร ทำให้จิตนิ่งกว่า
2. ผมมีความอยากรู้เรื่องฤทธิ์ เลยทำให้มีความกระตือรือร้นอยากฝึกมากกว่าอาณาปาณสติ
เป็นความอยากรู้นะครับ ไม่ใช่อยากได้จนเกิดกิเลส
ดังนั้น พอเวลาว่าง ก็ทำตลอดเวลา ไม่ว่าจะขับรถ นั่งพัก หลังตื่นนอน ก่อนนอน
ไม่เหมือนอาณาปาณสติ ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นฝึกเท่าไร
เข้าเรื่องการแนะนำวิธีการ ซึ่งเป็นวิธีส่วนตัวของผม โดยเพ่งแสงสว่าง (อาโลกสิณ)
เนื่องจากก่อนหน้านี้ ไม่ได้ลองฝึกกสิณเพราะว่าความยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์ ค่อนข้างวุ่นวาย
และเราไม่ได้มีเวลาว่างพอที่จะมาจัดเตรียมเพื่อเพ่งกสิณเป็นกิจจะลักษณะ เลยทำให้ไม่เคยคิดจะฝึกจริงจังเสียที
ต่างจากอาณาปาณสติ จะทำตอนใหนก็ได้ ก่อนนอน 10 นาทีก็ทำได้ หลังตื่นนอน 10 นาทีก็ทำได้
แต่ตอนนี้ผมแก้ไขโดยการเพ่งกสิณ จากดวงไฟจากหลอดไฟเอาครับ
(เคยลองเพ่งภาพวงกลมสีขาวจากคอมพิวเตอร์ ไม่ค่อยเกิดภาพจำเท่าไรครับ สู้จากดวงไฟไม่ได้)
การฝึกที่ทำให้ผมพัฒนาดีที่สุดตอนนี้ คือช่วงเวลาขับรถครับ เพราะเราเสียเวลาอยู่บนถนนแต่ละวันนานมาก
ทำให้มีเวลาได้ฝึกทุกวัน วันละเกือบ 2 ชั่วโมง
ดวงไฟที่ใช้นึกให้เกิดภาพจำ คือดวงไฟจากไฟหน้ารถที่วิ่งสวนมา (เลือกไฟที่เป็นแสงจ้าสีขาว), ดวงไฟจากไฟสปอตไลท์ริมถนน (ดวงที่เป็นไฟขาว ไม่ใช่ไฟส้ม) , แสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ ที่สะท้อนมาจากกระจกหลังของรถคันข้างหน้า, แสงจากดวงอาทิตย์ช่วงเวลาเย็น ๆ ที่แสงยังไม่เปลี่ยนเป็นสีแดง, แสงจากหลอดไฟสีขาวในห้อง
แสงไฟพวกนี้ สว่างจ้า ชัดมาก และทำให้เราเกิดภาพจำได้ง่ายแบบไม่น่าเชื่อเลยครับ
แต่ต้องงระวังการมองดวงอาทิตย์ แม้จะมองจากแสงสะท้อนจากกระจกหลังก็ตาม เพราะเป็นอันตรายต่อดวงตา และอาจทำให้ตาบอดได้
ผมจะมองแว๊บ ๆ เท่านั้นครับ
ที่มาแนะนำ เผื่อใครสนใจลองทำดูตามวิธีผม จะได้ใช้เวลาช่วงอยู่ในรถให้มีประโยชน์มากกว่าเดิมครับ
ช่วงนี้ผมพัฒนามาจากช่วงเริ่มฝึกตอนแรก ๆ มาก
ช่วงแรกจำภาพให้เกิดขึ้นในจิตยากมาก เกิดขึ้นแค่เสี้ยววินาทีแล้วหายไป
แต่ตอนนี้ ภาพติดตาเริ่มอยู่ได้นานขึ้นหลายวินาทีแล้วครับ และกำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
เห็นผลเร็วกว่า ชัดกว่าอาณาปาณสติเยอะครับ
**** อ่านข้อควรระวังในคอมเม้นต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ คห. 13 ด้วยนะครับ ****
หลังจากที่เพ่งกสิณ ได้พบความจริงมากขึ้น เลยขอปิดข้อความเดิมไว้ และข้อแก้ไขความเข้าใจผิดเดิม ๆ ออกไปครับ
1. อานาปานสติที่ผมเคยฝึกมาตลอด เป็นแนวทางที่ถูกต้องอยู่แล้ว ผมมีความก้าวหน้าอยู่แล้ว แต่ผมไม่รู้ เพราะความเข้าใจผิดเอาอานาปานสติไปปนกับสมถกรรมฐาน เลยคิดว่าไม่ก้าวหน้า
กล่าวคือ อานาปานสติ คือการทำความรู้สึกตัว มีสติตลอดเวลา ถ้าทำได้ ก็ถือว่าสำเร็จกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้ว อันนี้ผมถือว่าสำเร็จ เพราะทำได้ตลอดเวลาจริง ๆ จากเดิมที่คิดว่าไม่ก้าวหน้า เพราะผมดันเอาไปปนกับอารมณ์ฌาน
สิ่งที่ผมกล่าวว่าไม่ก้าวหน้า เพราะผมดันเข้าใจผิดไปว่าอารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน กับอารมณ์ฌานในสมถกรรมฐานเป็นอารมณ์เดียวกัน
คือต้องการเข้าถึงอารมณ์ฌาน แต่กลับจับที่ลมหายใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมละ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
เลยทำให้ผมไม่ยอมละลมหายใจ และเข้าไม่ถึงอารมณ์ฌาน 1-2-3 ... เสียที
ดันไปคิดว่าเอกคตา มันต้องเกิดพร้อมกับลมหายใจ
2. เมื่อได้เพ่งกสิณ เลยทำให้รู้ความต่างชัดเจน ระหว่างวิปัสสนากรรมฐาน กับสมถกรรมฐาน(เข้าถึงรูปฌาน) ซึ่งมันไปด้วยกันไม่ได้ คนละอารมณ์
ดังนั้น ตอนนี้ เลยมีความก้าวหน้าในสมถกรรมฐานมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ เพราะไม่เอามาปนเปกันเหมือนเมื่อก่อน
3. พอเข้าใจความแตกต่าง เลยได้คิดว่า ผู้ฝึกสมาธิเริ่มต้น สมควรทำสติปัฏฐาน 4 แบบวิปัสสนากรรมฐานก่อน
ไม่สมควรทำสมถกรรมฐานก่อน เพราะอาจทำให้คนหลงฌานได้ถ้าไม่มีสติ
ได้เข้าใจชัดเจนมากขึ้น ว่าทำไม นิกายหนึ่งที่ดัง ๆ จึงเน้นสอนสมถกรรมฐาน ไม่สอนวิปัสสนากรรมฐาน
ทำให้คนหลงฌาน และหลงเชื่อหัวปักหัวปำ หลุดออกมาไม่ได้ นั่นเพราะขาดพื้นฐานเรื่องสติปัฏฐานนี่เองครับ
-----
สุดท้าย แนะนำให้คนนั่งสมาธิ เริ่มต้นด้วยอานาปานสติครับ หรือถ้ายากก็เดินจงกรมครับ
แต่อย่าเริ่มด้วยสมถกรรมฐาน เช่นเพ่งกสิณ เพราะมีโอกาสที่จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิมากกว่า
และควรเริ่มต้นด้วย มรรคตั้งแต่ข้อ 1 นะครับ เพื่อปูพื้นฐานมาเรื่อย ๆ แล้วจะประสบความสำเร็จในการนั่งสมาธิครับ
แนะนำการเพ่งกสิณ สำหรับบางคนอาจจะทำง่ายกว่าอาณาปาณสติ
หลังจากที่เพ่งกสิณ ได้พบความจริงมากขึ้น เลยขอปิดข้อความเดิมไว้ และข้อแก้ไขความเข้าใจผิดเดิม ๆ ออกไปครับ
1. อานาปานสติที่ผมเคยฝึกมาตลอด เป็นแนวทางที่ถูกต้องอยู่แล้ว ผมมีความก้าวหน้าอยู่แล้ว แต่ผมไม่รู้ เพราะความเข้าใจผิดเอาอานาปานสติไปปนกับสมถกรรมฐาน เลยคิดว่าไม่ก้าวหน้า
กล่าวคือ อานาปานสติ คือการทำความรู้สึกตัว มีสติตลอดเวลา ถ้าทำได้ ก็ถือว่าสำเร็จกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้ว อันนี้ผมถือว่าสำเร็จ เพราะทำได้ตลอดเวลาจริง ๆ จากเดิมที่คิดว่าไม่ก้าวหน้า เพราะผมดันเอาไปปนกับอารมณ์ฌาน
สิ่งที่ผมกล่าวว่าไม่ก้าวหน้า เพราะผมดันเข้าใจผิดไปว่าอารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน กับอารมณ์ฌานในสมถกรรมฐานเป็นอารมณ์เดียวกัน
คือต้องการเข้าถึงอารมณ์ฌาน แต่กลับจับที่ลมหายใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมละ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
เลยทำให้ผมไม่ยอมละลมหายใจ และเข้าไม่ถึงอารมณ์ฌาน 1-2-3 ... เสียที
ดันไปคิดว่าเอกคตา มันต้องเกิดพร้อมกับลมหายใจ
2. เมื่อได้เพ่งกสิณ เลยทำให้รู้ความต่างชัดเจน ระหว่างวิปัสสนากรรมฐาน กับสมถกรรมฐาน(เข้าถึงรูปฌาน) ซึ่งมันไปด้วยกันไม่ได้ คนละอารมณ์
ดังนั้น ตอนนี้ เลยมีความก้าวหน้าในสมถกรรมฐานมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ เพราะไม่เอามาปนเปกันเหมือนเมื่อก่อน
3. พอเข้าใจความแตกต่าง เลยได้คิดว่า ผู้ฝึกสมาธิเริ่มต้น สมควรทำสติปัฏฐาน 4 แบบวิปัสสนากรรมฐานก่อน
ไม่สมควรทำสมถกรรมฐานก่อน เพราะอาจทำให้คนหลงฌานได้ถ้าไม่มีสติ
ได้เข้าใจชัดเจนมากขึ้น ว่าทำไม นิกายหนึ่งที่ดัง ๆ จึงเน้นสอนสมถกรรมฐาน ไม่สอนวิปัสสนากรรมฐาน
ทำให้คนหลงฌาน และหลงเชื่อหัวปักหัวปำ หลุดออกมาไม่ได้ นั่นเพราะขาดพื้นฐานเรื่องสติปัฏฐานนี่เองครับ
-----
สุดท้าย แนะนำให้คนนั่งสมาธิ เริ่มต้นด้วยอานาปานสติครับ หรือถ้ายากก็เดินจงกรมครับ
แต่อย่าเริ่มด้วยสมถกรรมฐาน เช่นเพ่งกสิณ เพราะมีโอกาสที่จะกลายเป็นมิจฉาสมาธิมากกว่า
และควรเริ่มต้นด้วย มรรคตั้งแต่ข้อ 1 นะครับ เพื่อปูพื้นฐานมาเรื่อย ๆ แล้วจะประสบความสำเร็จในการนั่งสมาธิครับ