ธรรมอันเอก คือความไม่ประมาท... ไม่ประมาทใน...?

ธรรมอันเอก คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ
(ไม่ใช่ทางอันเอก แต่ก็ช่างเถอะนะ)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ปติฏฐิตสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเอก

             [๑๐๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ธรรมอันเอกเป็นไฉน?
คือความไม่ประมาท.

             [๑๐๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ประมาทเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตไว้ในอาสวะ และธรรมที่มีอาสวะ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ แม้ปัญญินทรีย์ ก็ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

             [๑๐๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอกเจริญแล้ว
เจริญดีแล้ว แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6049&Z=6058&pagebreak=0

อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1044
คำว่า ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ คือ
ผู้ปรารภธรรมที่เป็นไปในสามภูมิแล้วห้ามการเกิดขึ้นแห่งอาสวะ
ชื่อว่าย่อมรักษาในสิ่งที่เป็นอาสวะและที่ประกอบด้วยอาสวะ.

ปล. อินทรีย์ ๕ ในพรหมสูตร ระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

อินทรีย์ ๕ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ที่เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่