อังกฤษได้ยุบพม่าเป็นมณฑลหนึ่งของบริติชราชในปี 1886 โดยมีย่างกุ้งเป็นเมืองเอก สังคมพม่าได้เปลี่ยนไปโดยชัดเจนจากการไร้ระบอบกษัตริย์และการแบ่งแยกทางการเมืองกับศาสนา แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังคงมีการต่อต้านอังกฤษจนปี 1890 เมื่ออังกฤษได้จัดการระบบใหม่และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านทั้งหมดในพม่า
เศรษฐกิจพม่าบริเตนค่อนข้างดีเพราะมีการทำการค้าข้าวทำข้าวในพม่าและมีการถางป่าเพื่อทำนาข้าว แต่ด้วยฐานะที่ไม่เอื้ออำนวย เกษตรกรชาวพม่าจำเป็นต้องกู้เงินชาวอินเดียในอัตราดอกเบี้ยที่สูงจนต้องสูญเสียที่ทำกินเพื่อชำระหนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ หน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐส่วนหนึ่งมักเป็นชาวอินเดียกับชาวอังกฤษ คนพม่าแทบไม่มีสิทธิใดๆในทางการเมืองเลย
การต่อต้านชาวอังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการก่อตั้งสมาคมยุวชนชาวพุทธ (YMBA) และแทนที่ในภายหลังโดยสภาสามัญของพม่า (GCBA) การประท้วงต่อต้านอังกฤษครั้งแรกมีขึ้นในปี 1920 โดยกลุ่มนักศึกษากับพระสงฆ์ได้อดอาหารประท้วงอังกฤษ และหลังจากนั้นก็มีการต่อต้านอังกฤษในพม่าเรื่อยๆ เช่นการประท้วงภาษีโดยกลุ่มของอาจารย์ชาน หรือกลุ่มกบฎกาลอน เป็นต้น
ในเดือนพฤษภาคม 1970 ได้จัดตั้งสมาคมเราชาวพม่าโดยสมาชิกขององค์กรเรียกทะขิ่น การประท้วงของนักศึกษาพม่าใน 1936 นำโดยออง ซาน และโกนุ ผู้นำสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ได้ลุกลามไปยังมัณฑะเลย์ ต่อมา อองซานและโกนุ ได้เข้าร่วมในขบวนการทะขิ่น
ต่อมาญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองพม่าและยื่นข้อเสนอในการกู้เอกราชแก่กลุ่มของอองซาน โดยอองซานให้ได้การช่วยเหลือ แต่เมื่อแพ้สงคราม อังกฤษกลับมีบทบาทอีกครั้งในช่วงเวลาสิ้นๆ
แต่หลังจากที่อังกฤษกลับเข้ามาปกครองพม่าอีกครั้งได้มีการเจรจาเกี่ยวกับเอกราชของพม่าจนบรรลุในข้อตกลงอองซาน-แอตลี เมื่อ 27 มกราคม 1947 ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับกลุ่มการเมืองของอองซาน โดยตัดกลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์ออกไปทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงของทะขิ่นโสกลายเป็นกลุ่มใต้ดิน นอกจากนั้น อองซานยังประสบความสำเร็จในการรวมชนกลุ่มน้อยต่างเข้ากับพม่าในการประชุมที่ปางโหลงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ซึ่งกลายเป็นวันสหภาพ ไม่นานหลังจากนั้น เกิดกบฏขึ้นในยะไข่นำโดยพระภิกษุ อูเซนดาและได้แพร่กระจายออกไป กลุ่มสันนิบาตเสรีชนของอองซานได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษายน 1947
ในการประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม 1947 ได้มีการลอบสังหารอองซานและคณะรัฐมนตรีรวมทั้งบะวิน ซึ่งผู้ที่ถูกสอบสวนและพบว่าเป็นผู้สั่งการคืออูซอ ทะขิ่นนุ ผู้นำกลุ่มสังคมนิยมได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีและเป็นผู้นำรัฐบาลพม่าจนได้รับเอกราชเมื่อ 4 มกราคม 1948 เป็นจุดสิ้นสุดการยึดครองอังกฤษในพม่า
ถนนเจดีย์สุเลในปี 1868
ประวัติศาสตร์พม่าตอนที่ 5 ยุคอาณานิคม
เศรษฐกิจพม่าบริเตนค่อนข้างดีเพราะมีการทำการค้าข้าวทำข้าวในพม่าและมีการถางป่าเพื่อทำนาข้าว แต่ด้วยฐานะที่ไม่เอื้ออำนวย เกษตรกรชาวพม่าจำเป็นต้องกู้เงินชาวอินเดียในอัตราดอกเบี้ยที่สูงจนต้องสูญเสียที่ทำกินเพื่อชำระหนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ หน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐส่วนหนึ่งมักเป็นชาวอินเดียกับชาวอังกฤษ คนพม่าแทบไม่มีสิทธิใดๆในทางการเมืองเลย
การต่อต้านชาวอังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการก่อตั้งสมาคมยุวชนชาวพุทธ (YMBA) และแทนที่ในภายหลังโดยสภาสามัญของพม่า (GCBA) การประท้วงต่อต้านอังกฤษครั้งแรกมีขึ้นในปี 1920 โดยกลุ่มนักศึกษากับพระสงฆ์ได้อดอาหารประท้วงอังกฤษ และหลังจากนั้นก็มีการต่อต้านอังกฤษในพม่าเรื่อยๆ เช่นการประท้วงภาษีโดยกลุ่มของอาจารย์ชาน หรือกลุ่มกบฎกาลอน เป็นต้น
ในเดือนพฤษภาคม 1970 ได้จัดตั้งสมาคมเราชาวพม่าโดยสมาชิกขององค์กรเรียกทะขิ่น การประท้วงของนักศึกษาพม่าใน 1936 นำโดยออง ซาน และโกนุ ผู้นำสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ได้ลุกลามไปยังมัณฑะเลย์ ต่อมา อองซานและโกนุ ได้เข้าร่วมในขบวนการทะขิ่น
ต่อมาญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองพม่าและยื่นข้อเสนอในการกู้เอกราชแก่กลุ่มของอองซาน โดยอองซานให้ได้การช่วยเหลือ แต่เมื่อแพ้สงคราม อังกฤษกลับมีบทบาทอีกครั้งในช่วงเวลาสิ้นๆ
แต่หลังจากที่อังกฤษกลับเข้ามาปกครองพม่าอีกครั้งได้มีการเจรจาเกี่ยวกับเอกราชของพม่าจนบรรลุในข้อตกลงอองซาน-แอตลี เมื่อ 27 มกราคม 1947 ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างอังกฤษกับกลุ่มการเมืองของอองซาน โดยตัดกลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์ออกไปทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงของทะขิ่นโสกลายเป็นกลุ่มใต้ดิน นอกจากนั้น อองซานยังประสบความสำเร็จในการรวมชนกลุ่มน้อยต่างเข้ากับพม่าในการประชุมที่ปางโหลงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ซึ่งกลายเป็นวันสหภาพ ไม่นานหลังจากนั้น เกิดกบฏขึ้นในยะไข่นำโดยพระภิกษุ อูเซนดาและได้แพร่กระจายออกไป กลุ่มสันนิบาตเสรีชนของอองซานได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษายน 1947
ในการประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม 1947 ได้มีการลอบสังหารอองซานและคณะรัฐมนตรีรวมทั้งบะวิน ซึ่งผู้ที่ถูกสอบสวนและพบว่าเป็นผู้สั่งการคืออูซอ ทะขิ่นนุ ผู้นำกลุ่มสังคมนิยมได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีและเป็นผู้นำรัฐบาลพม่าจนได้รับเอกราชเมื่อ 4 มกราคม 1948 เป็นจุดสิ้นสุดการยึดครองอังกฤษในพม่า
ถนนเจดีย์สุเลในปี 1868