เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ วันที่ 15 ส.ค. 2482 อองซานจึงได้จัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ดินขึ้นโดยมีตัว อองซาน เป็นเลขาธิการของกลุ่ม อองซานได้พยายามติดต่อกับกลุ่มคอมมิวนิสต์กลุ่มต่างๆ ดังนี้ หลังจากที่เดินทางจากอินเดียกลับถึง กรุงย่างกุ้ง แล้วอองซานจึงได้แอบเดินทางเพื่อไปประเทศจีนแต่เพราะลงเรือผิดลำจึงไปขึ้นท่าที่เกาะอมอย (Amoy) ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัวอองซานไปที่เมืองโตเกียว หลังจากที่อองซานเดินทางกลับมาถึงกรุงยางกุ้งแล้วอองซานได้ รวบรวมพรรคพวก จำนวน 3 คนเดินทางไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น วันที่ 26 ธ.ค. 2484 อองซาน ได้จัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า (B.I.A. = Burma Independence Army ) ขึ้นที่ กรุงเทพฯ
และในปี พ.ศ. 2485 อองซานได้นำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่นทำการโจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นก็ได้เดินทางเข้ามาในเมืองพม่าและเมืองไตหรือรัฐฉาน ทางเจ้าฟ้ารัฐฉานจึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษไปยังอินเดีย พม่าและญี่ปุ่นได้เข้ามาทำทารุณกรรมกับประชาชนในเมืองไตหรือรัฐฉาน เช่นเดียวกันกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนกระทั่งสงครามโลกครั้ง ที่ 2 สงบลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกา และอังกฤษได้จัดทำหนังสือข้อตกลงเตหะราน (Teheran Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วนั้น จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงแล้วนั้น อองซานจึงได้พยายามเข้าพบปะกับอังกฤษเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษถึงกรุงลอนดอนในขณะที่อังกฤษปกครองเมืองพม่าและเมืองไตอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ที่ไม่ใช่ชาวไต) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้งและมีแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบ เจ้าฟ้าได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช ของอองซาน และตกลงที่จะทำงานบ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของเมืองไต และให้เกิดการเข้าร่วมกับพม่าในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของอองซาน .โดยอาศัยพื้นที่ปฏิบัติการในรัฐฉาน เนื่องจากเจ้าฟ้าเป็นมิตรกับอังกฤษมาตลอด จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่าขอให้เมืองไตอยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อน อังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา การเมือง การปกครอง การติดต่อต่างประเทศ ในประเทศ การเศรษฐกิจและการคมนาคมแก่รัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง อองซาน เป็นผู้ที่ไปชักจูงให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในเมืองพม่าและเมืองไต แต่สุดท้ายแล้วในวันที่ 27 มี.ค. 2488 อองซานได้นำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และพม่าได้ถือเอาวันที่ 27 มี.ค. เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ตอนที่02.....อ่อง ซาน กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
และในปี พ.ศ. 2485 อองซานได้นำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่นทำการโจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นก็ได้เดินทางเข้ามาในเมืองพม่าและเมืองไตหรือรัฐฉาน ทางเจ้าฟ้ารัฐฉานจึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษไปยังอินเดีย พม่าและญี่ปุ่นได้เข้ามาทำทารุณกรรมกับประชาชนในเมืองไตหรือรัฐฉาน เช่นเดียวกันกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนกระทั่งสงครามโลกครั้ง ที่ 2 สงบลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกา และอังกฤษได้จัดทำหนังสือข้อตกลงเตหะราน (Teheran Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วนั้น จะคืนเอกราชให้แก่ดินแดนอาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงแล้วนั้น อองซานจึงได้พยายามเข้าพบปะกับอังกฤษเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษถึงกรุงลอนดอนในขณะที่อังกฤษปกครองเมืองพม่าและเมืองไตอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ที่ไม่ใช่ชาวไต) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้งและมีแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบ เจ้าฟ้าได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช ของอองซาน และตกลงที่จะทำงานบ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของเมืองไต และให้เกิดการเข้าร่วมกับพม่าในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของอองซาน .โดยอาศัยพื้นที่ปฏิบัติการในรัฐฉาน เนื่องจากเจ้าฟ้าเป็นมิตรกับอังกฤษมาตลอด จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่าขอให้เมืองไตอยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อน อังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา การเมือง การปกครอง การติดต่อต่างประเทศ ในประเทศ การเศรษฐกิจและการคมนาคมแก่รัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง อองซาน เป็นผู้ที่ไปชักจูงให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในเมืองพม่าและเมืองไต แต่สุดท้ายแล้วในวันที่ 27 มี.ค. 2488 อองซานได้นำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และพม่าได้ถือเอาวันที่ 27 มี.ค. เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน