ประวัติศาสตร์เทียบเคียง พม่า - มาเลเซีย

ในบรรดาประเทศอาเซียน ไม่นับสิงคโปร์และบรูไนที่เป็นชาติเล็กนั้น พม่ากับมาเลเซียนั้นถือว่าเป็นอดีตอาณานิคมที่ใกล้ชิดของอังกฤษในอาเซียน
วัฒนธรรมพม่าและมลายู แม้จะไม่ได้อยู่ติดกัน หรือแม้แต่จะอยู่รากฐานเดียวกันได้ ทว่า บางสิ่งบางอย่างที่ดูเหมือนจะแตกต่าง กลับคล้ายกันสิ้นเชิง
เรื่องศาสนา ชาวพม่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าถึงชีวิต ในขณะที่ชาวมลายู เป็นชนชาติที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลามอย่างมากเช่นกัน
ทั้งชาวพม่าและชาวมลายู โดยเฉพาะในยุคก่อนนั้น ต่างก็นิยมนุ่งโสร่ง ผ้าถุง และโพกหัวกันเป็นธรรมดาสามัญ ในทุกวันนี้ ก็ยังมีเห็นอยู่บ้างนิดหน่อย
ยิ่งการเข้ามาเป็นอาณานิคมอังกฤษ ยิ่งทำให้วัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศ และสภาพการปกครอง วิถีชีวิตแบบใหม่ ยิ่งคล้ายกันมากขึ้นเพราะอังกฤษ

อังกฤษใช้เวลายึดครองพม่าค่อนข้างนานและค่อนข้างสาหัสระดับหนึ่ง เนื่องจากต้องทำสงครามกับราชวงศ์ Konbaung ซึ่งปกครองพม่าในตอนนั้น
แน่นอนว่าผลของสงครามที่อังกฤษเหนือกว่า ทำให้พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ Konbaung ต้องสูญเสียดินแดน พระราชอำนาจ และราชบัลลังก์ในที่สุด
ส่วนในแหลมมลายู สุลต่าน ราชาของมลายู เลือกที่จะขอพึ่งร่มโพธิ์ร่มไทรของอังกฤษ บ้างก็เพื่อพยายามหนีอำนาจสยาม บ้างเพื่อได้อำนาจคุ้มครอง
ทำนองเดียวกับเหล่าเจ้าฟ้าไทใหญ่ของพม่า ที่ส่วนใหญ่ เลือกที่จะยอมจำนนและเข้ามาให้อังกฤษพัฒนาบ้านเมือง ด้วยเกรงกลัวอำนาจของอังกฤษ
แน่นอนว่าลักษณะสังคมของจักรวรรดิอังกฤษ ทำให้การหลั่งไหลเข้ามาของชาวอินเดียและชาวจีนที่อยู่ใต้อาณัติของอังกฤษ ต่างเข้ามากันอย่างมาก

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนของอาณานิคมยุโรปและอเมริกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงพม่าและมลายูในเวลานั้นด้วย
ชาวพม่าไม่ถูกกับอาณานิคมอังกฤษมานาน บางกลุ่มจึงเลือกที่เข้าข้างญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านอังกฤษ ญี่ปุ่นจึงตั้งรัฐบาลและได้ประกาศเอกราชจากอังกฤษ
ส่วนชาวมลายู รวมถึงชาวจีนและชาวอินเดีย ได้ประโยชน์และการพัฒนา การศึกษาจากอังกฤษมากกว่า ส่วนใหญ่จึงไม่ยอมจำนนต่อญี่ปุ่นและต่อต้าน
หนึ่งในกรณีนั้นก็คือ สุลต่านฮิซามุดดิน อาลัม ชาห์ แห่งสะลาโงร์ ที่ทรงไม่ยอมรับอำนาจจากญี่ปุ่น จนญี่ปุ่นต้องปลดพระองค์และตั้งพระเชษฐาแทน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ขับไล่ญี่ปุ่นไปได้ อังกฤษจึงให้เอกราชกับพม่าและมลายู แต่ก็มีความวุ่นวายบางอย่างเกิดขึ้นกับทั้ง 2 ประเทศ

หลังจากการทำสนธิสัญญา Panglong นายพล Aung San ผู้นำของพม่าในเวลานั้น ถูกสังหารเสียชีวิตก่อนที่จะได้ทันเห็นเอกราชของพม่าในปี 1948
ส่วนมลายู ได้มีการจัดตั้งสหภาพมลายูขึ้น แต่มีเสียงคัดค้านจากชาวมลายูว่าเป็นการริดรอนอำนาจของสุลต่านและราชาของตนที่เป็นองค์ศาสนูปถัมภก
ด้วยเหตุนี้ จึงมีการรื้อระบบใหม่ โดยมีการตั้งให้สุลต่านและราชาให้เป็นประมุขของรัฐนั้นโดยเดิม ส่วนประมุขของสหพันธรัฐ ก็จะมีการหมุนเวียนกันไป
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศ ต่างถูกคุกคาม พม่านั้นถูกชนกลุ่มน้อยในแต่ละท้องที่ พยายามแยกตัวและทำสงครามกับพม่า
ส่วนมลายู ถูกกลุ่มคอมมิวนิสต์ของจีนเป็งเข้าคุกคามและก่อกำเริบอยู่ตลอดหลายสิบปี ทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับอินโดนีเซียในตอนนั้นโดยซูการ์โนอีก

ปัจจุบัน ด้วยสถานะสภาพสังคมของพม่า นอกจากประเทศไทยแล้ว มาเลเซียก็คืออีกจุดมุ่งหมายของแรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำมาหากินในมาเลเซีย
ชาวพม่า ต่างเข้ามาสร้างวัดวาอารามและตั้งถิ่นฐานกันทั่วประเทศ บ้างก็อยู่ถาวร บ้างก็อยู่ชั่วคราว แน่นอนว่าพวกเขายังรักษาประเพณีกันไว้อยู่เช่นเดิม
อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ของ Rohingya ทำให้ความปลอดภัยของชาวพม่าค่อนข้างน้อยลง เนื่องจากชาวมาเลเซียไม่พอใจกับการกระทำดังกล่าว
ด้วยหลักความเป็นพี่น้องของอิสลาม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อ Rohingya ในพม่า ทำให้สร้างความไม่พอใจต่อมาเลย์ทั้งในระดับภาครัฐและประชาชน
เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ ที่แม้แต่ชาวมาเลเซียเอง อาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมพม่าจึงไม่ยอมรับ Rohingya ทั้งๆ ที่พวกเขาควรจะรู้ดีมากกว่าใครในอาเซียน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่