เมื่อพูดถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 เราก็จะนึกถึงพระเอกและตัวร้ายที่คุ้นเคย สหภาพโซเวียต ญี่ปุ่นหรือเยอรมนี หรือเรือของดัทช์ที่พรางตัวเป็นเกาะเพื่อป้องกันการโดนโจมตีจากญี่ปุ่น แล้วพระรองอย่างประเทศไทยในตำราสากลล่ะ? เขาบันทึกเรื่องราวของเราเหมือนที่เราได้ยินกันไหม?
ประเทศไทยถือว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจมากเมื่อพูดถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพูดถึง เรื่องราวของเราเริ่มต้นในปี 1932 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองผู้นำการปฏิวัติ พลตรีแปลก พิบูลสงคราม ได้เข้ามามีอำนาจในปี 1938 โค่นล้มรัฐบาลจากประชาชนและเปลี่ยนเป็นเผด็จการและเปลี่ยนชื่อสยามเป็นประเทศไทยโดยมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในร่มธงไทยและกดขี่ชนกลุ่มน้อยและทวงคืนดินแดนนอกประเทศไทยที่มีชนกลุ่มน้อยเป็นชาวไทยอยู่ แนวคิดนี้คล้ายกับญี่ปุ่นซึ่งต้องการจะจัดการพวกจักรวรรดินิยมและรวบรวมชนชาติให้เป็นหนึ่งเดียว
และในระหว่างที่ญี่ปุ่นกำลังสู้กับจีน ประเทศไทยนั้นก็เตรียมกำลังสู้กับเพื่อนบ้านทางเหนือและทางตะวันออกซึ่งรู้จักกันในนามอินโดจีน เมื่อไม่กี่สิบปีก่อนหน้าการปฏิวัติสยามฝรั่งเศสเคยมีกรณีพิพาทกับสยามและทำให้สยามต้องเสียดินแดนบางส่วนไปซึ่งกลายเป็นอินโดจีน และในปี 1940 ก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่ากรณีพิพาทอินโดจีน และในปี 1941 ประเทศไทยค่อนข้างจะประสบความสำเร็จเอาชนะกองทัพของอินโดจีนและได้พื้นที่ไปกว่า 54,000 ตารางกิโลเมตรจากฝรั่งเศสด้วยความช่วยเหลือของญี่ปุ่นที่มาประนีประนอมและมีความต้องการเล็กๆให้ประเทศไทยเข้าร่วมอักษะและช่วยรบกับพันธมิตร
แต่ไทยนั้นก็ไม่ค่อยสนใจในการเข้าร่วมฝ่ายอักษะเพราะการได้ทวงคืนดินแดนและเอาชนะอริศัตรูเก่าก็ถือว่าเป็นอันพอแล้วและดำเนินเกมที่จะเป็นกลางต่อไป แต่ญี่ปุ่นนั้นก็สนใจประเทศไทยมากเพราะเขาต้องการประเทศไทยเป็นฐานในการโจมตีอาณานิคมของอังกฤษต่อ British Malaya ตอนใต้ ฺBritish Burma และ British India ในทางตะวันตกแต่มันก็คงเป็นไปไม่ได้ถ้าหากไม่มีฐานทัพในประเทศไทย
เพราะฉะนั้นวันที่ 7 ธันวาคม 1941 เวลา 23:00 น ทางญี่ปุ่นส่งคำขู่มายังประเทศไทยว่าถ้าหากไม่ให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการโจมตีพม่าและอินเดียญี่ปุ่นจะทำการบุกไทยทันทีโดยให้เวลา 2 ชั่วโมงในการตอบกลับแต่ก็ไม่มีการตอบกลับและวันที่ 8 ธันวาคม 1941 กองทัพญี่ปุ่นข้ามพรมแดนและบุกไทย ญี่ปุ่นบุกมาทั้งทางบกและทางเรือญี่ปุ่นปะทะกับไทยไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถผลักกองทัพไทยล่นถอยไปได้ และในขณะนั้นประเทศไทยก็ยอมข้อตกลงของญี่ปุ่น และเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในไทย
แต่ที่น่าสนใจคือในเวลาเดียวกันอังกฤษมองประเทศไทยท่าทางไม่ดีพวกเขาจึงร่างแผน Operation Matador โดยการบุกประเทศไทยก่อนญี่ปุ่นจะบุกแต่แผนก็ต้องลงถังขยะเพราะมันเป็นการบุกประเทศที่เป็นกลาง แต่พวกเขาก็เปลี่ยนแผนเป็น Operaion Krohcol ซึ่งเป็นแผนที่เบากว่า ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม 1941 นำโดยทหารอินเดียจากมาเลเซียบุกตอนใต้ของประเทศไทยแต่ก็ต้องถูกต่อต้านด้วยกองกำลังตำรวจไทยซึ่งเป็นที่น่าสนใจมากที่ตำรวจไทยสู้กับญี่ปุ่นและมาเลเซียแล้วยังสามารถกันมาเลเซียไว้ได้ด้วยและหลังจากที่ไทยลงนามกับญี่ปุ่นญี่ปุ่นก็ช่วยกันผลักกองทัพมาเลย์ลงไปได้
ในวันที่ 25 มกราคม 1942 ประเทศไทยประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรรวมถึงสหรัฐอเมริกาและมีคำร่ำลือว่าทูตของประเทศไทยในสหรัฐอเมริกานั้นไม่ได้ประกาศสงครามกับสหรัฐเพราะเขาไม่ยอมที่จะทำ และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นก็เป็นไปได้ด้วยดีโดยไทยช่วยญี่ปุ่นตี British Malaya รวมถึงช่วยสร้างทางรถไฟ Burma Railway โดยใช้แรงงานจากอินโดจีนและเชลยสงคราม และกองทัพไทยที่รู้จักกันในนามกองทัพพายัพก็ได้โจมตีรัฐฉาน และในวันที่ 10 พฤษภาคม 1942 กองทัพไทยก็ได้ปะทะกับกองทัพจีนที่เคลื่อนพลมาช่วยสหราชอาณาจักร
แต่ในขณะเดียวกันในปี 1942 ก็เกิดเหตุน้ำท่วมหนักทำให้น้ำท่วมนาข้าวส่วนใหญ่และทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารทำให้ชาวไทยต้องพึ่งพาอาหารประเภทเส้นมากขึ้นทำให้เกิดเมนูชื่อผัดไทยขึ้นและในปี 1943 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นก็ค่อยๆแย่ลงเนื่องจากญี่ปุ่นไม่ได้มองไทยเป็นพันธมิตรแต่มองเป็นชาติที่ถูกปกครองและการโดนทิ้งระเบิดก็ทำให้คนไทยไม่ชอบมากขึ้น ทำให้ไทยเริ่มทำตัวเหินห่างจากญี่ปุ่นและแอบสื่อสารกับสหราชอาณาจักรอย่างลับๆ ทำให้พลตรีป.พิบูลสงครามปล่อยตัวนักโทษชาวจีนและเสนอว่าจะย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพมหานครไปเพชรบูรณ์โดยกองทัพส่วนใหญ่อยู่ที่นั่นและพื้นที่ก็เป็นภูเขาซึ่งส่อเป็นนัยว่านี่จะเป็นฐานสำหรับปะทะกับญี่ปุ่นถ้าหากเกิดอะไรผิดพลาด
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นสะพานพระราม 6 ถูกทิ้งระเบิด
เหตุการณ์นี้ทำให้ทั้งฝ่ายอักษะและฝ่ายพันธมิตรเรียกประเทศไทยว่า “Oriental Italy” ซึ่งประเทศไทยก็เหมือนกับอิตาลี 1943 เลยและคงจะไม่ใช่เรื่องนี้ถ้าหากเราไม่พูดถึงกลุ่มเสรีไทยนำโดยนายปรีดี พนมยงค์โดยมีการช่วยเหลือจากหน่วยรบพิเศษอังกฤษและกองกำลังตำรวจก็เข้าร่วมด้วยซึ่งปฏิบัติการในแนวภูเขาทางภาคเหนือ
หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมแพ้กองทัพไทยก็ล้อมกองกำลังญี่ปุ่นที่เหลืออยู่และเจรจาให้ยอมแพ้ต้องขอบคุณกองกำลังเสรีไทยที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกาทำให้สหรัฐอเมริกาไม่มองประเทศไทยเป็นประเทศผู้แพ้สงครามแต่มองเป็นประเทศที่ถูกยึดครอง สหราชอาณาจักรนั้นไม่ค่อยชอบขี้หน้าเราอย่างมากและต้องชดใช้ด้วยการส่งข้าวไปยัง British Malaya และฝรั่งเศสก็เหมือนกันที่ไม่ยอมให้ไทยหลุดมือไปง่ายๆจึงขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยเข้าไปอยู่ใน UN จนกว่าจะคืนพื้นที่ที่ยึดได้จากกรณีพิพาทอินโดจีน
และนี่ก็เป็นประวัติศาสตร์ที่ต่างประเทศมองเราไม่ใช่มุมมองที่พวกเราเขียนเอง
ประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 (จากตำราต่างชาติ)
ประเทศไทยถือว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจมากเมื่อพูดถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพูดถึง เรื่องราวของเราเริ่มต้นในปี 1932 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองผู้นำการปฏิวัติ พลตรีแปลก พิบูลสงคราม ได้เข้ามามีอำนาจในปี 1938 โค่นล้มรัฐบาลจากประชาชนและเปลี่ยนเป็นเผด็จการและเปลี่ยนชื่อสยามเป็นประเทศไทยโดยมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในร่มธงไทยและกดขี่ชนกลุ่มน้อยและทวงคืนดินแดนนอกประเทศไทยที่มีชนกลุ่มน้อยเป็นชาวไทยอยู่ แนวคิดนี้คล้ายกับญี่ปุ่นซึ่งต้องการจะจัดการพวกจักรวรรดินิยมและรวบรวมชนชาติให้เป็นหนึ่งเดียว
และในระหว่างที่ญี่ปุ่นกำลังสู้กับจีน ประเทศไทยนั้นก็เตรียมกำลังสู้กับเพื่อนบ้านทางเหนือและทางตะวันออกซึ่งรู้จักกันในนามอินโดจีน เมื่อไม่กี่สิบปีก่อนหน้าการปฏิวัติสยามฝรั่งเศสเคยมีกรณีพิพาทกับสยามและทำให้สยามต้องเสียดินแดนบางส่วนไปซึ่งกลายเป็นอินโดจีน และในปี 1940 ก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่ากรณีพิพาทอินโดจีน และในปี 1941 ประเทศไทยค่อนข้างจะประสบความสำเร็จเอาชนะกองทัพของอินโดจีนและได้พื้นที่ไปกว่า 54,000 ตารางกิโลเมตรจากฝรั่งเศสด้วยความช่วยเหลือของญี่ปุ่นที่มาประนีประนอมและมีความต้องการเล็กๆให้ประเทศไทยเข้าร่วมอักษะและช่วยรบกับพันธมิตร
เพราะฉะนั้นวันที่ 7 ธันวาคม 1941 เวลา 23:00 น ทางญี่ปุ่นส่งคำขู่มายังประเทศไทยว่าถ้าหากไม่ให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการโจมตีพม่าและอินเดียญี่ปุ่นจะทำการบุกไทยทันทีโดยให้เวลา 2 ชั่วโมงในการตอบกลับแต่ก็ไม่มีการตอบกลับและวันที่ 8 ธันวาคม 1941 กองทัพญี่ปุ่นข้ามพรมแดนและบุกไทย ญี่ปุ่นบุกมาทั้งทางบกและทางเรือญี่ปุ่นปะทะกับไทยไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถผลักกองทัพไทยล่นถอยไปได้ และในขณะนั้นประเทศไทยก็ยอมข้อตกลงของญี่ปุ่น และเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
แต่ในขณะเดียวกันในปี 1942 ก็เกิดเหตุน้ำท่วมหนักทำให้น้ำท่วมนาข้าวส่วนใหญ่และทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารทำให้ชาวไทยต้องพึ่งพาอาหารประเภทเส้นมากขึ้นทำให้เกิดเมนูชื่อผัดไทยขึ้นและในปี 1943 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นก็ค่อยๆแย่ลงเนื่องจากญี่ปุ่นไม่ได้มองไทยเป็นพันธมิตรแต่มองเป็นชาติที่ถูกปกครองและการโดนทิ้งระเบิดก็ทำให้คนไทยไม่ชอบมากขึ้น ทำให้ไทยเริ่มทำตัวเหินห่างจากญี่ปุ่นและแอบสื่อสารกับสหราชอาณาจักรอย่างลับๆ ทำให้พลตรีป.พิบูลสงครามปล่อยตัวนักโทษชาวจีนและเสนอว่าจะย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพมหานครไปเพชรบูรณ์โดยกองทัพส่วนใหญ่อยู่ที่นั่นและพื้นที่ก็เป็นภูเขาซึ่งส่อเป็นนัยว่านี่จะเป็นฐานสำหรับปะทะกับญี่ปุ่นถ้าหากเกิดอะไรผิดพลาด
หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมแพ้กองทัพไทยก็ล้อมกองกำลังญี่ปุ่นที่เหลืออยู่และเจรจาให้ยอมแพ้ต้องขอบคุณกองกำลังเสรีไทยที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกาทำให้สหรัฐอเมริกาไม่มองประเทศไทยเป็นประเทศผู้แพ้สงครามแต่มองเป็นประเทศที่ถูกยึดครอง สหราชอาณาจักรนั้นไม่ค่อยชอบขี้หน้าเราอย่างมากและต้องชดใช้ด้วยการส่งข้าวไปยัง British Malaya และฝรั่งเศสก็เหมือนกันที่ไม่ยอมให้ไทยหลุดมือไปง่ายๆจึงขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยเข้าไปอยู่ใน UN จนกว่าจะคืนพื้นที่ที่ยึดได้จากกรณีพิพาทอินโดจีน
และนี่ก็เป็นประวัติศาสตร์ที่ต่างประเทศมองเราไม่ใช่มุมมองที่พวกเราเขียนเอง