ยิ่งลักแถหลังถลอก ยังไงก็ไม่รอด

กระทู้สนทนา
จับโกหก "ยิ่งลักษณ์" โพสต์เฟซบุ๊กดิ้นหนี้ผิด ป้ายสีศาล รธน.  / ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


1. ยิ่งลักษณ์ อ้างว่า "ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระ"

ความจริง
ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่องค์กรอิสระแต่เป็นอำนาจฝ่ายตุลาการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 หมวด 10 "ศาล" ส่วนที่ 2 "ศาลรัฐธรรมนูญ" ประกาศในเล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก ในราชกิจจานุเบกษา 24 ส.ค.50

2. ยิ่งลักษณ์ อ้างว่าเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคดีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบุคคลมาพิจารณาเป็นครั้งแรก

ความจริง
ที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยพิจารณาเรื่องนี้ เพราะไม่เคยมีการนำเรื่องสู่การพิจารณาของศาล และประเด็นในคำร้องคือ "ให้วินิจฉัยสถานภาพความเป็นนายกรัฐมนตรีของยิ่งลักษณ์"

ทั้งนี้ 1 ใน 9 อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ คือ

การวินิจฉัยสมาชิกภาพหรือคุณสมบัติของสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และ กรรมการการเลือกตั้ง

คดีที่เคยมีการวินิจฉัยไปแล้วคือ กรณี สมัคร สุนทรเวช ไปเป็นลูกจ้างบริษัทขัดรัฐธรรมนูญทำให้พ้นสภาพความเป็นนายกรัฐมนตรี ,กรณีคุณสมบัติของจตุพร พรหมพันธุ์ ที่ ก.ก.ต.ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพ้นสภาพความเป็นส.ส.หรือไม่ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่าพ้นสภาพความเป็นส.ส.ตามคำร้องของ ก.ก.ต.

3. ยิ่งลักษณ์ อ้างว่า ดำเนินการตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดคืนตำแหน่ง เลขา สมช.ให้ถวิล เปลี่ยนศรีแล้ว ถือว่าเรื่องจบ

ความจริง

ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้คืนตำแหน่งเลขาสมช.ให้ถวิล เนื่องจากการโยกย้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย ครม.มีมติคืนตำแหน่งให้เท่ากับยอมรับว่ามีการทำผิดจริง

รัฐธรรมนูญมาตรา 266 (2) ห้ามไม่ให้ใช้สถานะ ตำแหน่ง โยกย้าย ข้าราชการ เพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้อื่น หรือพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ระบุชัด ใช้อำนาจโยกย้ายมิชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองสูงสุด ชี้ชัดว่า ยิ่งลักษณ์มีอำนาจโยกย้ายได้แต่การใช้อำนาจนั้นดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
“นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการประจำของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค ย่อมมีอำนาจดุลพินิจในการบริหารงานบุคคลหมุนเวียนสับเปลี่ยนบทบาทหรือการทำหน้าที่ของข้าราชการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามแนวนโยบายที่นายกฯ ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาได้ แต่ในการใช้อำนาจดุลพินิจดังกล่าว นอกจากจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายและอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายแล้วยังจะต้องมีเหตุผลรองรับที่มีอยู่จริงและอธิบายได้ ซึ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านายถวิลได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีประสิทธิภาพ มีข้อบกพร่องหรือไม่สนองนโยบายของรัฐบาลซึ่งจะถือได้ว่ามีเหตุผลอันสมควรที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งโอนได้ตามความเหมาะสม

โดยที่ในคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจสอบเหตุผลนายกฯ ได้อ้างในการโอนนายถวิลแล้วปรากฏว่ามิได้เป็นไปตามที่นายกฯ กล่าวอ้าง จึงเท่ากับฝ่ายบริหารได้ใช้อำนาจดุลพินิจในการโอน นายถวิลโดยไม่มีเหตุผลรองรับ จึงถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอันเป็นเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้น การโอนผู้ฟ้องคดีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 ก.ย. 54 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อมีการทำผิดรัฐธรรมนูญจึงอยู่ในอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัยได้

4. ยิ่งลักษณ์ อ้างว่า พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วเนื่องจากมีการยุบสภา

ความจริง

แม้จะพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ยังปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีอยู่ "ความเป็นนายกรัฐมนตรี" จึงยังไม่หมดลง อันเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเรื่องนี้ เว้นแต่ ยิ่งลักษณ์ จะลาออก หรือตาย จึงจะถือว่าพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว

หากยิ่งลักษณ์ พ้นตำแหปน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ทำไมยังเรียก "นายก" ไม่เรียก "อดีตนายก"?

5. ยิ่งลักษณ์ อ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ขัด รธน.

ความจริง

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้ตามอำนาจหน้าที่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 91

ส.ส. - ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอต่ประธานรัฐสภาให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของ ส.ส.และส.ว.ได้

คุณสมบัติต้องห้ามของรมต.- นายกฯ เหมือนกับของ ส.ส.และส.ว.

5. ยิ่งลักษณ์ฺ อ้างหลักถ่วงดุลอำนาจ ฝ่ายตุลาการต้องตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยยึดหลักการ

ความจริง

ศาลรัฐธรรมนูญ รับวินิจฉัยสถานภาพความเป็นนายกรัฐมนตรีของยิ่งลักษณ์ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีประเด็นใดที่ศาลดำเนินการสองมาตรฐาน หรือไม่ยึดหลักการ หลักนิติธรรม ตามที่ยิ่งลักษณ์กล่าวอ้าง

หากยิ่งลักษณ์ ไม่ทำผิดกฎหมายย่อมไม่มีคดีขึ้นสู่ศาล

ข้อมูล
ลิงกฺ์ รธน.ปี 50
www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf

อำนาจหน้าที่ศาล รธน.
http://www.constitutionalcourt.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=153&Itemid=83&lang=thindex.php
-------

ข้อความเฟซบุ๊กของยิ่งลักษณ์

จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับคำร้องกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว. สรรหาและคณะยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของดิฉัน กรณีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในครั้งนี้ ดิฉันได้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการสร้างปรากฏการณ์ และบรรทัดฐานใหม่ในการบริหารราชการของไทย เพราะถือเป็นครั้งแรกที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรอิสระ รับคดีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลมาพิจารณา ทั้งๆ คดีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแก่นายถวิล เปลี่ยนศรี ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสถานะของดิฉันในขณะนี้นั้น ดิฉันได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 (2) แล้ว สืบเนื่องจากการยุบสภา และได้คืนอำนาจการตัดสินใจในทางการเมืองตามวิถีทางในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยในปัจจุบันดิฉันปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารับคำร้องดังกล่าว มาวินิจฉัยให้เกิดความซ้ำซ้อนกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่มีอยู่แล้ว เพราะนอกจากจะเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง แล้ว คำวินิจฉัยที่ขาดหลักการความเป็นสากลในเรื่อง “หลักนิติธรรม” อาจจะกลายเครื่องมือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในทางการเมืองอีกด้วย

ตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจนั้น อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการจะต้องมีความสมดุลกัน และในปัจจุบันมีหน่วยงานและสถาบันที่ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่แล้ว และหากทุกฝ่ายทำหน้าที่โดยยึดหลักการดังกล่าว ก็จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างราบรื่น และท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความขัดแย้งเช่นปัจจุบัน สถาบันที่มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญควรต้องตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารโดยยึดหลักการ และหน้าที่ตามขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยไม่ก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการ และที่สำคัญจะต้องไม่สร้างความแตกแยกให้กับสังคมด้วยการดำเนินการใดๆ ในลักษณะสองมาตรฐาน ขอให้ทุกฝ่ายทำงานโดยยึดหลักการที่ถูกต้อง เป็นธรรม และเป็นสากล เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีหลักยึด และให้ประเทศไทยสามารถตอบคำถามของสังคมโลกได้อย่างภาคภูมิค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่