บทความหลักนิติรัฐในไทย และการถ่วงดุลในระบอบประชาธิปไตย

บทความหลักนิติรัฐในไทย และการถ่วงดุลในระบอบประชาธิปไตย

        นับจากวันที่ ศาลรัฐธรรมนุญ ได้มีคำวินิจฉัยให้ รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมถึงรักษาการณ์รัฐมนตรีคนต่างๆ ต้องสิ้นสุด หรือพ้นจากตำแหน่ง เป็นคนๆไป ส่งผลให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จากคนเสื้อแดง เป็นจำนวนมาก และนักวิชาการฝ่ายเสื้อแดง และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ถึงขนาดประกาศแถลงการณ์ในทำนองไม่ยอมรับคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ  ในฐานนะที่ผมเป็น นักกฎหมาย คนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันผมทำหน้าที่เป็น ทนายความ ซึ่งจบนิติศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีใบอนุญาตว่าความ จากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็น สามัญสมาชิก เนติบัณฑิตยสภา จึงอยากฝากให้ชวนคิดกันว่า ประเทศเราปกครองด้วยอะไร และอยากถามว่าเข้าใจคำว่า “หลักนิติรัฐ” ไหม
        นิติรัฐคืออะไร ผมจะอธิบายให้เข้าใจ หลักนิติรัฐ คือการปกครองประเทศ ด้วยกฎหมาย คือ คนในสังคมจะอยู่ร่วมกันได้ต้องมี กฎ ระเบียบ มาควมคุมคนในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ซึ่งการใช้ หลักนิติรัฐ โดยใช้กฎหมายปกครอง ซึ่งผมไม่อยากลงรายละเอียดอะไรไปมาก ถึงทฤษฎีกฎหมายต่างๆท่านไปหาอ่านเอาได้ แต่ผมอธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยตอนนี้ ให้ดูว่าเราปกครองกันด้วยกฎหมายอย่างไร  ในราชอาณาจักรไทย เรามีรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงุด ที่ใช้ในการปกครองประเทศ แต่ก็เอาเถอะครับ เพราะบางคนอาจบอกว่า ฉบับปัจจุบัน เป็นผลพวงจากรัฐประหาร ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย  ซึ่งผมก็งงๆ เพราะตอนก่อนบังคับใช้ก็ไปลงประชามติกันไม่ใช่เหรอ? แต่ยังไงรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็เป็นกฎหมายสูงสุด ที่บังคับใช้ปกครองประเทศ อยู่จนถึงปัจจุบัน แล้วหลักนิติรัฐ เป็นอย่างไร  ซึ่งสาระสำคัญของหลักดังกล่าว
    1.การกระทำของรัฐบาล ต้องกระทำภายใต้ที่กฎหมายกำหนด คือกฎหมายกำหนดเท่าไนก็ทำเท่านั้น จะทำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือกระทำนอกกฎหมายไม่ได้  อันนี้เข้าใจตรงกัน
    2.ฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องออกกฎหมาย ที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ไม่ออกกฎหมายที่ก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ และไม่ออกกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐเข้าคววบคุมความเป็นอยู่ของประชาชน
    3.ฝ่ายตุลาการ ต้องควบคุมการทำหน้าที่ ของฝ่ายบริหาร ไม่ให้ใช้อำนาจ เกินขอบเขตของกฎหมาย และควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ให้ออกกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ หรือออกกฎหมายที่จะเป็นการคุกคามความเป็นอยู๋ของประชาชน
        ทีนี้มาดูปัญหาที่เพิ่งเกิด ที่เหมือนจะเป็นฟางเส้นสุดท้าย ที่ทำหใ พี่น้องคนเสื้อแดงไม่พอใจ คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ รักษาการณ์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งพร้อมรัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมประชุมโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี  ผมอยากให้ย้อนมาดูคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ คดีหมายเลขดำ อ.992/2556 คดีหมายเลขแดงที่ อ.33/2557  ซึ่งผุ้ฟ้องวคดีคือนายถวิล เปลี่ยนศรี ฟ้องให้สาลปกครองเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ตาม มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง  พ.ศ.2542 ซึ่งศาลท่านได้พิพากษา ผมเขียนโดยย่อนะ ให้ไปอ่านรายละเอียดกันเอาเอง “การโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เป็นการโยกย้ายที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร ในการโยกย้าย ตามที่ ผู้ถูกฟ้องที่ 1 (นายกรัฐมนตรี) ย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี เพื่อนโยบายรัฐบาล ซึ่งการโยกย้ายนายถวิล ผู้ฟ้องคดีเพื่อเอา พล.ต.อ.วิเชียร พจโพธิศรี มาดำรงตำแหน่งแทนเป็นการไม่ชอบ  เพราะในคำพิพากษาศาลปกครองกลาง เคยวินิจฉัยว่า นายกรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องที่ 1 สามารถที่จะสั่ง ให้นายถวิล ดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาได้ทันทีเพราะอยู่ในอำนาจของเลขาธิการสภาความมั่นคงอยู่แล้ว  ไม่ต้องโยกย้ายนายถวิล มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) ก้ได้ และศาลปกครองสูงสุดก็พิพากษา ย้ำลงไปอีกว่า “ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายกรัฐมนตรี ได้อ้างเหตุผลในการโอนนายถวิล ว่านายถวิลได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีประสิทธิภาพ มีข้อบกพร่อง หรือไม่สนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะถือได้ว่ามีเหตุผลอันสมควร ที่ผู้บังคับบัญชา สามารถสั่งโอนได้ตามความเหมาะสม จึงถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ”  ด้วยเหตุผลนี้แหละครับที่ศาลปกครองปกครองสูงสุด จึงเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่โยกย้าย นายถวิล ให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง)
        คราวนี้มาดู คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผมจึงค่อนข้างจะสับสน กับกลุ่มคนเสื้อแดง และสมาชิกพรรคเพื่อไทยว่า ท่านงง อะไร  ว่าทำไมศาลท่านตัดสินเร็ว คือผมจะอธิบาย ดังนี้ครับ เนื่องจากในคดีดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุด ท่านได้มีคำพิพากษามาแล้ว ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.33/2557 ว่าการโยกย้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เนื่องจากว่า กรณีที่ย้ายเพื่อผลประโยชน์ จะขัดกับรัฐธรรมนูญ ตามมาตร 266 ปรกอบ 268 หรือไม่ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด แต่เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องตัดสิน ประเด็นจึงมีแค่ว่า ย้ายเพื่อประโยชน์ของพวกพ้องหรือเครือญาติ หรือไม่  มีเพียงประเด็นเดียว ประเด็นว่าย้ายเพราะทำตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ย้ายตามกฎหมายโดยชอบหรือไม่ ถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ว่าไม่ชอบ!!! ซึ่งปรากฏตามข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดว่า โยกย้ายภายใน 4 วัน และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายถวิล บกพร่อง สนองนโยบายรัฐบาลไม่ได้ ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาไปแล้ว เป็นผลให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ต้องไป พิจารณาในประเด็นโยกย้ายชอบหรือไม่ คงต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่า คำสั่งโยกย้ายนายถวิล เป็นการเอื้อประโยชน์ ต่อพวกพ้องหรือเครือญาติหรือไม่  ปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัย มีใจความว่า “การย้าย พล.ต.อ.วิเชียร พจโพธิศรี จากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ  ไปเป็น ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ(นักบริหารระดับสูง) และให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ มาดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ ก็เป็นพี่ชายของ พจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็น พี่ชายของ รักษาการณ์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งจะปรากฏว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ เป็นลุงของหลานอา (โอ๊ค เอม อุ๊งอิ๊ง ซึ่งรักษาการณ์นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นศักดิ์เป็น อา ) จึงเป็นเครือญาติของ นายกรัฐมนตรี(เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป) ซึ่ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ มีอายุราชการเกษียณอายุราชการก่อน พล.ต.อ.วิเชียร  ซึ่งถ้าซึ่ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะมาดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ต้องให้พล.ต.อ.วิเชียร ย้ายไปดำรงตำแหน่งก่อน ซึ่งการจะโอนไปส่วนราชการอื่นต้องได้รับความยินยอมจาก เจ้าตัว ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ มาตรา62 แต่ในใจความของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนั้น กลับมีวาระซ่อนเร้น และมีการดำเนินการที่รวดเร็ว  การบ้าบนายถวิล จึงเป็นกระบวนการต่อเนื่องกัน กับการย้าย ผบ.ตร.ในขณะนั้น ถ้าตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ไม่ว่างก็จะย้าย พล.ต.อ.วิเชียร มาไม่ได้ เมื่อย้าย นายถวิล ก็เอา พล.ต.อ.วิเชียร มาเป็นเลขา สมช. แล้วเอา พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ดามาพงษ์มาเป็นผบ.ตร.แทน  จึงมีผลประโยชน์แอบแฝง เพื่อตนเองหรือพวกพ้องจึงทำให้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มตรา 266ประกอบ มาตรา 268 ทำให้การปฏิบัติหน้าที่รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี และรักษาการณ์รัฐมนตรี ต้องสิ้นสุดลง ตาม รัฐธรรมนูญ 182(7) ความเป็นรัฐมนตรีจึงต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ส่วนรัฐมนตรีอีก 9 คน ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ด้วยเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี  ตรงนี้รัฐมนตรีคนอื่นต้องโดนนะครับ เพราะในคำร้องนั้นชัดเจนว่า มีการขอให้ศาลพิจาณาให้ ยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่ง และจะเป็นผลให้ ความเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงไปด้วย  แต่ศาลท่านก็วินิจฉัยให้ รักษาการณ์รัฐมนตรี ที่มีส่วนรวมเท่านั้นพ้นจากตำแหน่ง ส่วนรักษาการ์รัฐมนตรีคนอื่น ต้องปฏิบัติหน้าที่รักษาการณ์รัฐมนตรีต่อไป จนกว่าจะมี คณะรัฐมนตรีชุดใหม่มาแทนที่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181
        กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่ว่าทำไม ย้ายข้าราชการก็ผิด  อันนี้ไม่ใช่ แต่ถ้าย้ายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อเครือญาติ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงผิด ต้องเข้าใจกัน เพราะรัฐบาล กระทำการขัดต่อหลักนิติรัฐ ขัดต่อกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะดาศาลก็ไม่ถูก ทำไมไม่ด่ารัฐบาลครับ ว่าทำผิดกฎหมายทำไม?
        ประเด็นที่ 2 ผมอยากจะถามคนเสื้อแดงจากใจ ว่าการกระทำของศาล ไม่เป็นประชาธิปไตยยังไงหรือครับ  ก่อนที่คุณจะเข้าใจคำว่าประชาธิปไตย ไม่รู้เหรอว่า ประชาธิปไตย คือการปกครองประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน  และที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย ตามทฤษฎี ของมองเตสกิเออร์ ประชาธิปไตยต้องมีการถ่วงดุลของอำนาจ 3 ฝ่าย
1.ฝ่ายบริหาร     2.ฝ่ายนิติบัญญัติ   3.ฝ่ายตุลาการ
    ฝ่ายบริหาร ที่มาจากประชาชน ปกครองประชาชน ตามหลักนิติรัฐ ตามกฎหมาย ที่ฝ่ายนิติบัญญัติร่างขึ้น และออกกฎหมายใช้ เพื่อปกครองประชาชนภายในประเทศ และต้องปกครองกันด้วยกฎหมาย และถ้าฝ่ายบริหารทำผิดกฎหมาย เมื่อไร จะถูกดำเนินคดีโดยฝ่ายตุลาการ อาจจะมีการฟ้องคดีโดยประชาชน หรือองกรณ์อิสระตามรัฐธรรมนูญ และฝ่ายตุลาการต้องพิพากษาฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายที่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ร่างขึ้นมา และนำออกใช้
        ทั้งนี้ฝ่ายนิติบัญญัติ ยังมีหน้าที่ พิกถอนฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้ ถ้ามีข้อร้องเรียนจากประชาชน โดยการลงมติไม่ไว้วางใจ และฝ่ายบริหารก็มีอำนาจยุบสภา เช่นกัน ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติไม่ทำหน้าที่ ของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือทำหน้าที่วุ่นวายทำให้ฝ่ายบริหารทำงานไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องทางการเมือง
        ส่วนฝ่ายตุลาการ ก็มีหน้าที่ วินิจฉัยอรรถคดี โดยปราศจากการควบคุมของ ฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่าบบริหาร
        เรื่องดังกล่าวที่ผม ยกอ้างมานั้น คือประชาธิปไตย อำนาจ 3 ฝ่าย ต้องถ่วงดุลกัน ไม่ใช่ว่า มาจากเสียงข้างมาก เลือกตั้งชนะ ทำอะไรก็ได้ ไม่ใช่นี่เข้าใจกันผิดมาก  ฝ่ายตุลาการมีอำนาจ ที่จะพิพากษา ให้ฝ่ายบริหาร ออกจากตำแหน่งได้ ถ้าทำผิดกฎหมาย และกฎหมายนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากประชาชนนั่นแหละ ร่างขึ้น แต่ฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจยุบสภา และไม่มีอำนาจสั่งไม่ให้ฝ่ายบริหารยุบสภา  เห็นภาพกันยังครับ
        ถ้าคุณรักประชาธิปไตย ให้เข้าหลักการถ่วงดุลแห่งอำนาจ ไม่ใช่เอาแต่อ้างเลือกตั้งได้เสียงข้างมาก  ถ้าเสียงข้างมากทำได้ทุกอย่าง นั่นคือเผด็จการ  ไม่ใช่ประชาธิปไตย ผมฝากแค่นี้ครับ ลองคิดดู ว่าเสียงข้างมาก คือประชาธิปไตย ที่แท้จริงไหม เท่านั้น

ด้วยรักและห่วงใย
ทนายอ๋อง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่