-------------------------------------- ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ท่านที่พบ นิพพาน
ท่านพบนิพพานอย่างไร ?
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=158
อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ นิพพานสูตรที่ ๑
ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘
อรรถกถาปฐมนิพพานสูตร
ปาฏลิคามิยวรรค
ปฐมนิพพานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
===============================================================================================
...
...
...
ด้วยคำนั้น เป็นอันแสดงว่า
อสังขตธาตุ อันมี
สภาวะผิดตรงกันข้ามจากสังขตธรรมทั้งปวงมีปฐวีเป็นต้นว่า พระนิพพาน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ตตฺรปาหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร แปลว่า ในนิพพานนั้น. อปิ ศัพท์ใช้ในอรรถสมุจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการมาของอะไรๆ จากที่ไหนๆ ที่เป็นไปตามสังขาร เพราะเหตุสักว่าธรรมเกิดในพระนิพพานนั้นตามปัจจัย
อนึ่ง เราไม่กล่าวอาคติ คือการมาแต่ที่ไหนๆ ในอายตนะคือพระนิพพานนั้นอย่างนี้ เพราะพระนิพพานไม่มีฐานะที่จะพึงมา.
บทว่า น คตึ ความว่า
เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ เพราะฐานะที่พระนิพพานจะพึงถึงไม่มี เพราะการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย
เว้นการกระทำให้เป็นอารมณ์ ด้วยญาณไม่มีในพระนิพพานนั้น.
อนึ่ง เราไม่กล่าวถึงฐิติ จุติ และอุปบัติ. บาลีว่า ตทปหํ ดังนี้ก็มี.
ความของพระบาลีนั้นมีดังนี้
อายตนะแม้นั้น ชื่อว่าไม่มีการมา เพราะเป็นฐานะที่ไม่ควรมา เหมือนจากละแวกบ้านมาสู่ละแวกบ้าน. ชื่อว่า
ไม่มีการไป เพราะไม่เป็นฐานะที่จะควรไป ชื่อว่าไม่มีฐิติ
เพราะไม่มีฐานะที่จะตั้งอยู่ เหมือนแผ่นดินและภูเขาเป็นต้น.
อนึ่ง ชื่อว่าไม่มีการเกิด เพราะไม่มีปัจจัย. ชื่อว่าไม่มีจุติ เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น. เราไม่กล่าวฐิติ จุติ และอุปบัติ เพราะไม่มีการเกิดและการดับ และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ที่กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง ๒ นั้น.
อนึ่ง
พระนิพพานนั้นล้วนชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ เพราะมีสภาวะเป็นอรูป และเพราะไม่มีปัจจัย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าไม่มีที่ตั้ง. ชื่อว่าไม่เป็นไป เพราะไม่มีความเป็นไปพร้อม และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไปในพระนิพพานนั้น
ชื่อว่าไม่มีอารมณ์ เพราะไม่มีอารมณ์อะไรๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยว และเพราะไม่มุ่งถึงอารมณ์ที่อุปถัมภ์ เหมือนสัมปยุตธรรมมีเวทนาเป็นต้น แม้ที่มีสภาวะเป็นอรูป(เป็นนาม) ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอายตนะ.
ก็ เอว ศัพท์นี้ พึงประกอบด้วยบททั้งสองคือ อปฺปติฏฺฐเมว อปฺปวตฺตเมว.
บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า พระนิพพานซึ่งมีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญชมเชย ด้วยคำมีอาทิว่า อปฺปติฏฺฐํ ดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่าเป็นที่สุด คือเป็นที่สิ้นสุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น เพราะเมื่อมีการบรรลุพระนิพพาน ทุกข์ทั้งหมดก็ไม่มี เพราะเหตุฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า พระนิพพานนั้นมีสภาวะเป็นดังนี้ว่า เป็นที่สุดแห่งทุกข์นั่นแล.
จบอรรถกถาปฐมนิพพานสูตรที่ ๑
---------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ นิพพานสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 157อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 158อ่านอรรถกถา 25 / 159อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=3977&Z=3992
===============================================================================================
*********************** ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ท่านที่พบ นิพพาน ท่านพบนิพพานอย่างไร ********************
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=158
อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ นิพพานสูตรที่ ๑
ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘
อรรถกถาปฐมนิพพานสูตร
ปาฏลิคามิยวรรค ปฐมนิพพานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
===============================================================================================
...
...
...
ด้วยคำนั้น เป็นอันแสดงว่า อสังขตธาตุ อันมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากสังขตธรรมทั้งปวงมีปฐวีเป็นต้นว่า พระนิพพาน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ตตฺรปาหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร แปลว่า ในนิพพานนั้น. อปิ ศัพท์ใช้ในอรรถสมุจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการมาของอะไรๆ จากที่ไหนๆ ที่เป็นไปตามสังขาร เพราะเหตุสักว่าธรรมเกิดในพระนิพพานนั้นตามปัจจัย
อนึ่ง เราไม่กล่าวอาคติ คือการมาแต่ที่ไหนๆ ในอายตนะคือพระนิพพานนั้นอย่างนี้ เพราะพระนิพพานไม่มีฐานะที่จะพึงมา.
บทว่า น คตึ ความว่า เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ เพราะฐานะที่พระนิพพานจะพึงถึงไม่มี เพราะการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย เว้นการกระทำให้เป็นอารมณ์ ด้วยญาณไม่มีในพระนิพพานนั้น.
อนึ่ง เราไม่กล่าวถึงฐิติ จุติ และอุปบัติ. บาลีว่า ตทปหํ ดังนี้ก็มี.
ความของพระบาลีนั้นมีดังนี้ อายตนะแม้นั้น ชื่อว่าไม่มีการมา เพราะเป็นฐานะที่ไม่ควรมา เหมือนจากละแวกบ้านมาสู่ละแวกบ้าน. ชื่อว่าไม่มีการไป เพราะไม่เป็นฐานะที่จะควรไป ชื่อว่าไม่มีฐิติ เพราะไม่มีฐานะที่จะตั้งอยู่ เหมือนแผ่นดินและภูเขาเป็นต้น.
อนึ่ง ชื่อว่าไม่มีการเกิด เพราะไม่มีปัจจัย. ชื่อว่าไม่มีจุติ เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น. เราไม่กล่าวฐิติ จุติ และอุปบัติ เพราะไม่มีการเกิดและการดับ และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ที่กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง ๒ นั้น.
อนึ่ง พระนิพพานนั้นล้วนชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ เพราะมีสภาวะเป็นอรูป และเพราะไม่มีปัจจัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีที่ตั้ง. ชื่อว่าไม่เป็นไป เพราะไม่มีความเป็นไปพร้อม และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไปในพระนิพพานนั้น ชื่อว่าไม่มีอารมณ์ เพราะไม่มีอารมณ์อะไรๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยว และเพราะไม่มุ่งถึงอารมณ์ที่อุปถัมภ์ เหมือนสัมปยุตธรรมมีเวทนาเป็นต้น แม้ที่มีสภาวะเป็นอรูป(เป็นนาม) ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอายตนะ.
ก็ เอว ศัพท์นี้ พึงประกอบด้วยบททั้งสองคือ อปฺปติฏฺฐเมว อปฺปวตฺตเมว.
บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า พระนิพพานซึ่งมีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญชมเชย ด้วยคำมีอาทิว่า อปฺปติฏฺฐํ ดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่าเป็นที่สุด คือเป็นที่สิ้นสุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น เพราะเมื่อมีการบรรลุพระนิพพาน ทุกข์ทั้งหมดก็ไม่มี เพราะเหตุฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า พระนิพพานนั้นมีสภาวะเป็นดังนี้ว่า เป็นที่สุดแห่งทุกข์นั่นแล.
จบอรรถกถาปฐมนิพพานสูตรที่ ๑
---------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ นิพพานสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 157อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 158อ่านอรรถกถา 25 / 159อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=3977&Z=3992
===============================================================================================