ตอบคำถามโดยพระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ปัญญาวโร
โยมมีข้อสงสัยว่าเหตุใดพุทธมหายานถึงเน้นสอนเรื่อง "จิตเดิม"ที่เป็นสูญญตา คือตามรู้จิตว่าจิตเดิมนั้นว่างเป็นปกติ แต่ในขณะที่ทางพุทธเถรวาท มีพูดถึงเรื่องจิตประภัสสรบ้าง แต่ไม่เน้นเท่า จึงอยากทราบว่าเหมือนกันหรือไม่อย่างไรเจ้าคะ _/l\_ ๒๕ มกราคมเวลา ๙:๐๗ น.
---------------------
สำหรับคำถามของโยม อาตมาเข้ามาดูหลายวันแล้ว แต่ต้องขออภัย ไม่มีเวลาตอบให้เลย เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องลึกซึ้ง จะอธิบายเพียงสั้นๆ ก็ไม่ได้ จึงจะขอแยกตอบเป็นประเด็น ดังนี้คือ
๑ เหตุใดพุทธมหายานถึงเน้นสอนเรื่อง “จิตเดิม” ที่เป็นสุญญตา คือตามรู้จิตว่าจิตเดิมนั้นว่างเป็นปกติ
ตอบว่า ไม่ทราบสินะ
๒ อยากทราบว่า (จิตเดิม สุญญตา จิตว่าง และจิตประภัสสร) เหมือนกันหรือไม่อย่างไรเจ้าคะ
ตอบว่า ในที่นี้ต้องขอให้โยมสละเวลาสักนิด เพื่อศึกษาความหมายเกี่ยวกับคำว่า “จิตเดิมแท้” ในพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ซึ่งกล่าวด้วยเรื่อง พระนิพพาน ดังนี้คือ
ในฝ่ายมหายานนั้น ท่านจะสอนว่า “นิพพานนั้นเป็นอัตตา” ด้วยกันทั้งนั้น หมายความว่า มีชีวิตหลังความตายของพระอรหันต์ทั้งหลาย บ้างก็ว่า “พระอรหันต์ย่อมกลับคืนสู่ความเป็นจิตเดิมแท้ และตั้งอยู่นิรันดร์กาล” คำว่า นิพพาน ของท่านนั้น หมายถึง การ (มีจิตเดิมแท้) เข้าไปสู่ดินแดนใดดินแดนหนึ่ง บ้างเรียกว่า แดนสุขาวดี หรืออย่างในเมืองไทยเรา ก็มี อายตนะนิพพาน ของสำนักธรรมกาย เช่นกัน ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่หลังการปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังจะเห็นได้จากนิยายจีนเรื่อง “ไซอิ๋ว” ซึ่งเป็นการเดินทางไปยังตะวันตก (ชมพูทวีป) เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎก ด้วยการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ แดนสุขาวดี บนสวรรค์
ซึ่งต่างจากหลักการของเถรวาทเรา ซึ่งปฏิเสธจิตเดิมแท้ในลักษณะเช่นว่านั้น โดยพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ของเถรวาทเรา ระบุไว้ชัดเจนว่า นิพพานนั้นเป็นอนัตตา (ไม่มีชีวิตหลังการปรินิพพาน)
ดังเช่น พระบาลีที่มาใน อัคคิวัจฉโคตตสูตร (ม.ม.๑๓/๒๔๔/๑๘๘) ครั้งนั้น ปริพาชกวัจฉโคตรทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?."
พระพุทธเจ้าทรงอุปมาตรัสว่า "ดูก่อนวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ .. ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา ... ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร. ข้าแต่ท่านพระโคดม .. ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่.
ดูก่อนวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว. ดูก่อนวัจฉะ ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร. ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเธอ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเธอ ดับไปแล้ว"
และพระบาลีที่มาใน วินย.ปริ.๘/๘๒๖/๒๒๔ ว่า “สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระนิพพานและบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา”
หรือพุทธพจน์ที่มาในปฐมนิพพานสูตร (ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๑๔๓) ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ”
จากพุทธพจน์บทนี้ พระอรรถกถาจารย์ (เล่ม ๔๔ หน้า ๗๑๘ มมร.) ได้วินิจฉัย โดยยกพุทธพจน์ขึ้นประกอบว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการมาของอะไรๆ จากที่ไหนๆ ที่เป็นไปตามสังขาร เพราะเหตุสักว่าธรรมเกิดในพระนิพพานนั้นตามปัจจัย อนึ่ง เราไม่กล่าวอาคติ คือการมาแต่ที่ไหนๆ ในอายตนะคือพระนิพพานนั้นอย่างนี้ เพราะพระนิพพานไม่มีฐานะที่จะพึงมา.”
บทว่า น คตึ ความว่า เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ เพราะฐานะที่พระนิพพานจะพึงถึงไม่มี. เพราะการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย เว้นการกระทำให้เป็นอารมณ์ด้วยญาณ ไม่มีในพระนิพพานนั้น.
อนึ่ง เราไม่กล่าวถึงฐิติ จุติ และอุปบัติ .. อายตนะแม้นั้น ชื่อว่าไม่มีการมา เพราะเป็นฐานะที่ไม่ควรมา เหมือนจากละแวกบ้านมาสู่ละแวกบ้าน. ชื่อว่าไม่มีการไป เพราะไม่เป็นฐานะที่จะควรไป. ชื่อว่าไม่มีฐิติ เพราะไม่มีฐานะที่จะตั้งอยู่ เหมือนแผ่นดินและภูเขาเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่าไม่มีการเกิด เพราะไม่มีปัจจัย. ชื่อว่าไม่มีจุติ เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น. เราไม่กล่าวฐิติ จุติ และอุปบัติ เพราะไม่มีการเกิดและการดับ และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ ที่กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง ๒ นั้น.
อนึ่ง พระนิพพานนั้นล้วนชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ เพราะมีสภาวะเป็นอรูป และเพราะไม่มีปัจจัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีที่ตั้ง. ชื่อว่า ไม่เป็นไป เพราะไม่มีความเป็นไปพร้อม และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไปในพระนิพพานนั้น. ชื่อว่า ไม่มีอารมณ์ เพราะไม่มีอารมณ์อะไรๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยว และ เพราะไม่มุ่งถึงอารมณ์ที่อุปถัมภ์ เหมือนสัมปยุตธรรมมีเวทนาเป็นต้น แม้ที่มีสภาวะเป็นอรูป (เป็นนาม) ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอายตนะ.
ในข้อนี้ จะขอคั่นจังหวะนิดหนึ่งเพื่ออธิบาย ซึ่งโยมจะเข้าใจได้ จำต้องศึกษาหลักธรรม (คำว่า อายตนะ) สักเล็กน้อย ดังนี้คือ
ก. คำว่า อายตนะ นั้น แปลอย่างง่ายว่า สิ่งเชื่อมต่อ แดนเชื่อมต่อ หรือธรรมชาติที่เชื่อมต่อเพื่อการรับรู้อารมณ์
ข. ในคำว่า อายตนะ นั้นมี ๑๒ คือ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ (อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๖๑)
- อายตนะภายใน ๖ นั้นได้แก่ จักขายตนะ (ตา) โสตายตนะ (หู) ฆานายตนะ (จมูก) ชิวหายตนะ (ลิ้น) กายายตนะ (กาย) และมนายตนะ (ใจ) นี้เป็นแดนเชื่อมต่อภายในของคนสัตว์ (กล่าวโดยสมมติ ถ้าโดยปรมัตถ์คือขันธ์ ๕) เพื่อรับรู้สิ่งต่างๆ
- อายตนะภายนอก ๖ นั้นได้แก่ รูปายตนะ (สี) สัททายตนะ (เสียง) คันธายตนะ (กลิ่น) รสายตนะ (รส) โผฏฐัพพายตนะ (สิ่งสัมผัสกาย เช่น ความเย็นความร้อน) และธัมมายตนะ (ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ) ได้แก่ สุขมรูป ๑๖ เจตสิก ๕๒ และอสังขตธาตุ (พระนิพพาน))
ค. จะเห็นได้ว่า คำว่า นิพพาน นั้นรวมลงใน ธัมมายตนะ ซึ่งหมายถึง อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ .. นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ (คือ พระนิพพาน)”
ฆ. พระนิพพานไม่มีอารมณ์ แต่พระนิพพานเป็นอารมณ์ คือ เป็นธรรมารมณ์
ง. ข้อว่า จิตรู้นิพพานได้นั้น หมายความว่า จิตของบุคคลผู้บรรลุมรรคญาณ ผลญาณ ในขณะนั้น จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มิได้หมายถึง จะมีจิตเกิดขึ้นเพื่อรับรู้ภาวะนิพพานอีก หลังการปรินิพพานของอรหันต์ ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ข้างต้นว่า “.. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ฯ”
จ. ในข้อที่ว่า (ไม่มี)ดิน น้ำ ไฟ ลม โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ก็หมายถึง ไม่มีรูปขันธ์เกิดขึ้น (เพราะรูปขันธ์ย่อมต้องประกอบขึ้นจากดิน น้ำ ลม ไฟ)
ฉ. ที่ตรัสว่า (ไม่มี)อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ หมายความว่า แม้เป็นอรูปภพ ก็ไม่ใช่
ช. ที่ตรัสว่า (ไม่ใช่)เป็นการมา เป็นการไป ก็หมายถึง สัตว์หรือวัตถุใดๆ มาเกิดก็มิได้ จากไปก็มิได้
ซ. ที่ตรัสว่า (ไม่มี)เป็นการตั้งอยู่ หมายถึง จะมีสัตว์หรือสังขารใดๆ มาปราฏอยู่ หรือมาตั้งคงที่อยู่ก็ไม่ได้
ฌ. ที่ตรัสว่า (ไม่มี)การจุติ การอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หมายความว่า สัตว์จะตาย(จุติ)ไปจากนิพพาน หรือจะมาเกิด(อุบัติ)ในนิพพานก็ไม่ได้ และนิพพานนั้นไม่ใช่ที่ตั้งที่อาศัย เพราะมิใช่สถานที่
ญ. ที่ตรัสว่า หาอารมณ์มิได้ หมายถึง ไม่มีอารมณ์อะไรจะให้รู้จะให้เห็นในนิพพานนั้น มีแต่เพียงนิพพานเท่านั้นเป็นสภาวะ (อุปมาคล้ายๆ กับท้องฟ้าเวิ้งว้างว่างเปล่ามืดสนิทไม่เห็นอะไร ย่อมไม่มีอารมณ์อะไรปรากฏ แต่ก็มีความไม่มี (สุญญตา) นั่นแลปรากฏแก่ผู้บรรลุ)
ฎ. ที่ตรัสว่า นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ หมายถึง พระนิพพาน
ฎ. ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงตรัสพระนิพพานว่า สุญโญ คือ ว่าง ที่โยมถามเรื่อง สุญญตา นั่นเอง นี้ตามหลักพระพุทธศาสนา เถรวาทของเรา
และสุดท้าย ขอยกพุทธพจน์ที่มาในตติยนิพพานสูตร (ขุ.อุ.๒๕/๑๖๐/๑๔๔) ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏฯ”
เอาล่ะ คงพอเข้าใจ ถึงคำว่า จิตเดิมแท้ หรือสุญญตา ในฝ่ายมหายาน และเถรวาทของเรา ว่าแตกต่างกันอย่างไร
โดยสรุปคือ คำว่า จิตเดิมแท้ หรือสุญญตา ในฝ่ายมหายาน ในประการแรก คือ การกลับไปสู่จิตดั้งเดิม ซึ่งไม่กิเลส เป็นพระอรหันต์อยู่ในพระนิพพาน ในแดนสุขาวดี เป็นต้น ส่วนเถรวาทเรา กล่าวคำว่า สุญญตา หมายถึง การไม่เกิดอีกของพระอรหันต์ (นี้ความหมายที่ ๑)
ต่อไปความหมายที่ ๒ คำว่า จิตเดิมแท้ หรือ สุญญตา นั้น ไม่ว่ามหายานหรือเถรวาท ต่างมีความหมายใกล้เคียงกันหรืออย่างเดียวกัน โดยจะขอยกเอา คำอธิบายในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ มาอธิบายความ ดังนี้คือ
๑ โดยศัพท์ คำว่า สุญญตา แปลว่า “ความเป็นสภาพสูญ” หรือความว่าง
๒ โดยความหมาย
ก. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
ข. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
ค. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าป็นสุญญตาด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
ง. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
ข้อมูลจากเฟสบุ๊ค จิตเดิมแท้ สุญญตา จิตว่าง และจิตประภัสสร เหมือนกันหรือไม่อย่างไร ?
โยมมีข้อสงสัยว่าเหตุใดพุทธมหายานถึงเน้นสอนเรื่อง "จิตเดิม"ที่เป็นสูญญตา คือตามรู้จิตว่าจิตเดิมนั้นว่างเป็นปกติ แต่ในขณะที่ทางพุทธเถรวาท มีพูดถึงเรื่องจิตประภัสสรบ้าง แต่ไม่เน้นเท่า จึงอยากทราบว่าเหมือนกันหรือไม่อย่างไรเจ้าคะ _/l\_ ๒๕ มกราคมเวลา ๙:๐๗ น.
---------------------
สำหรับคำถามของโยม อาตมาเข้ามาดูหลายวันแล้ว แต่ต้องขออภัย ไม่มีเวลาตอบให้เลย เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องลึกซึ้ง จะอธิบายเพียงสั้นๆ ก็ไม่ได้ จึงจะขอแยกตอบเป็นประเด็น ดังนี้คือ
๑ เหตุใดพุทธมหายานถึงเน้นสอนเรื่อง “จิตเดิม” ที่เป็นสุญญตา คือตามรู้จิตว่าจิตเดิมนั้นว่างเป็นปกติ
ตอบว่า ไม่ทราบสินะ
๒ อยากทราบว่า (จิตเดิม สุญญตา จิตว่าง และจิตประภัสสร) เหมือนกันหรือไม่อย่างไรเจ้าคะ
ตอบว่า ในที่นี้ต้องขอให้โยมสละเวลาสักนิด เพื่อศึกษาความหมายเกี่ยวกับคำว่า “จิตเดิมแท้” ในพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ซึ่งกล่าวด้วยเรื่อง พระนิพพาน ดังนี้คือ
ในฝ่ายมหายานนั้น ท่านจะสอนว่า “นิพพานนั้นเป็นอัตตา” ด้วยกันทั้งนั้น หมายความว่า มีชีวิตหลังความตายของพระอรหันต์ทั้งหลาย บ้างก็ว่า “พระอรหันต์ย่อมกลับคืนสู่ความเป็นจิตเดิมแท้ และตั้งอยู่นิรันดร์กาล” คำว่า นิพพาน ของท่านนั้น หมายถึง การ (มีจิตเดิมแท้) เข้าไปสู่ดินแดนใดดินแดนหนึ่ง บ้างเรียกว่า แดนสุขาวดี หรืออย่างในเมืองไทยเรา ก็มี อายตนะนิพพาน ของสำนักธรรมกาย เช่นกัน ซึ่งเป็นดินแดน ที่อยู่หลังการปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังจะเห็นได้จากนิยายจีนเรื่อง “ไซอิ๋ว” ซึ่งเป็นการเดินทางไปยังตะวันตก (ชมพูทวีป) เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎก ด้วยการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ แดนสุขาวดี บนสวรรค์
ซึ่งต่างจากหลักการของเถรวาทเรา ซึ่งปฏิเสธจิตเดิมแท้ในลักษณะเช่นว่านั้น โดยพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ของเถรวาทเรา ระบุไว้ชัดเจนว่า นิพพานนั้นเป็นอนัตตา (ไม่มีชีวิตหลังการปรินิพพาน)
ดังเช่น พระบาลีที่มาใน อัคคิวัจฉโคตตสูตร (ม.ม.๑๓/๒๔๔/๑๘๘) ครั้งนั้น ปริพาชกวัจฉโคตรทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?."
พระพุทธเจ้าทรงอุปมาตรัสว่า "ดูก่อนวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ .. ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา ... ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร. ข้าแต่ท่านพระโคดม .. ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่.
ดูก่อนวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว. ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว. ดูก่อนวัจฉะ ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร. ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเธอ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเธอ ดับไปแล้ว"
และพระบาลีที่มาใน วินย.ปริ.๘/๘๒๖/๒๒๔ ว่า “สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระนิพพานและบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา”
หรือพุทธพจน์ที่มาในปฐมนิพพานสูตร (ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๑๔๓) ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ”
จากพุทธพจน์บทนี้ พระอรรถกถาจารย์ (เล่ม ๔๔ หน้า ๗๑๘ มมร.) ได้วินิจฉัย โดยยกพุทธพจน์ขึ้นประกอบว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการมาของอะไรๆ จากที่ไหนๆ ที่เป็นไปตามสังขาร เพราะเหตุสักว่าธรรมเกิดในพระนิพพานนั้นตามปัจจัย อนึ่ง เราไม่กล่าวอาคติ คือการมาแต่ที่ไหนๆ ในอายตนะคือพระนิพพานนั้นอย่างนี้ เพราะพระนิพพานไม่มีฐานะที่จะพึงมา.”
บทว่า น คตึ ความว่า เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ เพราะฐานะที่พระนิพพานจะพึงถึงไม่มี. เพราะการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย เว้นการกระทำให้เป็นอารมณ์ด้วยญาณ ไม่มีในพระนิพพานนั้น.
อนึ่ง เราไม่กล่าวถึงฐิติ จุติ และอุปบัติ .. อายตนะแม้นั้น ชื่อว่าไม่มีการมา เพราะเป็นฐานะที่ไม่ควรมา เหมือนจากละแวกบ้านมาสู่ละแวกบ้าน. ชื่อว่าไม่มีการไป เพราะไม่เป็นฐานะที่จะควรไป. ชื่อว่าไม่มีฐิติ เพราะไม่มีฐานะที่จะตั้งอยู่ เหมือนแผ่นดินและภูเขาเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่าไม่มีการเกิด เพราะไม่มีปัจจัย. ชื่อว่าไม่มีจุติ เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น. เราไม่กล่าวฐิติ จุติ และอุปบัติ เพราะไม่มีการเกิดและการดับ และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ ที่กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง ๒ นั้น.
อนึ่ง พระนิพพานนั้นล้วนชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ เพราะมีสภาวะเป็นอรูป และเพราะไม่มีปัจจัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีที่ตั้ง. ชื่อว่า ไม่เป็นไป เพราะไม่มีความเป็นไปพร้อม และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไปในพระนิพพานนั้น. ชื่อว่า ไม่มีอารมณ์ เพราะไม่มีอารมณ์อะไรๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยว และ เพราะไม่มุ่งถึงอารมณ์ที่อุปถัมภ์ เหมือนสัมปยุตธรรมมีเวทนาเป็นต้น แม้ที่มีสภาวะเป็นอรูป (เป็นนาม) ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอายตนะ.
ในข้อนี้ จะขอคั่นจังหวะนิดหนึ่งเพื่ออธิบาย ซึ่งโยมจะเข้าใจได้ จำต้องศึกษาหลักธรรม (คำว่า อายตนะ) สักเล็กน้อย ดังนี้คือ
ก. คำว่า อายตนะ นั้น แปลอย่างง่ายว่า สิ่งเชื่อมต่อ แดนเชื่อมต่อ หรือธรรมชาติที่เชื่อมต่อเพื่อการรับรู้อารมณ์
ข. ในคำว่า อายตนะ นั้นมี ๑๒ คือ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ (อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๖๑)
- อายตนะภายใน ๖ นั้นได้แก่ จักขายตนะ (ตา) โสตายตนะ (หู) ฆานายตนะ (จมูก) ชิวหายตนะ (ลิ้น) กายายตนะ (กาย) และมนายตนะ (ใจ) นี้เป็นแดนเชื่อมต่อภายในของคนสัตว์ (กล่าวโดยสมมติ ถ้าโดยปรมัตถ์คือขันธ์ ๕) เพื่อรับรู้สิ่งต่างๆ
- อายตนะภายนอก ๖ นั้นได้แก่ รูปายตนะ (สี) สัททายตนะ (เสียง) คันธายตนะ (กลิ่น) รสายตนะ (รส) โผฏฐัพพายตนะ (สิ่งสัมผัสกาย เช่น ความเย็นความร้อน) และธัมมายตนะ (ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ) ได้แก่ สุขมรูป ๑๖ เจตสิก ๕๒ และอสังขตธาตุ (พระนิพพาน))
ค. จะเห็นได้ว่า คำว่า นิพพาน นั้นรวมลงใน ธัมมายตนะ ซึ่งหมายถึง อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ .. นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ (คือ พระนิพพาน)”
ฆ. พระนิพพานไม่มีอารมณ์ แต่พระนิพพานเป็นอารมณ์ คือ เป็นธรรมารมณ์
ง. ข้อว่า จิตรู้นิพพานได้นั้น หมายความว่า จิตของบุคคลผู้บรรลุมรรคญาณ ผลญาณ ในขณะนั้น จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มิได้หมายถึง จะมีจิตเกิดขึ้นเพื่อรับรู้ภาวะนิพพานอีก หลังการปรินิพพานของอรหันต์ ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ข้างต้นว่า “.. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ฯ”
จ. ในข้อที่ว่า (ไม่มี)ดิน น้ำ ไฟ ลม โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ก็หมายถึง ไม่มีรูปขันธ์เกิดขึ้น (เพราะรูปขันธ์ย่อมต้องประกอบขึ้นจากดิน น้ำ ลม ไฟ)
ฉ. ที่ตรัสว่า (ไม่มี)อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ หมายความว่า แม้เป็นอรูปภพ ก็ไม่ใช่
ช. ที่ตรัสว่า (ไม่ใช่)เป็นการมา เป็นการไป ก็หมายถึง สัตว์หรือวัตถุใดๆ มาเกิดก็มิได้ จากไปก็มิได้
ซ. ที่ตรัสว่า (ไม่มี)เป็นการตั้งอยู่ หมายถึง จะมีสัตว์หรือสังขารใดๆ มาปราฏอยู่ หรือมาตั้งคงที่อยู่ก็ไม่ได้
ฌ. ที่ตรัสว่า (ไม่มี)การจุติ การอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หมายความว่า สัตว์จะตาย(จุติ)ไปจากนิพพาน หรือจะมาเกิด(อุบัติ)ในนิพพานก็ไม่ได้ และนิพพานนั้นไม่ใช่ที่ตั้งที่อาศัย เพราะมิใช่สถานที่
ญ. ที่ตรัสว่า หาอารมณ์มิได้ หมายถึง ไม่มีอารมณ์อะไรจะให้รู้จะให้เห็นในนิพพานนั้น มีแต่เพียงนิพพานเท่านั้นเป็นสภาวะ (อุปมาคล้ายๆ กับท้องฟ้าเวิ้งว้างว่างเปล่ามืดสนิทไม่เห็นอะไร ย่อมไม่มีอารมณ์อะไรปรากฏ แต่ก็มีความไม่มี (สุญญตา) นั่นแลปรากฏแก่ผู้บรรลุ)
ฎ. ที่ตรัสว่า นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ หมายถึง พระนิพพาน
ฎ. ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงตรัสพระนิพพานว่า สุญโญ คือ ว่าง ที่โยมถามเรื่อง สุญญตา นั่นเอง นี้ตามหลักพระพุทธศาสนา เถรวาทของเรา
และสุดท้าย ขอยกพุทธพจน์ที่มาในตติยนิพพานสูตร (ขุ.อุ.๒๕/๑๖๐/๑๔๔) ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏฯ”
เอาล่ะ คงพอเข้าใจ ถึงคำว่า จิตเดิมแท้ หรือสุญญตา ในฝ่ายมหายาน และเถรวาทของเรา ว่าแตกต่างกันอย่างไร
โดยสรุปคือ คำว่า จิตเดิมแท้ หรือสุญญตา ในฝ่ายมหายาน ในประการแรก คือ การกลับไปสู่จิตดั้งเดิม ซึ่งไม่กิเลส เป็นพระอรหันต์อยู่ในพระนิพพาน ในแดนสุขาวดี เป็นต้น ส่วนเถรวาทเรา กล่าวคำว่า สุญญตา หมายถึง การไม่เกิดอีกของพระอรหันต์ (นี้ความหมายที่ ๑)
ต่อไปความหมายที่ ๒ คำว่า จิตเดิมแท้ หรือ สุญญตา นั้น ไม่ว่ามหายานหรือเถรวาท ต่างมีความหมายใกล้เคียงกันหรืออย่างเดียวกัน โดยจะขอยกเอา คำอธิบายในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ มาอธิบายความ ดังนี้คือ
๑ โดยศัพท์ คำว่า สุญญตา แปลว่า “ความเป็นสภาพสูญ” หรือความว่าง
๒ โดยความหมาย
ก. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
ข. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
ค. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าป็นสุญญตาด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
ง. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย