อนัตตากับสุญญตา เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามองคนละด้าน
อนัตตากับสุญญตา เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามองคนละด้านเท่านั้นเอง
"อนัตตา" ก็คือ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ว่าเรายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ส่วน "สุญญตา" ก็คือ เราไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละเป็นภาวะสุญญตา เท่ากัน เพียงแต่มุมมองต่างกันเท่านั้ันเอง แต่ข้างในผล หรืออานิสงส์เท่ากัน เป็นของคู่กัน
เราต้องลบอนัตตา คือไม่ยึดมั่นถือมั่น เราจึงจะเข้าสู่ภาวะสุญญตา เพราะเราเข้าใจสุญญตาจึงสามารถดำรงความอนัตตา เห็นไหม?เป็นของคู่กัน เหมือนหยินหยางเลย
แต่ทำไมทางนิกายเถรวาท (theravāda) ถึงไม่ค่อยพูดถึงสุญญตามากนัก ส่วนมากที่พูดกันก็มักจะเป็นทางฝ่ายนิกายมหายาน (大乘) ไม่อยากจะเชื่อมโยงกัน เพราะต่างฝ่าย ต่างนิกายมีทิฏฐิว่า ถือว่าตนเหนือกว่า นี่เป็นการผิดพลาดของศาสนาพุทธ ตรงนี้ไม่น่าจะเป็นทิฏฐิเลย พอต่างกันต่างถือทิฏฐิก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิทันที ทำให้ตัวถูกต้อง ถูกแยก เหมือนกับพระอาทิตย์ และดวงจันทร์จะต้องอยู่คู่กับโลก อยู่ดีๆ เราไม่แยกซะ นี่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทำไมถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะว่าในธรรม (ธรรมชาติ) เขาคู่กัน แต่เราไม่แยกกัน คุณมีอนัตตาคุณก็มีสุญญตา คุณมีสุญญตาจึงดำรงความอนัตตา ฉะนั้น อนัตตาและสุญญตาเป็นหนึ่งเดียวที่คู่กัน เขาเรียกว่า เป็นคู่หนึ่งที่ดำรงธรรม ถ้าทั้ง ๒ นี้ถูกตัดเมื่อไหร่ เป็นธรรมนั้นที่ไม่สมบูรณ์
สุญญตา คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นจึงเกิดภาวะสุญญตา คือ ไม่มี
สมมติว่าตอนนี้เรามีแก้ว ๑ ใบ เราไม่ยึดมั่นถือมั่น หมายความว่า สิ่งนั้นมีอยู่ แต่...!!! สิ่งนั้นไม่มีสำหรับเรา นั่นแหละคือภาวะสุญญตา เราทำไมถึงอยู่ในภาวะสุญญตาได้ เพราะว่าเราเข้าใจ "อนัตตา" ถึงแม้มี "อัตตา" แต่ว่าเราจะไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเช่นนั้นอยู่ตลอดไม่ได้ เห็นไหม? มันคู่กัน
เราเข้าสู่ภาวะสุญญตาก็เพราะว่าเราเข้าใจอนัตตา เราจะเข้าใจอนัตตา ก็เพราะว่าเราเข้าใจถึงภาวะสุญญตา ฉะนั้น ภาวะแห่งสุญญตากับอนัตตา เป็นฝ่ามืออันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ทางฝ่ายเถรวาท ยังพอพูด สุญญตาบ้าง แต่ทางฝ่ายมหายานไม่พูดถึงอนัตตาเลย?
ก็เพราะคิดว่า ของมหายานดีอยู่แล้ว ก็เลยไม่ไปแตะ ถ้าไปแตะก็เหมือนกับเป็นลูกจอก ต่างฝ่าย ต่างนิกายต่างถือทิฏฐิ
แต่ทำไม ทางฝ่ายเถรวาทยังมีพูดอยู่?
ก็เพราะว่า ใหม่ๆ ยังไม่มีมหายาน แต่มหายาน ถึงถือว่าสุญญตา แยกไป เพราะว่าทางฝ่ายเถรวาทพูดน้อย ก็ขอเป็นทางฝ่ายมหายานเด่นไปเลย
แต่ถ้าหากว่าทางฝ่ายมหายานเด่น ก็แสดงว่าไปตามเถรวาท ฉะนั้น เกิดจากทิฏฐิ การเปรียบเทียบ แล้วอยากเอาชนะ นี่แหละ จึงถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ สิ่งที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็คือต้องไปคู่กัน
ทางฝ่ายนิกายเถรวาท ถือว่าจิตจะว่างไม่ได้ จิตไม่มีว่าง จิตว่างจากอารมณ์เด็ดขาดนั้นไม่มีเลย เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะต้องรู้อารมณ์ “อารมฺมณํวิชานาติ” ธรรมชาติของจิตจะต้องรู้อารมณ์เป็นนิจ
จิตว่างจากอารมณ์ไม่ได้ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าเราไม่ไปยึดเท่านั้นเอง ถ้าหากว่าจิตว่าง ก็แสดงว่าเราจะรับรู้กันไม่ได้สิ ทุกอย่างต้องมีหมด ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์หรือการรับรู้ แต่เราจะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ แค่นี้หลักการนี้ง่ายที่สุดเลย
อารมณ์ในภาวะแห่งธรรมจะมี ๓ ตัว คือ ดี เลว และกลางๆ นี่คือลักษณะของอารมณ์
ถ้าอารมณ์นิพพานล่ะ เป็นเช่นใด?
ก็ไม่ถูกอารมณ์ ๓ ตัวนี้ครอบงำ คือ อารมณ์ดี อารมณ์เลว และอารมณ์กลางๆ ก็เป็นอารมณ์นิพพาน แต่ถ้าถูกครอบงำก็ไม่ใช่นิพพานแล้ว ถ้าหากว่าอารมณ์นิพพานก็คือ เข้าใจซึ้งประจักษ์ในอารมณ์ทั้ง ๓ ตัวนี้ แล้วไม่เอาทั้ง ๓ ตัวนี้ เรามีตัวที่๔ ก็คือ อารมณ์ที่ไม่ให้ ๓ ตัวนี้ครอบงำ ก็จบ ชื่อของอารมณ์นิพพานก็คือ "ไม่ให้ครอบงำ" ถ้ามีกิเลส ๑๐ แต่กิเลสทั้ง ๑๐ ตัวนี้ครอบงำไม่ได้ แล้วกิเลส ๑๐ ตัวนี้มีความหมายไหม? ก็ไม่มีความหมายสำหรับเรา เขาเรียกว่า ปฏิเสธพื้นฐานแห่งอารมณ์ธรรม ก็คือ มี ๓ ตัว แต่ตัวอารมณ์ที่สูงขึ้นไปก็คือ อารมณ์ปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ที่ ๔ คือ อารมณ์แห่งการไม่ให้ถูกครอบงำ เพราะรู้เท่าทัน เพราะว่าเป็นตัวปัญญารู้เท่าทัน เป็นมหาปัญญา เป็นตัวพุทธะ รู้เท่าทันอารมณ์ ๓ ตัวนี้ ๓ ตัวนี้ก็หมดฤทธิ์เอง เขาจะมีฤทธิ์เดชแค่ไหน เราไม่ได้รับ ก็จบ!! เรารู้ทัน
พระอรหันต์ก็ต้องรู้อารมณ์ แต่ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ
แม้แต่เข้าสู่ภาวะนิพพานก็ต้องมีอารมณ์เช่นเดียวกัน แต่เป็นอารมณ์ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ ถืออารมณ์ตัวที่ ๔
จิตว่างจากอารมณ์ไม่ได้ ว่างจากกิเลสก็ไม่ได้ เราต้องแปลก่อนว่า คำว่า "ว่าง"นี้ แปลว่า ไม่ถูกครอบงำ คนจะเข้าใจง่าย คุณจะไปว่างแล้วอยู่เฉยๆ ให้กิเลสหายไปไม่ได้ เพราะกิเลสหายไปไม่ได้ ก็เหมือนกับอารมณ์ อารมณ์หายไปไม่ได้ เพราะว่ากิเลสก็เป็นอารมณ์ตัวหนึ่ง
แต่ถ้าเข้าสู่ภาวะสุญญตาก็มีกิเลส แต่กิเลสนี้ไม่สามารถครอบงำจิตเรา หรือแม้แต่อารมณ์นิพพานก็ยังมีกิเลส แต่ก็เลสไม่สามารถครอบงำจิตเราได้
ภาวะนิพพานก็คือ เสวยอารมณ์ที่ไม่ถูกครอบงำ ทั้งดี ทั้งชั่ว และกลางๆ
จิตของพระอรหันต์เป็นกิริยาจิต หมายความว่า ทีแรกก็รับรู้ พอตอนหลังก็ผิดกับธรรม ทีนี้รับรู้หนึ่งเรื่อง ก็เป็นกิริยาจิตอรหันต์หนึ่งเรื่อง พอไปเรื่อยๆ ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะมีหลายกรรม สมมติว่า เรารู้ว่าสิ่งนี้เป็นดอกไม้สวย ก็มันเป็นมายาธรรม เรารู้แล้ว ทีนี้ต่อไป ผู้หญิงสวยงาม ก็รู้ด้วยก็เป็นอีกหนึ่งตอน
กิริยาจิต เป็นวิบากกรรมออกมาแล้ว คือ มีกรรมไปเชื่อมแล้ว แต่ถ้าไม่เชื่อมก็ดำรงคิดอยู่ข้างใน แต่ก็ยังเป็นวิบากอยู่ข้างในของเรา ถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะเป็นวิบากไปพ่วงแล้ว เขาเรียกว่า "กิริยาจิต" คือ จิตพร้อมให้ไปถึงเป็นกิริยา
อนัตตากับสุญญตา เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามองคนละด้าน
อนัตตากับสุญญตา เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามองคนละด้านเท่านั้นเอง
"อนัตตา" ก็คือ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ว่าเรายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ส่วน "สุญญตา" ก็คือ เราไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละเป็นภาวะสุญญตา เท่ากัน เพียงแต่มุมมองต่างกันเท่านั้ันเอง แต่ข้างในผล หรืออานิสงส์เท่ากัน เป็นของคู่กัน
เราต้องลบอนัตตา คือไม่ยึดมั่นถือมั่น เราจึงจะเข้าสู่ภาวะสุญญตา เพราะเราเข้าใจสุญญตาจึงสามารถดำรงความอนัตตา เห็นไหม?เป็นของคู่กัน เหมือนหยินหยางเลย
แต่ทำไมทางนิกายเถรวาท (theravāda) ถึงไม่ค่อยพูดถึงสุญญตามากนัก ส่วนมากที่พูดกันก็มักจะเป็นทางฝ่ายนิกายมหายาน (大乘) ไม่อยากจะเชื่อมโยงกัน เพราะต่างฝ่าย ต่างนิกายมีทิฏฐิว่า ถือว่าตนเหนือกว่า นี่เป็นการผิดพลาดของศาสนาพุทธ ตรงนี้ไม่น่าจะเป็นทิฏฐิเลย พอต่างกันต่างถือทิฏฐิก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิทันที ทำให้ตัวถูกต้อง ถูกแยก เหมือนกับพระอาทิตย์ และดวงจันทร์จะต้องอยู่คู่กับโลก อยู่ดีๆ เราไม่แยกซะ นี่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทำไมถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะว่าในธรรม (ธรรมชาติ) เขาคู่กัน แต่เราไม่แยกกัน คุณมีอนัตตาคุณก็มีสุญญตา คุณมีสุญญตาจึงดำรงความอนัตตา ฉะนั้น อนัตตาและสุญญตาเป็นหนึ่งเดียวที่คู่กัน เขาเรียกว่า เป็นคู่หนึ่งที่ดำรงธรรม ถ้าทั้ง ๒ นี้ถูกตัดเมื่อไหร่ เป็นธรรมนั้นที่ไม่สมบูรณ์
สุญญตา คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นจึงเกิดภาวะสุญญตา คือ ไม่มี
สมมติว่าตอนนี้เรามีแก้ว ๑ ใบ เราไม่ยึดมั่นถือมั่น หมายความว่า สิ่งนั้นมีอยู่ แต่...!!! สิ่งนั้นไม่มีสำหรับเรา นั่นแหละคือภาวะสุญญตา เราทำไมถึงอยู่ในภาวะสุญญตาได้ เพราะว่าเราเข้าใจ "อนัตตา" ถึงแม้มี "อัตตา" แต่ว่าเราจะไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเช่นนั้นอยู่ตลอดไม่ได้ เห็นไหม? มันคู่กัน
เราเข้าสู่ภาวะสุญญตาก็เพราะว่าเราเข้าใจอนัตตา เราจะเข้าใจอนัตตา ก็เพราะว่าเราเข้าใจถึงภาวะสุญญตา ฉะนั้น ภาวะแห่งสุญญตากับอนัตตา เป็นฝ่ามืออันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ทางฝ่ายเถรวาท ยังพอพูด สุญญตาบ้าง แต่ทางฝ่ายมหายานไม่พูดถึงอนัตตาเลย?
ก็เพราะคิดว่า ของมหายานดีอยู่แล้ว ก็เลยไม่ไปแตะ ถ้าไปแตะก็เหมือนกับเป็นลูกจอก ต่างฝ่าย ต่างนิกายต่างถือทิฏฐิ
แต่ทำไม ทางฝ่ายเถรวาทยังมีพูดอยู่?
ก็เพราะว่า ใหม่ๆ ยังไม่มีมหายาน แต่มหายาน ถึงถือว่าสุญญตา แยกไป เพราะว่าทางฝ่ายเถรวาทพูดน้อย ก็ขอเป็นทางฝ่ายมหายานเด่นไปเลย
แต่ถ้าหากว่าทางฝ่ายมหายานเด่น ก็แสดงว่าไปตามเถรวาท ฉะนั้น เกิดจากทิฏฐิ การเปรียบเทียบ แล้วอยากเอาชนะ นี่แหละ จึงถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ สิ่งที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็คือต้องไปคู่กัน
ทางฝ่ายนิกายเถรวาท ถือว่าจิตจะว่างไม่ได้ จิตไม่มีว่าง จิตว่างจากอารมณ์เด็ดขาดนั้นไม่มีเลย เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะต้องรู้อารมณ์ “อารมฺมณํวิชานาติ” ธรรมชาติของจิตจะต้องรู้อารมณ์เป็นนิจ
จิตว่างจากอารมณ์ไม่ได้ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าเราไม่ไปยึดเท่านั้นเอง ถ้าหากว่าจิตว่าง ก็แสดงว่าเราจะรับรู้กันไม่ได้สิ ทุกอย่างต้องมีหมด ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์หรือการรับรู้ แต่เราจะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ แค่นี้หลักการนี้ง่ายที่สุดเลย
อารมณ์ในภาวะแห่งธรรมจะมี ๓ ตัว คือ ดี เลว และกลางๆ นี่คือลักษณะของอารมณ์
ถ้าอารมณ์นิพพานล่ะ เป็นเช่นใด?
ก็ไม่ถูกอารมณ์ ๓ ตัวนี้ครอบงำ คือ อารมณ์ดี อารมณ์เลว และอารมณ์กลางๆ ก็เป็นอารมณ์นิพพาน แต่ถ้าถูกครอบงำก็ไม่ใช่นิพพานแล้ว ถ้าหากว่าอารมณ์นิพพานก็คือ เข้าใจซึ้งประจักษ์ในอารมณ์ทั้ง ๓ ตัวนี้ แล้วไม่เอาทั้ง ๓ ตัวนี้ เรามีตัวที่๔ ก็คือ อารมณ์ที่ไม่ให้ ๓ ตัวนี้ครอบงำ ก็จบ ชื่อของอารมณ์นิพพานก็คือ "ไม่ให้ครอบงำ" ถ้ามีกิเลส ๑๐ แต่กิเลสทั้ง ๑๐ ตัวนี้ครอบงำไม่ได้ แล้วกิเลส ๑๐ ตัวนี้มีความหมายไหม? ก็ไม่มีความหมายสำหรับเรา เขาเรียกว่า ปฏิเสธพื้นฐานแห่งอารมณ์ธรรม ก็คือ มี ๓ ตัว แต่ตัวอารมณ์ที่สูงขึ้นไปก็คือ อารมณ์ปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ที่ ๔ คือ อารมณ์แห่งการไม่ให้ถูกครอบงำ เพราะรู้เท่าทัน เพราะว่าเป็นตัวปัญญารู้เท่าทัน เป็นมหาปัญญา เป็นตัวพุทธะ รู้เท่าทันอารมณ์ ๓ ตัวนี้ ๓ ตัวนี้ก็หมดฤทธิ์เอง เขาจะมีฤทธิ์เดชแค่ไหน เราไม่ได้รับ ก็จบ!! เรารู้ทัน
พระอรหันต์ก็ต้องรู้อารมณ์ แต่ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ
แม้แต่เข้าสู่ภาวะนิพพานก็ต้องมีอารมณ์เช่นเดียวกัน แต่เป็นอารมณ์ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ ถืออารมณ์ตัวที่ ๔
จิตว่างจากอารมณ์ไม่ได้ ว่างจากกิเลสก็ไม่ได้ เราต้องแปลก่อนว่า คำว่า "ว่าง"นี้ แปลว่า ไม่ถูกครอบงำ คนจะเข้าใจง่าย คุณจะไปว่างแล้วอยู่เฉยๆ ให้กิเลสหายไปไม่ได้ เพราะกิเลสหายไปไม่ได้ ก็เหมือนกับอารมณ์ อารมณ์หายไปไม่ได้ เพราะว่ากิเลสก็เป็นอารมณ์ตัวหนึ่ง
แต่ถ้าเข้าสู่ภาวะสุญญตาก็มีกิเลส แต่กิเลสนี้ไม่สามารถครอบงำจิตเรา หรือแม้แต่อารมณ์นิพพานก็ยังมีกิเลส แต่ก็เลสไม่สามารถครอบงำจิตเราได้
ภาวะนิพพานก็คือ เสวยอารมณ์ที่ไม่ถูกครอบงำ ทั้งดี ทั้งชั่ว และกลางๆ
จิตของพระอรหันต์เป็นกิริยาจิต หมายความว่า ทีแรกก็รับรู้ พอตอนหลังก็ผิดกับธรรม ทีนี้รับรู้หนึ่งเรื่อง ก็เป็นกิริยาจิตอรหันต์หนึ่งเรื่อง พอไปเรื่อยๆ ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะมีหลายกรรม สมมติว่า เรารู้ว่าสิ่งนี้เป็นดอกไม้สวย ก็มันเป็นมายาธรรม เรารู้แล้ว ทีนี้ต่อไป ผู้หญิงสวยงาม ก็รู้ด้วยก็เป็นอีกหนึ่งตอน
กิริยาจิต เป็นวิบากกรรมออกมาแล้ว คือ มีกรรมไปเชื่อมแล้ว แต่ถ้าไม่เชื่อมก็ดำรงคิดอยู่ข้างใน แต่ก็ยังเป็นวิบากอยู่ข้างในของเรา ถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะเป็นวิบากไปพ่วงแล้ว เขาเรียกว่า "กิริยาจิต" คือ จิตพร้อมให้ไปถึงเป็นกิริยา