กำลังค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ค่ะ อยากทราบว่าตามที่เราเข้าใจถูกต้องมั้ย ถ้าส่วนไหนไม่ถูกต้องหรือมีอะไรเสริมหรืออธิบายเพิ่มเติมรบกวนด้วยนะคะ 🙏
1. ในนิกายมหายาน “สุญญตา” คือ ความว่าง (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Emptiness ซึ่งแตกต่างจาก Nothingness ที่แปลว่า “ความไม่มีอยู่” ดังนั้น ความว่าง ไม่ได้หมายความว่า ไม่มี) และทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องอาศัยเหตุและปัจจัยเสมอ (Duality) เพราะฉะนั้น การเข้าสู่นิพพานจะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อจิตเข้าสู่สภาวะสุญญตา ปราศจากเหตุและปัจจัยหนุนนำ (Non-Duality) ในขณะที่ “สุญญตา” ในนิกายเถรวาท หมายถึง อนัตตา ความว่างจากกิเลส ความว่างของจิตในระหว่างการเจริญสมาธิ
2. “สุญญตา” ของมหายาน = “อนัตตา” กับ “มัชฌิมาปฏิปทา” (ทางสายกลาง) ของเถรวาท
3. “สุญญตา” เป็น ปรมัตถ์ (ความจริงอันประเสริฐ) ของมหายาน
4. “นิพพาน” และ “สังสารวัฏ” คือ สิ่งเดียวกันในมหายาน (คู่กันเสมือนซ้ายกับขวา/แยกไม่ได้) << ไม่แน่ใจว่าเป็นแนวคิดของพระนาคารชุนรูปเดียวมั้ย แต่แนวคิดนี้ก็ไปทางเดียวกันกับนิกายวชิรญาณและนิกายเซน
5. เป้าหมายสูงสุดของทั้งสองนิกายต่างกัน “อรหัตตผล” ของมหายาน ยังไม่ใช่ที่สุด ถือว่าพระอรหันต์ยังไม่สมบูรณ์แบบ (สังเกตได้ว่ามหายานใช้คำภาษาอังกฤษว่า “Enlightened One” และคำว่าสาวก “Shravaka” ในภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ผู้ฟังคำสอนของอาจารย์และประกาศคำสอนนั้น ในการเรียกพระอรหันต์ แต่เถรวาทใช้ทั้ง “Perfected One” และ “Enlightened One”) ความสมบูรณ์แบบของมหายานจะต้องเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ภารกิจต่อไปเป็นการสั่งสมบุญบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยชอบด้วยพระองค์เอง ในขณะที่ “อรหัตตผล” ของเถรวาทถือว่าเป็นการถึงที่สุดแห่งธรรม และเป็นผู้ที่ไม่เวียนว่ายเกิดอีก (Non-returner) << แสดงว่าพระอรหันต์ของมหายานยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่??
6. การบรรลุนิพพานของมหายาน ทุกคนสามารถบรรลุได้ แต่ของเถรวาท สามารถบรรลุได้เฉพาะบุคคลเท่านั้น
ในเรื่อง "อนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธเจ้า" ทั้งสองนิกายมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน คือ มีสภาวะเป็น “ความว่าง” ไม่มีตัวตน ยกตัวอย่างคำอธิบายในมิลินทปัญหา พระเจ้าเมนันเดอร์ถามพระนาคเสนเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าว่าหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วไปไหน พระนาคเสนตอบว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในสภาวะนิโรธ ภาษาไทยใช้คำนี้มั้ยไม่ทราบค่ะ ใครทราบรบกวนบอกหน่อยนะคะ แต่ภาษาบาลีในอักษรโรมัน คือ Bhava Nirodha (Cessation of Existence) ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ไหน เปรียบได้กับเปลวไฟที่ดับแล้ว ซึ่งก็ไม่มีใครสามารถบอกได้เหมือนกันว่าเปลวไฟหายไปอยู่ที่ไหน การเปรียบเทียบลักษณะนี้คล้ายกับที่พระนาคารชุนเปรียบไฟกับเชื้อเพลิงในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน (Duality) กล่าวคือ เชื้อเพลิงต้องอาศัยไฟ และไฟก็ต้องอาศัยเชื้อเพลิง และไฟที่ว่านี้ก็เปรียบได้กับความมีอยู่ของขันธ์ทั้ง 5 << สรุปได้มั้ยว่ามหายานมีหลักคิดแบบนี้ไปในแนวเดียวกันทั้งหมด? ส่วนนิกายเถรวาท ยกตัวอย่างในยมกสูตร พระยมกะถามพระสารีบุตรว่าเมื่อพระพุทธเจ้าสิ้นไปแล้ว ถือว่าดับสูญ ไม่มีการเกิดอีกจริงมั้ย พระสารีบุตรก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสแบบนั้น และความคิดลักษณะนี้ก็เป็นมิจฉาทิฐิ << หมายความว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในสภาวะที่ว่าง ไม่ดับสูญ แต่ก็ไม่มีอัตตา ไม่มีชีวะ ไม่มีเจตภูต แบบนี้เราเข้าใจถูกต้องรึเปล่าคะ? แต่เราก็งง ๆ นะ เพราะมีหลายแหล่งเหมือนกันที่บอกว่า “ดับสูญโดยสิ้นเชิง” ตกลงเราควรยึดคำในพระสูตรใช่มั้ยคะ? แล้วมันมีข้อแตกต่างระหว่างสองนิกายอื่น ๆ อีกมั้ยในประเด็นนี้ ในปริจเฉทที่ 6 มีคำอธิบายเกี่ยวกับในส่วนนี้หรือมั้ยคะ
(ถามผู้รู้ค่ะ) ความแตกต่าง/ความคล้ายของ "สุญญตา" และ "อนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธเจ้า" ในบริบทของมหายานและเถรวาท
1. ในนิกายมหายาน “สุญญตา” คือ ความว่าง (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Emptiness ซึ่งแตกต่างจาก Nothingness ที่แปลว่า “ความไม่มีอยู่” ดังนั้น ความว่าง ไม่ได้หมายความว่า ไม่มี) และทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องอาศัยเหตุและปัจจัยเสมอ (Duality) เพราะฉะนั้น การเข้าสู่นิพพานจะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อจิตเข้าสู่สภาวะสุญญตา ปราศจากเหตุและปัจจัยหนุนนำ (Non-Duality) ในขณะที่ “สุญญตา” ในนิกายเถรวาท หมายถึง อนัตตา ความว่างจากกิเลส ความว่างของจิตในระหว่างการเจริญสมาธิ
2. “สุญญตา” ของมหายาน = “อนัตตา” กับ “มัชฌิมาปฏิปทา” (ทางสายกลาง) ของเถรวาท
3. “สุญญตา” เป็น ปรมัตถ์ (ความจริงอันประเสริฐ) ของมหายาน
4. “นิพพาน” และ “สังสารวัฏ” คือ สิ่งเดียวกันในมหายาน (คู่กันเสมือนซ้ายกับขวา/แยกไม่ได้) << ไม่แน่ใจว่าเป็นแนวคิดของพระนาคารชุนรูปเดียวมั้ย แต่แนวคิดนี้ก็ไปทางเดียวกันกับนิกายวชิรญาณและนิกายเซน
5. เป้าหมายสูงสุดของทั้งสองนิกายต่างกัน “อรหัตตผล” ของมหายาน ยังไม่ใช่ที่สุด ถือว่าพระอรหันต์ยังไม่สมบูรณ์แบบ (สังเกตได้ว่ามหายานใช้คำภาษาอังกฤษว่า “Enlightened One” และคำว่าสาวก “Shravaka” ในภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ผู้ฟังคำสอนของอาจารย์และประกาศคำสอนนั้น ในการเรียกพระอรหันต์ แต่เถรวาทใช้ทั้ง “Perfected One” และ “Enlightened One”) ความสมบูรณ์แบบของมหายานจะต้องเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ภารกิจต่อไปเป็นการสั่งสมบุญบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยชอบด้วยพระองค์เอง ในขณะที่ “อรหัตตผล” ของเถรวาทถือว่าเป็นการถึงที่สุดแห่งธรรม และเป็นผู้ที่ไม่เวียนว่ายเกิดอีก (Non-returner) << แสดงว่าพระอรหันต์ของมหายานยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่??
6. การบรรลุนิพพานของมหายาน ทุกคนสามารถบรรลุได้ แต่ของเถรวาท สามารถบรรลุได้เฉพาะบุคคลเท่านั้น
ในเรื่อง "อนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธเจ้า" ทั้งสองนิกายมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน คือ มีสภาวะเป็น “ความว่าง” ไม่มีตัวตน ยกตัวอย่างคำอธิบายในมิลินทปัญหา พระเจ้าเมนันเดอร์ถามพระนาคเสนเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าว่าหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วไปไหน พระนาคเสนตอบว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในสภาวะนิโรธ ภาษาไทยใช้คำนี้มั้ยไม่ทราบค่ะ ใครทราบรบกวนบอกหน่อยนะคะ แต่ภาษาบาลีในอักษรโรมัน คือ Bhava Nirodha (Cessation of Existence) ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ไหน เปรียบได้กับเปลวไฟที่ดับแล้ว ซึ่งก็ไม่มีใครสามารถบอกได้เหมือนกันว่าเปลวไฟหายไปอยู่ที่ไหน การเปรียบเทียบลักษณะนี้คล้ายกับที่พระนาคารชุนเปรียบไฟกับเชื้อเพลิงในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน (Duality) กล่าวคือ เชื้อเพลิงต้องอาศัยไฟ และไฟก็ต้องอาศัยเชื้อเพลิง และไฟที่ว่านี้ก็เปรียบได้กับความมีอยู่ของขันธ์ทั้ง 5 << สรุปได้มั้ยว่ามหายานมีหลักคิดแบบนี้ไปในแนวเดียวกันทั้งหมด? ส่วนนิกายเถรวาท ยกตัวอย่างในยมกสูตร พระยมกะถามพระสารีบุตรว่าเมื่อพระพุทธเจ้าสิ้นไปแล้ว ถือว่าดับสูญ ไม่มีการเกิดอีกจริงมั้ย พระสารีบุตรก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสแบบนั้น และความคิดลักษณะนี้ก็เป็นมิจฉาทิฐิ << หมายความว่า พระพุทธเจ้าอยู่ในสภาวะที่ว่าง ไม่ดับสูญ แต่ก็ไม่มีอัตตา ไม่มีชีวะ ไม่มีเจตภูต แบบนี้เราเข้าใจถูกต้องรึเปล่าคะ? แต่เราก็งง ๆ นะ เพราะมีหลายแหล่งเหมือนกันที่บอกว่า “ดับสูญโดยสิ้นเชิง” ตกลงเราควรยึดคำในพระสูตรใช่มั้ยคะ? แล้วมันมีข้อแตกต่างระหว่างสองนิกายอื่น ๆ อีกมั้ยในประเด็นนี้ ในปริจเฉทที่ 6 มีคำอธิบายเกี่ยวกับในส่วนนี้หรือมั้ยคะ