ต่อยอดสนามบินสุวรรณภูมิ ต่อยอดวิสัยทัศน์ทักษิณ ต่อยอดประเทศไทย

กระทู้ข่าว
แม้การเมืองไม่นิ่ง แต่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ก็สามารถดำเนินการต่อยอดสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส สอง ได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากฝ่ายการเมือง
นี่ต้องยกให้เป็นเครดิตของทักษิณที่อาจหาญดำเนินการสร้างสนามบินประวัติศาสตร์ "หนองงูเห่า" จนสำเร็จเปิดดำเนินการได้ หลังจากการปฏิวัติรัฐประหารในปี 49 เพียง 9 วัน ซึ่งเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 นั่นเอง

http://guru.sanook.com/8444/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4/



อวดโฉม "สุวรรณภูมิ" เฟส 2 สไตล์ไทยประยุกต์ ลดโลกร้อน

updated: 07 เม.ย 2557 เวลา 14:01:08 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ปล่อย ให้รอกันมานาน สำหรับบิ๊กโปรเจ็กต์ขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 ที่ "ทอท." หรือบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ควักเม็ดเงินถึง 62,503 ล้านบาท มาก่อสร้าง ซึ่งกำลังจะเปิดขายซองประมูลต้นเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อรองรับผู้โดยสารและสายการบินที่ล้น จนเกินขีดความสามารถที่อาคารผู้โดยสารเดิมจะรองรับได้ 45 ล้านคนต่อปี

สำหรับเฟสใหม่อยู่ในรัศมีห่างจากอาคารผู้โดยสารหลังเก่าประมาณ 1 กิโลเมตร จะมี "รถ APM" (Automated People Mover) มาเชื่อมการเดินทางระหว่าง 2 อาคารอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร อย่างที่หลายประเทศได้พัฒนามาแล้ว

ภายในโครงการประกอบด้วย "อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1" พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านกิจกรรมการบินอย่างครบถ้วน รวมทั้งลานจอดอากาศยานประชิดอาคาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบลำเลียงกระเป๋าที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักและอาคารเทียบ เครื่องบินรองหลังที่ 1

ลักษณะเป็นอาคาร 4 ชั้น มีใต้ดิน 2 ชั้น รวม 6 ชั้น มีพื้นที่ 216,000 ตารางเมตร โดยชั้น 1 เป็นสำนักงาน ชั้น 2 ส่วนขาเข้า ชั้น 3 ส่วนขาออก และชั้น 4 เป็นพื้นที่บริการผู้โดยสาร พิเศษ จะมีประตูทางออกเชื่อมกับหลุมจอดประชิดอาคาร 28 หลุมจอด มีพื้นที่ 960,000 ตารางเมตร รองรับเครื่องบินแอร์บัส 380 ได้ 8 หลุมจอด และโบอิ้ง 747 ได้ 20 หลุมจอด ขณะที่ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น จะเป็นส่วนของสถานีระบบรถ APM และระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า

"ส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวัน ออก" จะเพิ่มขีดความสามารถของอาคารผู้โดยสารหลักของสุวรรณภูมิ ให้รองรับผู้โดยสารได้จำนวน 60 ล้านคนต่อปี โดยจะทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น 60,000 ตารางเมตร จะเป็นการปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารให้ได้รับความสะดวกสบาย และบริการที่รวดเร็ว และ "อาคารสำนักงาน" ของสายการบิน และ จอดรถด้านทิศตะวันออก จะเป็นอาคารสำนักงานพร้อมที่จอดรถยนต์ในพื้นที่ เป็นอาคาร 2 ส่วน ด้านหน้าเป็นอาคารสำนักงานสูง 4 ชั้น พื้นที่ประมาณ 35,000 ตารางเมตร

ด้านหลังเป็นอาคารที่จอดรถ 5 ชั้น และดาดฟ้าอีก 1 ชั้น พื้นที่ประมาณ 32,000 ตารางเมตร ซึ่งอาคารจอดรถจะสามารถจอดรถยนต์ได้ 1,000 คัน ทำให้มีพื้นที่จอดรถภายในอาคารรวมทั้งสิ้น 6,000 คัน และมีพื้นที่จอดรถได้อีก 500 คัน รวมเป็นที่จอดรถที่เตรียมไว้ทั้งสิ้น 6,500 คัน

ขณะที่การออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับเฟสใหม่ จะใช้ "ระบบ Modular" (ชิ้นส่วนสำเร็จรูป) เพื่อก่อสร้างได้เร็วและประหยัด ทำให้มีความรู้สึกกลมกลืนกับอาคารปัจจุบัน โดยเปลือกผิวนอกอาคารทั้ง 2 ด้านจะออกแบบให้มีขนาดที่ไม่เท่ากัน ให้สอดรับกับทิศทางของแสงแดด ซึ่งช่องแสงบนหลังคาจะเปิดในตำแหน่งที่ตรงกับส่วนด้านล่างและส่วนอาคารที่มีความกว้างมาก

ใน ส่วนโค้งของหลังคาจะลาดเอียงลงจนถึงปลายสุดของอาคาร แต่บริเวณหลังคาส่วนกลางของอาคารที่อยู่บนตำแหน่งของพื้นที่ร้านค้าและ อุโมงค์เชื่อมจะออกแบบให้ต่างจากจุดอื่น เพื่อเป็นจุดเด่นของอาคาร ทั้ง หมดจะเน้นการดีไซน์ให้มีความเป็นไทยและใช้วัสดุที่ผลิตในประเทศ เพื่อดูแลรักษาง่าย ส่วนสถาปัตยกรรมภายในอาคาร จะใช้วัสดุในประเทศและใช้ลวดลายไทยมาตกแต่ง เช่น บริเวณฝ้าจะใช้ลายจักสานและลายผ้าไหม เสาจะเป็นแบบค้ำยันและพญานาค ส่วนผนังตกแต่งด้วยกระเบื้องศิลาดล และช่องเปิดเป็นหลังคากูบช้าง

สิ่งสำคัญ การออกแบบอาคารจะให้เป็นแบบยั่งยืน เพื่อเข้ากับเทรนด์ของโลกที่หันมาลดภาวะโลกร้อน ประหยัดพลังงาน ด้วยการใช้แสงธรรมชาติลดการเปิดไฟ และใช้โซลาร์เซลล์ช่วยลดการใช้พลังงาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่