AOT เผยปี 55 จำนวนผู้โดยสารโต 11.9% เที่ยวบินเพิ่มขึ้น 10.5%
วันศุกร์ที่ 04 มกราคม 2556 เวลา 17:05:56 น.
จากข่าวหุันออนไลน์
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง รักษาการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานด้านการให้บริการในปี 55 จากข้อมูลเบื้องต้นปริมาณจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งภายใต้การกำกับดูแลของ AOT มีผู้โดยสารรวมประมาณ 74,261,000 คน เพิ่มขึ้น 11.9% เป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 46,012,000 คน ผู้โดยสารภายในประเทศ 28,249,000 คน
เที่ยวบินมีจำนวนราว 496,749 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 10.5% เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 275,422 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 221,327 เที่ยวบิน ซึ่งในภาพรวมปริมาณการจราจรทางอากาศส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.)ถึง 51,462,000 คน และเที่ยวบิน 312,493 เที่ยวบิน รองลงมาคือท่าอากาศยานภูเก็ต 9,446,000 คน และมีเที่ยวบินใช้บริการประมาณ 60,457 เที่ยวบิน
ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ตามโครงการพัฒนาปีงบประมาณ 54-60 ว่า ภายในเดือน มิ.ย.55 จะมีการว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการฯ ได้แก่ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา EPM Consortium เพื่อจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคาของงานออกแบบ และคาดว่าจะประกวดราคาและได้ผู้ออกแบบภายในเดือนเม.ย.56
จากนั้นจะใช้เวลา 10 เดือน (พ.ค.56-ก.พ.57) เพื่อออกแบบงาน 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1) งานออกแบบกลุ่มงานอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย อาคารเทียบเครื่องบินรอง ลานจอดอากาศยานประชิดอาคาร และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้และระบบขนส่งผู้โดยสาร 2) กลุ่มงานอาคารผู้โดยสาร ซึ่งประกอบด้วย ส่วนขยายอาคารผู้โดยสารไปทางด้านทิศตะวันออก และอาคารสำนักงานและอาคารจอดรถ และ 3) กลุ่มงานออกแบบระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และหลังจากนั้นภายในปี 57 จะจัดทำข้อกำหนดจัดจ้างและคาดว่าจะได้ผู้ก่อสร้างและผู้ควบคุมงานในเดือน ส.ค.57
ขณะที่โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระหว่างปี 53-57 ให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก 6.5 ล้านคน เป็น 12.5 ล้านคนต่อปีนั้น ทอท.ได้เริ่มก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์และลานเอนกประสงค์ อาคารสำนักงาน อาคารสำนักงานส่วนบำรุงรักษาและคลัง รวมถึงงานก่อสร้างอาคารบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (GSE) และอาคาร Operation & Maintenance (O&M) และงานก่อสร้างคลังสินค้าไปแล้วในปี 55 และในปีนี้จะเริ่มก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
การพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองในปี 56 มีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 อาคารเทียบเครื่องบิน 5 อาคารที่จอดรถยนต์ 7 ชั้น รวมทั้งปรับปรุงระบบสื่อสารและระบบสาธารณูปโภค ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้เป็น 27.5 ล้านคนต่อปีจนถึงปี 70
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงการให้บริการท่าอากาศยาน โดยในปี 56 มีแผนจะย้ายเคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารทั้งหมดที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขึ้นไปอยู่ที่ชั้น 6 ของอาคารผู้โดยสาร และจะปรับปรุงพื้นที่ปัจจุบันในส่วนของผู้โดยสารขาออกดูโล่ง โปร่งตา และมีพื้นที่ให้บริการผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นอีก 1,000 ตารางเมตร ซึ่งจะให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ทอท.ยังให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงจากการดำเนินงานของ ทสภ. ซึ่ง ทอท.ได้ชดเชยค่าเสียหายจากผลกระทบด้านเสียง โดยในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทางเสียงที่อาศัยในพื้นที่ NEF มากกว่า 40 ที่ก่อสร้างก่อนปี 2544
ปัจจุบัน ทอท.ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว 163 อาคาร และจ่ายเงินปรับปรุงอาคารเพื่อลดผลกระทบด้านเสียงไปแล้ว 416 อาคาร สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ NEF 30-40 ทอท.ได้จ่ายเงินค่าปรับปรุงอาคารแล้ว 13,129 อาคาร นอกจากนั้น ยังได้จ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสถานที่อ่อนไหวต่อผลกระทบด้านเสียง ได้แก่ สถานศึกษา สถานพยาบาล และศาสนสถาน รวมแล้ว 21 แห่ง ซึ่งรวมเงินชดเชยผลกระทบทางเสียงที่ ทอท.จ่ายแล้วรวม 3,901,982,722.96 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 17 ธันวาคม 2555)
รวมกระทู้ Wild Rabbit (5 มกราคม 2556)
วันศุกร์ที่ 04 มกราคม 2556 เวลา 17:05:56 น.
จากข่าวหุันออนไลน์
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง รักษาการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานด้านการให้บริการในปี 55 จากข้อมูลเบื้องต้นปริมาณจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งภายใต้การกำกับดูแลของ AOT มีผู้โดยสารรวมประมาณ 74,261,000 คน เพิ่มขึ้น 11.9% เป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 46,012,000 คน ผู้โดยสารภายในประเทศ 28,249,000 คน
เที่ยวบินมีจำนวนราว 496,749 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 10.5% เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 275,422 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภายในประเทศ 221,327 เที่ยวบิน ซึ่งในภาพรวมปริมาณการจราจรทางอากาศส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.)ถึง 51,462,000 คน และเที่ยวบิน 312,493 เที่ยวบิน รองลงมาคือท่าอากาศยานภูเก็ต 9,446,000 คน และมีเที่ยวบินใช้บริการประมาณ 60,457 เที่ยวบิน
ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ตามโครงการพัฒนาปีงบประมาณ 54-60 ว่า ภายในเดือน มิ.ย.55 จะมีการว่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการฯ ได้แก่ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา EPM Consortium เพื่อจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคาของงานออกแบบ และคาดว่าจะประกวดราคาและได้ผู้ออกแบบภายในเดือนเม.ย.56
จากนั้นจะใช้เวลา 10 เดือน (พ.ค.56-ก.พ.57) เพื่อออกแบบงาน 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1) งานออกแบบกลุ่มงานอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย อาคารเทียบเครื่องบินรอง ลานจอดอากาศยานประชิดอาคาร และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้และระบบขนส่งผู้โดยสาร 2) กลุ่มงานอาคารผู้โดยสาร ซึ่งประกอบด้วย ส่วนขยายอาคารผู้โดยสารไปทางด้านทิศตะวันออก และอาคารสำนักงานและอาคารจอดรถ และ 3) กลุ่มงานออกแบบระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และหลังจากนั้นภายในปี 57 จะจัดทำข้อกำหนดจัดจ้างและคาดว่าจะได้ผู้ก่อสร้างและผู้ควบคุมงานในเดือน ส.ค.57
ขณะที่โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระหว่างปี 53-57 ให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก 6.5 ล้านคน เป็น 12.5 ล้านคนต่อปีนั้น ทอท.ได้เริ่มก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์และลานเอนกประสงค์ อาคารสำนักงาน อาคารสำนักงานส่วนบำรุงรักษาและคลัง รวมถึงงานก่อสร้างอาคารบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (GSE) และอาคาร Operation & Maintenance (O&M) และงานก่อสร้างคลังสินค้าไปแล้วในปี 55 และในปีนี้จะเริ่มก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
การพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองในปี 56 มีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 อาคารเทียบเครื่องบิน 5 อาคารที่จอดรถยนต์ 7 ชั้น รวมทั้งปรับปรุงระบบสื่อสารและระบบสาธารณูปโภค ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้เป็น 27.5 ล้านคนต่อปีจนถึงปี 70
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงการให้บริการท่าอากาศยาน โดยในปี 56 มีแผนจะย้ายเคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารทั้งหมดที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขึ้นไปอยู่ที่ชั้น 6 ของอาคารผู้โดยสาร และจะปรับปรุงพื้นที่ปัจจุบันในส่วนของผู้โดยสารขาออกดูโล่ง โปร่งตา และมีพื้นที่ให้บริการผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นอีก 1,000 ตารางเมตร ซึ่งจะให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ทอท.ยังให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงจากการดำเนินงานของ ทสภ. ซึ่ง ทอท.ได้ชดเชยค่าเสียหายจากผลกระทบด้านเสียง โดยในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทางเสียงที่อาศัยในพื้นที่ NEF มากกว่า 40 ที่ก่อสร้างก่อนปี 2544
ปัจจุบัน ทอท.ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว 163 อาคาร และจ่ายเงินปรับปรุงอาคารเพื่อลดผลกระทบด้านเสียงไปแล้ว 416 อาคาร สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ NEF 30-40 ทอท.ได้จ่ายเงินค่าปรับปรุงอาคารแล้ว 13,129 อาคาร นอกจากนั้น ยังได้จ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงสถานที่อ่อนไหวต่อผลกระทบด้านเสียง ได้แก่ สถานศึกษา สถานพยาบาล และศาสนสถาน รวมแล้ว 21 แห่ง ซึ่งรวมเงินชดเชยผลกระทบทางเสียงที่ ทอท.จ่ายแล้วรวม 3,901,982,722.96 ล้านบาท (ข้อมูล ณ 17 ธันวาคม 2555)