จากข่าวนี้
จากที่คณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่มี น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานมีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม เห็นชอบให้ท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับเที่ยวบินแบบเต็มรูปแบบ (Full Service) เช่นเดียวกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งจะทำให้ท่าอากาศยานดอนเมืองไม่มีข้อจำกัดทางการบินและสามารถรองรับการเติบโตของผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอทบทวนมติเดิมที่กำหนดบทบาทท่าอากาศยานดอนเมืองให้รองรับสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Carriers : LCCs) และ/หรือเส้นทางการบินในประเทศ และระหว่างประเทศแบบจุดต่อจุด (Point to Point) บนหลักการของความสมัครใจของสายการบิน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การพัฒนาสนามบินดอนเมืองเต็มรูปแบบอีกครั้ง เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า นโยบายการพัฒนาสนามบินของประเทศไทยอาจจะต้องปรับใหม่ จากที่มุ่งขยายขีดความสามารถสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคนต่อปี การก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับสนามบินดอนเมืองมากนักแต่เมื่อพบว่าการขยายสุวรรณภูมิไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจนถึงวันนี้ ปัญหาผลกระทบทางเสียงและการชดเชยกับประชาชน ยังไม่เรียบร้อยและพร้อมที่จะมีการประท้วงได้ตลอดเวลา ประกอบกับการขนส่งทางอากาศมีการเติบโตสูง การขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 ต้องเวลาอีกอย่างน้อย 4-5 ปี ส่วนสนามบินดอนเมืองใช้เวลาปรับปรุงแค่ 1-2 ปีศักยภาพการรองรับผู้โดยสารกลับมาอยู่ที่ 35 ล้านคนต่อปี
เหมือนช่วงก่อนถูกปิดเมื่อปี 2549 ได้
“พื้นที่ของดอนเมืองมีความพร้อมมากแต่เสียดายที่ถูกปิดไปเมื่อปี 2549 ซึ่งตอนนั้นเกรงว่าถ้าไม่ปิดดอนเมือง สุวรรณภูมิอาจจะไม่มีสายการบินไปใช้ ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่จะเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิกับดอนเมืองและรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ชะงักด้วย ต้องยอมรับว่านโยบาย Single Airport เกิดจากผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับสนามบินทั้งร้านค้าต่างๆ สินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) บริการต่างๆ สำหรับผู้โดยสารและสายการบิน ซึ่งมีกลุ่มทุนจับจองกันไว้แล้ว และเมื่อดอนเมืองเปิดบริการเต็มรูปแบบอีกครั้ง ผลประโยชน์ทางธุรกิจก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย”
ที่มา www.manager.co.th
และข่าวนี้
นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้ทอท.อยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษาของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)สำหรับการเข้ามาสำรวจทุกระบบภายในท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเตรียมนำเสนอคณะกรรมการลงทุนของบริษัทและบอร์ดทอท.พิจารณา ถึงแผนลงทุนขยายท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับการขยายตัวของปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้วสท.ได้เข้ามาตรวจสอบใน 7 เรื่อง ได้แก่ การสำรวจความแข็งแรงของอาคารว่าเพียงพอต่อการใช้งานตลอด 20-30 ปีข้างหน้า และระบบไฟฟ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่หรือไม่ เพื่อป้องกันการช็อตจากการใช้ไฟฟ้าภายในสนามบินที่เพิ่มขึ้น ระบบแอร์ สเปเชียล อีควิปเมนต์ต่างๆ อาทิ อุปกรณ์การให้บริการเทียบเครื่องบิน ระบบประปา น้ำเสีย ไอที เช็กอินต่างๆ หลังจากท่าอากาศยานดอนเมืองได้ปิดการให้บริการเต็มรูปแบบทุกส่วนนานกว่า 7 ปีและมีปัญหาน้ำท่วมก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าเบ็ดเสร็จการขยายท่าอากาศยานดอนเมืองน่าจะใช้งบลงทุนไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท
โดยผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่าจะต้องมีการปรับปรุงหลักในเรื่องของระบบโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบปรับอากาศ ภูมิสถาปัตย์เพื่อคนพิการ ซึ่งต้องปรับปรุงในหลายพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ภายในสำนักงานของทอท.ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง 6.7 หมื่นตารางเมตร (ตร.ม.) บริเวณชั้น 4 ของอาคารผู้โดยสาร อาคาร1 พื้นที่ 1.97 หมื่นตร.ม. อาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 ที่ต้องปรับปรุงทั้งหมด 5 ชั้น ในพื้นที่รวม7.33 หมื่นตร.ม.
อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ3.6 หมื่นตร.ม. อาคารจอดรถ 7 ชั้น พื้นที่ 5.39 หมื่นตร.ม. และอาคารจอดรถ 5 ชั้น พื้นที่1.84 หมื่นตร.ม.ซึ่งการปรับปรุงอาคารจอดรถจะปรับปรุงทุกอย่างยกเว้นระบบปรับอากาศที่ไม่จำเป็นต้องมี การปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลาง 1.36 หมื่นตร.ม.4ชั้น
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการปรับปรุงบริเวณอาคารเทียบเครื่องบินทางทิศใต้ 3.8 หมื่นตร.ม. การปรับปรุงหลุมจอดประชิดอาคารเทียบเครื่องบิน2-6 พื้นที่3.83 หมื่นตร.ม. การปรับปรุงอาคารคาร์โก 1-4 พื้นที่อยู่ที่ราว 1.59 หมื่นตร.ม.ต่อ1คาร์โก
"เฉพาะการลงทุนในส่วนดังกล่าวข้างต้นจะอยู่ที่ 6 พันล้านบาท แต่หากรวมการลงทุนที่ยังขาดอีก 2-3 ระบบในเรื่องการจัดหาสเปเชียลอีควิปเมนต์ต่างๆ ระบบไฟฟ้าสนามบิน ซึ่งมีงบลงทุนประมาณ 2.5 พันล้านบาท เบ็ดเสร็จการลงทุนขยายท่าอากาศยานดอนเมืองไม่น่าจะเกิน 1 หมื่นล้านบาท "นายสมชัย กล่าวและว่า
สำหรับแผนในการลงทุนทอท.จะเร่งในส่วนของการขยายท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 2 เป็นหลักก่อน โดยงานหลักจะมีการเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 ปรับปรุงอาคารเทียบเครื่องบิน เพื่อขยายศักยภาพการรองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก18.5ล้านคน เป็น 27.5 ล้านคน ในปี 2563 โดยการขยายท่าอากาศยานดอนเมืองเฟส 2 ถือเป็นโครงการเร่งด่วน ที่จะต้องทำเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ให้การพิจารณาสนับสนุน เพื่อที่ทอท.จะเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้
ที่มาจาก ฐานเศรษฐกิจ เดือนมีนาคม 2556
ไหนๆ ถ้าจะเปิดดอนเมืองเต็มรูปแบบ แถมตั้งงบไว้แล้วหมื่นกว่าล้าน งั้นขอแบบนี้ได้ไหมครับ
จากที่คณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่มี น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานมีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม เห็นชอบให้ท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับเที่ยวบินแบบเต็มรูปแบบ (Full Service) เช่นเดียวกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งจะทำให้ท่าอากาศยานดอนเมืองไม่มีข้อจำกัดทางการบินและสามารถรองรับการเติบโตของผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอทบทวนมติเดิมที่กำหนดบทบาทท่าอากาศยานดอนเมืองให้รองรับสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Carriers : LCCs) และ/หรือเส้นทางการบินในประเทศ และระหว่างประเทศแบบจุดต่อจุด (Point to Point) บนหลักการของความสมัครใจของสายการบิน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การพัฒนาสนามบินดอนเมืองเต็มรูปแบบอีกครั้ง เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า นโยบายการพัฒนาสนามบินของประเทศไทยอาจจะต้องปรับใหม่ จากที่มุ่งขยายขีดความสามารถสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก 45 ล้านคนเป็น 60 ล้านคนต่อปี การก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับสนามบินดอนเมืองมากนักแต่เมื่อพบว่าการขยายสุวรรณภูมิไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจนถึงวันนี้ ปัญหาผลกระทบทางเสียงและการชดเชยกับประชาชน ยังไม่เรียบร้อยและพร้อมที่จะมีการประท้วงได้ตลอดเวลา ประกอบกับการขนส่งทางอากาศมีการเติบโตสูง การขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 ต้องเวลาอีกอย่างน้อย 4-5 ปี ส่วนสนามบินดอนเมืองใช้เวลาปรับปรุงแค่ 1-2 ปีศักยภาพการรองรับผู้โดยสารกลับมาอยู่ที่ 35 ล้านคนต่อปี
เหมือนช่วงก่อนถูกปิดเมื่อปี 2549 ได้
“พื้นที่ของดอนเมืองมีความพร้อมมากแต่เสียดายที่ถูกปิดไปเมื่อปี 2549 ซึ่งตอนนั้นเกรงว่าถ้าไม่ปิดดอนเมือง สุวรรณภูมิอาจจะไม่มีสายการบินไปใช้ ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่จะเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิกับดอนเมืองและรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ชะงักด้วย ต้องยอมรับว่านโยบาย Single Airport เกิดจากผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับสนามบินทั้งร้านค้าต่างๆ สินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) บริการต่างๆ สำหรับผู้โดยสารและสายการบิน ซึ่งมีกลุ่มทุนจับจองกันไว้แล้ว และเมื่อดอนเมืองเปิดบริการเต็มรูปแบบอีกครั้ง ผลประโยชน์ทางธุรกิจก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย”
ที่มา www.manager.co.th
และข่าวนี้
นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้ทอท.อยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษาของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)สำหรับการเข้ามาสำรวจทุกระบบภายในท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเตรียมนำเสนอคณะกรรมการลงทุนของบริษัทและบอร์ดทอท.พิจารณา ถึงแผนลงทุนขยายท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับการขยายตัวของปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้วสท.ได้เข้ามาตรวจสอบใน 7 เรื่อง ได้แก่ การสำรวจความแข็งแรงของอาคารว่าเพียงพอต่อการใช้งานตลอด 20-30 ปีข้างหน้า และระบบไฟฟ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่หรือไม่ เพื่อป้องกันการช็อตจากการใช้ไฟฟ้าภายในสนามบินที่เพิ่มขึ้น ระบบแอร์ สเปเชียล อีควิปเมนต์ต่างๆ อาทิ อุปกรณ์การให้บริการเทียบเครื่องบิน ระบบประปา น้ำเสีย ไอที เช็กอินต่างๆ หลังจากท่าอากาศยานดอนเมืองได้ปิดการให้บริการเต็มรูปแบบทุกส่วนนานกว่า 7 ปีและมีปัญหาน้ำท่วมก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าเบ็ดเสร็จการขยายท่าอากาศยานดอนเมืองน่าจะใช้งบลงทุนไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท
โดยผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่าจะต้องมีการปรับปรุงหลักในเรื่องของระบบโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบปรับอากาศ ภูมิสถาปัตย์เพื่อคนพิการ ซึ่งต้องปรับปรุงในหลายพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ภายในสำนักงานของทอท.ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง 6.7 หมื่นตารางเมตร (ตร.ม.) บริเวณชั้น 4 ของอาคารผู้โดยสาร อาคาร1 พื้นที่ 1.97 หมื่นตร.ม. อาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 ที่ต้องปรับปรุงทั้งหมด 5 ชั้น ในพื้นที่รวม7.33 หมื่นตร.ม.
อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ3.6 หมื่นตร.ม. อาคารจอดรถ 7 ชั้น พื้นที่ 5.39 หมื่นตร.ม. และอาคารจอดรถ 5 ชั้น พื้นที่1.84 หมื่นตร.ม.ซึ่งการปรับปรุงอาคารจอดรถจะปรับปรุงทุกอย่างยกเว้นระบบปรับอากาศที่ไม่จำเป็นต้องมี การปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลาง 1.36 หมื่นตร.ม.4ชั้น
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการปรับปรุงบริเวณอาคารเทียบเครื่องบินทางทิศใต้ 3.8 หมื่นตร.ม. การปรับปรุงหลุมจอดประชิดอาคารเทียบเครื่องบิน2-6 พื้นที่3.83 หมื่นตร.ม. การปรับปรุงอาคารคาร์โก 1-4 พื้นที่อยู่ที่ราว 1.59 หมื่นตร.ม.ต่อ1คาร์โก
"เฉพาะการลงทุนในส่วนดังกล่าวข้างต้นจะอยู่ที่ 6 พันล้านบาท แต่หากรวมการลงทุนที่ยังขาดอีก 2-3 ระบบในเรื่องการจัดหาสเปเชียลอีควิปเมนต์ต่างๆ ระบบไฟฟ้าสนามบิน ซึ่งมีงบลงทุนประมาณ 2.5 พันล้านบาท เบ็ดเสร็จการลงทุนขยายท่าอากาศยานดอนเมืองไม่น่าจะเกิน 1 หมื่นล้านบาท "นายสมชัย กล่าวและว่า
สำหรับแผนในการลงทุนทอท.จะเร่งในส่วนของการขยายท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 2 เป็นหลักก่อน โดยงานหลักจะมีการเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 ปรับปรุงอาคารเทียบเครื่องบิน เพื่อขยายศักยภาพการรองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก18.5ล้านคน เป็น 27.5 ล้านคน ในปี 2563 โดยการขยายท่าอากาศยานดอนเมืองเฟส 2 ถือเป็นโครงการเร่งด่วน ที่จะต้องทำเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ให้การพิจารณาสนับสนุน เพื่อที่ทอท.จะเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้
ที่มาจาก ฐานเศรษฐกิจ เดือนมีนาคม 2556