เป็นประจำทุกปีที่ บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) ทำการสำรวจเรื่องแนวโน้มทรัพยากรบุคคลและประเด็นท้าทายของอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศไทย (Thailand Flash Survey, HR Trends and Challenging Issues) โดยในแต่ละปีจะมีประเด็นสำคัญอยู่ที่ การเปิดเผยแนวโน้มการขึ้นเงินเดือนของอุตสาหกรรมในประเทศ อัตราการเข้า-ออกของพนักงาน และโจทย์ที่ท้าทายของฝ่ายทรัพยากรบุคคล
เคมีภัณฑ์-ไฮเทค แชมป์ขึ้นเงินเดือนสูง
ล่าสุดจากการสำรวจเรื่องแนวโน้มทรัพยากรบุคคลและประเด็นท้าทายของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทย ในไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2557 ซึ่งได้ดำเนินการช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยมีบริษัทต่างๆ เข้าร่วม 93 บริษัท พบว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยมีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 6%
ขณะเดียวกันก็พบว่า ไตรมาส 1 ที่ผ่านมามีการชะลอการจ้างงาน เนื่องมาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์การเมือง ทำให้ตัดสินใจการลงทุนล่าช้า ซึ่งอาจจะส่งผลไปในไตรมาสที่ 2 และ 3 หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้
"พิชญ์พจี สายเชื้อ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาวเวอร์ วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากรายงานผลสำรวจเรื่องแนวโน้มทรัพยากรบุคคลและประเด็นท้าทายของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2557 ระบุว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยมีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น 5.4% ในปี 2556 และสำหรับปี 2557 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็น 6% ครอบคลุมอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการเงิน ธุรกิจประกันภัย โรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนนิกส์ อุตสาหกรรมไฮเทค และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
สำหรับปี 2557 จากการคาดการณ์อุตสาหกรรมที่มีอัตราเงินเดือนเพิ่มสูงมากที่สุด อันดับที่หนึ่ง คืออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6.2% และรองลงมาคือ อุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และโรงงานอุตสาหกรรม เฉลี่ยที่ 6%
ทั้งนี้แม้ความวุ่นวายจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย และภาพรวมเศรษฐกิจของไทยที่ไม่สดใสนัก และอาจจะส่งผลถึงอัตราการขึ้นเงินเดือนอยู่มาก ซึ่งจากการสำรวจดังกล่าวนี้จะเป็นเพียงค่าเฉลี่ย แต่ปัจจัยสำคัญจะอยู่ที่สถานการณ์ทางการเมือง และเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ และขึ้นอยู่กับบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ ว่าจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
วิศวกร-นักวิจัย เงินเดือนสตาร์ตสูง
นอกจากนี้ "พิชญ์พจี" กล่าวอีกว่า จากข้อมูลอัตราเงินเดือนของพนักงานระดับเริ่มต้น ปี 2556 พบว่า กลุ่มผู้ที่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาด้านการวิจัยและพัฒนา มีอัตราเงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยสูงสุดที่ 18,000 บาทต่อเดือน โดยตำแหน่งวิศวกรเริ่มต้นที่ 19,200 บาทต่อเดือน ตำแหน่งงานวิจัยและพัฒนา 17,900 บาทต่อเดือน ตำแหน่งงานด้านไอที 17,500 บาทต่อเดือน
ส่วนในแง่ของแนวโน้มอัตราเงินเดือนอาจจะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเข้าไปทำงานในบริษัทต่าง ๆ ได้แก่ ตำแหน่งวิศวกร การขาย และบัญชี นอกจากนี้ตำแหน่งงานที่ความต้องการในการจ้างงานที่มากขึ้นในอนาคตของประเทศไทย ประกอบด้วย ตำแหน่งวิศวกร การขาย บัญชี โรงงานอุตสาหกรรม วิจัยพัฒนา
ทั้งนี้ ตำแหน่งงานในอนาคตที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง คือ ตำแหน่งวิจัยและพัฒนา เนื่องจากความต้องการในการพัฒนา คิดค้นสินค้า และการควบคุมคุณภาพ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จึงทำให้ตำแหน่งงานนี้มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพในการส่งออก
ประกัน-การเงิน เทิร์นโอเวอร์สูง
จากผลการสำรวจชิ้นนี้ยังระบุด้วยว่า อัตราการเข้า-ออกของพนักงาน (Turnover Rate) มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธุรกิจประกันภัย 20% ตามด้วยกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน 18% และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17.3% โดยค่าเฉลี่ยอัตราการเข้า-ออกของพนักงานอยู่ที่ 9.35% ในช่วงปี 2551 ถึงปี 2554 ซึ่งมีปัจจัยมาจากการแข่งขันที่สูง และมีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา
ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้อัตราการเข้า-ออกของพนักงานสูงขึ้นมาจากผู้บริหารและหัวหน้างาน โดยที่เขาเหล่านั้นไม่มีความเข้าใจตัวของพนักงานอย่างแท้จริง อีกทั้งความเห็นพ้องในด้านวิสัยทัศน์ไม่ตรงกัน ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารและหัวหน้างานต้องมีบทบาทในการเป็นผู้นำที่ดี รวมถึงการเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคลไปในตัว เพื่อเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับพนักงาน
อย่างไรก็ตามจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยและโรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการสูง เนื่องจากขาดแคลนพนักงาน ด้วยมีการเข้าออกของพนักงานที่สูง
นอกจากนี้จากผลสำรวจยังพบว่า สาขางานด้านวิศวกรรมศาสตร์ และงานขาย เป็นกลุ่มที่บริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญกับประเด็นเรื่องการดึงดูดและการรักษาพนักงานมากที่สุด ซึ่งทำให้การรักษาคนเก่งจึงเป็นประเด็นที่ท้าทายอันดับหนึ่งของฝ่ายทรัพยากรบุคคลติดต่อกันในปี 2556 และ 2557
ประเด็นที่สำคัญของการดึงดูดและการรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทมากที่สุด คือการเปิดโอกาสให้พนักงานที่มีความสามารถได้มีการเติบโตทางด้านสายงาน ซึ่งการลงทุนในการรักษาพนักงานเอาไว้จะคุ้มค่ากว่าการรับพนักงานใหม่ อีกทั้งควรมีอัตราฐานเงินเดือนที่สูง รวมถึงความท้าทายของงานที่จะสามารถดึงดูดความสนใจในการทำงาน เนื่องจากบุคลากรที่มีศักยภาพสูงนั้นหายาก จึงเป็นความท้าทายของแต่ละองค์กรในการบริหารจัดการคนเก่ง เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถที่จะแข่งขันได้
เข้มภาษี-พัฒนาผู้นำรับเปิดเออีซี
นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ ยังได้เผยถึงกลยุทธ์ในการรับมือกับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ สถานการณ์รุนแรงทางการเมือง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งในส่วนนี้ "พิชญ์พจี" กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลสำรวจ 3 อันดับแรกของกลยุทธ์ในการรับมือ ได้แก่ ทบทวนกลยุทธ์ทางการตลาด (45%), ทบทวนนโยบายด้านความปลอดภัย และการแก้ไขปัญหาในการทำงาน (44%) และอนุมัติการทำงานนอกสถานที่ (42%) ในขณะที่บริษัทส่วนน้อยเพียง 7% เลือกการปลดพนักงานออก
ปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการประเมินปัจจัยภายนอกมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นการวางแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญมาก สำหรับการเตรียมแผนรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดเพื่อให้แน่ใจได้ว่า พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันการสำรวจยังสอบถามถึงกลยุทธ์การรักษาคนเก่งของบริษัทต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ที่จะถึงนี้ โดยผลสำรวจที่มาเป็นอันดับหนึ่งถึง 65% คือ การจัดอบรมทางภาษาให้แก่พนักงาน ตามด้วยอันดับสอง 58% คือ การพัฒนาความพร้อมของผู้นำ ซึ่งเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากขึ้น
สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารคือต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ
ในตอนท้าย "พิชญ์พจี" ยังกล่าวอีกว่า สำหรับปี 2015 อัตราเงินเดือนเฉลี่ยคงอยู่ในอัตรา 5.6-6% แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเดือนเปลี่ยนแปลงไป คือ ความมั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ อุปสงค์อุปทานของคนในประเทศ และอัตราการว่างงาน
ที่มา บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) ในประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 4 เม.ย. 2557
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand
93 องค์กรขึ้นเงินเดือนสวนทาง ศก. "อุตฯเคมีภัณฑ์-อิเล็กทรอนิกส์" แชมป์
เคมีภัณฑ์-ไฮเทค แชมป์ขึ้นเงินเดือนสูง
ล่าสุดจากการสำรวจเรื่องแนวโน้มทรัพยากรบุคคลและประเด็นท้าทายของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศไทย ในไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2557 ซึ่งได้ดำเนินการช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยมีบริษัทต่างๆ เข้าร่วม 93 บริษัท พบว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยมีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 6%
ขณะเดียวกันก็พบว่า ไตรมาส 1 ที่ผ่านมามีการชะลอการจ้างงาน เนื่องมาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์การเมือง ทำให้ตัดสินใจการลงทุนล่าช้า ซึ่งอาจจะส่งผลไปในไตรมาสที่ 2 และ 3 หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้
"พิชญ์พจี สายเชื้อ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาวเวอร์ วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากรายงานผลสำรวจเรื่องแนวโน้มทรัพยากรบุคคลและประเด็นท้าทายของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2557 ระบุว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยมีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น 5.4% ในปี 2556 และสำหรับปี 2557 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็น 6% ครอบคลุมอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการเงิน ธุรกิจประกันภัย โรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนนิกส์ อุตสาหกรรมไฮเทค และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
สำหรับปี 2557 จากการคาดการณ์อุตสาหกรรมที่มีอัตราเงินเดือนเพิ่มสูงมากที่สุด อันดับที่หนึ่ง คืออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6.2% และรองลงมาคือ อุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และโรงงานอุตสาหกรรม เฉลี่ยที่ 6%
ทั้งนี้แม้ความวุ่นวายจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย และภาพรวมเศรษฐกิจของไทยที่ไม่สดใสนัก และอาจจะส่งผลถึงอัตราการขึ้นเงินเดือนอยู่มาก ซึ่งจากการสำรวจดังกล่าวนี้จะเป็นเพียงค่าเฉลี่ย แต่ปัจจัยสำคัญจะอยู่ที่สถานการณ์ทางการเมือง และเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ และขึ้นอยู่กับบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ ว่าจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด
วิศวกร-นักวิจัย เงินเดือนสตาร์ตสูง
นอกจากนี้ "พิชญ์พจี" กล่าวอีกว่า จากข้อมูลอัตราเงินเดือนของพนักงานระดับเริ่มต้น ปี 2556 พบว่า กลุ่มผู้ที่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาด้านการวิจัยและพัฒนา มีอัตราเงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยสูงสุดที่ 18,000 บาทต่อเดือน โดยตำแหน่งวิศวกรเริ่มต้นที่ 19,200 บาทต่อเดือน ตำแหน่งงานวิจัยและพัฒนา 17,900 บาทต่อเดือน ตำแหน่งงานด้านไอที 17,500 บาทต่อเดือน
ส่วนในแง่ของแนวโน้มอัตราเงินเดือนอาจจะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเข้าไปทำงานในบริษัทต่าง ๆ ได้แก่ ตำแหน่งวิศวกร การขาย และบัญชี นอกจากนี้ตำแหน่งงานที่ความต้องการในการจ้างงานที่มากขึ้นในอนาคตของประเทศไทย ประกอบด้วย ตำแหน่งวิศวกร การขาย บัญชี โรงงานอุตสาหกรรม วิจัยพัฒนา
ทั้งนี้ ตำแหน่งงานในอนาคตที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง คือ ตำแหน่งวิจัยและพัฒนา เนื่องจากความต้องการในการพัฒนา คิดค้นสินค้า และการควบคุมคุณภาพ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จึงทำให้ตำแหน่งงานนี้มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพในการส่งออก
ประกัน-การเงิน เทิร์นโอเวอร์สูง
จากผลการสำรวจชิ้นนี้ยังระบุด้วยว่า อัตราการเข้า-ออกของพนักงาน (Turnover Rate) มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธุรกิจประกันภัย 20% ตามด้วยกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน 18% และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17.3% โดยค่าเฉลี่ยอัตราการเข้า-ออกของพนักงานอยู่ที่ 9.35% ในช่วงปี 2551 ถึงปี 2554 ซึ่งมีปัจจัยมาจากการแข่งขันที่สูง และมีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา
ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้อัตราการเข้า-ออกของพนักงานสูงขึ้นมาจากผู้บริหารและหัวหน้างาน โดยที่เขาเหล่านั้นไม่มีความเข้าใจตัวของพนักงานอย่างแท้จริง อีกทั้งความเห็นพ้องในด้านวิสัยทัศน์ไม่ตรงกัน ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารและหัวหน้างานต้องมีบทบาทในการเป็นผู้นำที่ดี รวมถึงการเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคลไปในตัว เพื่อเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับพนักงาน
อย่างไรก็ตามจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยและโรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการสูง เนื่องจากขาดแคลนพนักงาน ด้วยมีการเข้าออกของพนักงานที่สูง
นอกจากนี้จากผลสำรวจยังพบว่า สาขางานด้านวิศวกรรมศาสตร์ และงานขาย เป็นกลุ่มที่บริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญกับประเด็นเรื่องการดึงดูดและการรักษาพนักงานมากที่สุด ซึ่งทำให้การรักษาคนเก่งจึงเป็นประเด็นที่ท้าทายอันดับหนึ่งของฝ่ายทรัพยากรบุคคลติดต่อกันในปี 2556 และ 2557
ประเด็นที่สำคัญของการดึงดูดและการรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทมากที่สุด คือการเปิดโอกาสให้พนักงานที่มีความสามารถได้มีการเติบโตทางด้านสายงาน ซึ่งการลงทุนในการรักษาพนักงานเอาไว้จะคุ้มค่ากว่าการรับพนักงานใหม่ อีกทั้งควรมีอัตราฐานเงินเดือนที่สูง รวมถึงความท้าทายของงานที่จะสามารถดึงดูดความสนใจในการทำงาน เนื่องจากบุคลากรที่มีศักยภาพสูงนั้นหายาก จึงเป็นความท้าทายของแต่ละองค์กรในการบริหารจัดการคนเก่ง เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถที่จะแข่งขันได้
เข้มภาษี-พัฒนาผู้นำรับเปิดเออีซี
นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ ยังได้เผยถึงกลยุทธ์ในการรับมือกับปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ สถานการณ์รุนแรงทางการเมือง และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งในส่วนนี้ "พิชญ์พจี" กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลสำรวจ 3 อันดับแรกของกลยุทธ์ในการรับมือ ได้แก่ ทบทวนกลยุทธ์ทางการตลาด (45%), ทบทวนนโยบายด้านความปลอดภัย และการแก้ไขปัญหาในการทำงาน (44%) และอนุมัติการทำงานนอกสถานที่ (42%) ในขณะที่บริษัทส่วนน้อยเพียง 7% เลือกการปลดพนักงานออก
ปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการประเมินปัจจัยภายนอกมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นการวางแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญมาก สำหรับการเตรียมแผนรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดเพื่อให้แน่ใจได้ว่า พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันการสำรวจยังสอบถามถึงกลยุทธ์การรักษาคนเก่งของบริษัทต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ที่จะถึงนี้ โดยผลสำรวจที่มาเป็นอันดับหนึ่งถึง 65% คือ การจัดอบรมทางภาษาให้แก่พนักงาน ตามด้วยอันดับสอง 58% คือ การพัฒนาความพร้อมของผู้นำ ซึ่งเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากขึ้น
สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารคือต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ
ในตอนท้าย "พิชญ์พจี" ยังกล่าวอีกว่า สำหรับปี 2015 อัตราเงินเดือนเฉลี่ยคงอยู่ในอัตรา 5.6-6% แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเดือนเปลี่ยนแปลงไป คือ ความมั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ อุปสงค์อุปทานของคนในประเทศ และอัตราการว่างงาน
ที่มา บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) ในประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 4 เม.ย. 2557
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand