เปิดเทรนด์เงินเดือน-โบนัสปี’66-67 ปิโตรดาวรุ่ง-ยานยนต์ครองแชมป์
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 -
เปิดอัตราเงินเดือน-โบนัสปี 2566-2567 จากผลสํารวจ PMAT สอบถาม 125 องค์กร 10 อุตสาหกรรม รวมพนักงาน 80,000 คน ระบุชัดปีนี้อุตสาหกรรม “กลุ่มปิโตรเคมี-ไอที-ของกินของใช้” ได้เงินเดือนขึ้นมากที่สุด เผยปีหน้าจะถึงคิวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ส่วนธุรกิจยานยนต์ครองแชมป์แจกโบนัสสูงสุดติดต่อกันหลายปี
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (Personnel Management Association of Thailand) หรือ PMAT จัดทำสำรวจการขึ้นเงินเดือน และการให้โบนัส ประจำปี 2566-2567 จากบริษัท 125 บริษัท ใน 10 อุตสาหกรรม รวมพนักงาน 80,000 คน เป็นข้อมูลที่องค์กรต่าง ๆ จะใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงเทียบกับตลาดรวม
ปัจจัยอยู่ที่ภาวะเศรษฐกิจ
นางสุดคนึง ขัมภรัตน์ นายกสมาคม PMAT เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย รวมถึงอัตราเงินเฟ้อมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสของแต่ละองค์กร
จากรายงานนโยบายการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2566 และร้อยละ 3.8 ในปี 2567 โดยภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นต่อเนื่อง และภาคสินค้าบริโภค ภาคเอกชนขยายตัว ส่งผลให้การจ้างงานและรายได้แรงงานปรับตัวดีขึ้น มีการกระจายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะรายได้ของลูกจ้างภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ทั้งนี้ ภาคการส่งออกสินค้าซึ่งปรับลดลงตั้งแต่ปลายปี 2565 คาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนในครึ่งหลังของปี 2566 ด้วยอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีน และการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งจะเป็นแรงส่งต่อไปยังปี 2567
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทยอยปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ในปี 2566 และร้อยละ 2.4 ในปี 2567
“จากผลการสำรวจของ PMAT การขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 4.58 อุตสาหกรรมที่ขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 5.25, กลุ่มเทคโนโลยี ร้อยละ 5.05, และกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ร้อยละ 5.02”
โดยคาดการณ์ว่าการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปี 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.64 ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 5.33, กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ร้อยละ 5.17, และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ร้อยละ 4.83
“ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา เกาหลี จะขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยร้อยละ 4.6-5.00 ซึ่งใกล้เคียงกับผลสำรวจของ PMAT แต่อย่าลืมว่าประเทศเหล่านั้นมีฐานค่าจ้างสูง การที่ไทยจะขึ้นเท่ากันก็ถือว่าไม่ได้สูงเกินไป เนื่องจากแรงงานไทยมีฐานเงินเดือนที่ไม่สูง”
ขึ้นค่าแรงเป็นเรื่องจำเป็น
ดังนั้น PMAT อยากให้องค์กรในไทยพิจารณาการขึ้นเงินเดือนให้เกิดความยั่งยืน โดยอาจจะขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยที่ PMAT สำรวจมา เพราะองค์กรที่มีผลประกอบการที่ดีย่อมดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีไปด้วย
หากองค์กรไม่พิจารณาปรับเงินเดือน หรือจ่ายโบนัสหลายปีติดต่อกัน จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพขององค์กรนั้น ๆ อย่างแน่นอน ทั้งเรื่องแรงจูงใจในการทำงาน อัตรา turnover ที่สูงขึ้น พนักงานจะย้ายไปอยู่กับองค์กรที่จ่ายได้เหมาะสมกับการดำรงค์ชีวิตในปัจจุบัน
“หากองค์กรมีผลประกอบการที่ดี มีกำไร และรายได้ตามเป้า จำเป็นต้องมีการปรับเงินเดือน เพราะคนถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า หากบริษัทพิจารณาลงทุนกับเครื่องจักรและอุปกรณ์เทคโนโลยได้ ก็ต้องลงทุนกับคนได้เช่นกัน”
นางสุดคนึงเปิดเผยอีกว่า การจ่ายโบนัสรวม (โบนัสคงที่และโบนัสผันแปร) ปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.57 เท่าของเงินเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ให้โบนัสรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ 4.45 เท่าของเงินเดือน, กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 3.15 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 2.59 เท่าของเงินเดือน
แต่เมื่อแยกตามประเภท อุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสคงที่ปี 2566 สูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มยานยนต์ 2.41 เท่าของเงินเดือน กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 1.70 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเทคโนโลยี 1.50 เท่าของเงินเดือน
ขณะที่โบนัสผันแปรปี 2556 อุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสผันแปรสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 4.12 เท่าของเงินเดือน, กลุ่มยานยนต์ 3.32 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเทคโนโลยี 2.64 เท่าของเงินเดือน
หากคาดการณ์ปี 2567 การจ่ายโบนัสรวม (โบนัสคงที่และโบนัสผันแปร) เฉลี่ยอยู่ที่ 2.57 เท่าของเงินเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ให้โบนัสรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ 4.29 เท่าของเงินเดือน, กลุ่มเทคโนโลยี 2.71 เท่าของเงินเดือน, และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 2.65 เท่าของเงินเดือน
เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสคงที่ปี 2567 สูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มยานยนต์ 2.58 เท่าของเงินเดือน, ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 1.89 เท่าของเงินเดือน และเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 1.25 เท่าของเงินเดือน
ขณะที่โบนัสผันแปรผัน ปี 2567 อุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสผันแปรผันสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มยานยนต์ 2.82 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเทคโนโลยี 2.81 เท่าของเงินเดือน, และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 2.80 เท่าของเงินเดือน
“การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท คิดว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะปัจจุบันคนทำงานประสบปัญหาหนี้สิน เงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่ากิน ค่าใช้ และค่ายารักษาโรค ยังไม่รวมที่ต้องเก็บออมเพื่ออนาคต ดังนั้น คณะกรรมการไตรภาคี (นายจ้าง ลูกจ้าง กระทรวงแรงงาน) ต้องคุยกันเพื่อดูอัตราที่เหมาะสม ให้องค์กรอยู่ได้ และพนักงานอยู่รอด”
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/csr-hr/news-1430248
เปิดเทรนด์เงินเดือน-โบนัสปี’66-67 ปิโตรดาวรุ่ง-ยานยนต์ครองแชมป์
เปิดเทรนด์เงินเดือน-โบนัสปี’66-67 ปิโตรดาวรุ่ง-ยานยนต์ครองแชมป์
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 -
เปิดอัตราเงินเดือน-โบนัสปี 2566-2567 จากผลสํารวจ PMAT สอบถาม 125 องค์กร 10 อุตสาหกรรม รวมพนักงาน 80,000 คน ระบุชัดปีนี้อุตสาหกรรม “กลุ่มปิโตรเคมี-ไอที-ของกินของใช้” ได้เงินเดือนขึ้นมากที่สุด เผยปีหน้าจะถึงคิวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ส่วนธุรกิจยานยนต์ครองแชมป์แจกโบนัสสูงสุดติดต่อกันหลายปี
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (Personnel Management Association of Thailand) หรือ PMAT จัดทำสำรวจการขึ้นเงินเดือน และการให้โบนัส ประจำปี 2566-2567 จากบริษัท 125 บริษัท ใน 10 อุตสาหกรรม รวมพนักงาน 80,000 คน เป็นข้อมูลที่องค์กรต่าง ๆ จะใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงเทียบกับตลาดรวม
ปัจจัยอยู่ที่ภาวะเศรษฐกิจ
นางสุดคนึง ขัมภรัตน์ นายกสมาคม PMAT เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย รวมถึงอัตราเงินเฟ้อมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสของแต่ละองค์กร
จากรายงานนโยบายการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2566 และร้อยละ 3.8 ในปี 2567 โดยภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นต่อเนื่อง และภาคสินค้าบริโภค ภาคเอกชนขยายตัว ส่งผลให้การจ้างงานและรายได้แรงงานปรับตัวดีขึ้น มีการกระจายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะรายได้ของลูกจ้างภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ทั้งนี้ ภาคการส่งออกสินค้าซึ่งปรับลดลงตั้งแต่ปลายปี 2565 คาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนในครึ่งหลังของปี 2566 ด้วยอานิสงส์จากการเปิดประเทศของจีน และการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ซึ่งจะเป็นแรงส่งต่อไปยังปี 2567
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทยอยปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ในปี 2566 และร้อยละ 2.4 ในปี 2567
“จากผลการสำรวจของ PMAT การขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 4.58 อุตสาหกรรมที่ขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 5.25, กลุ่มเทคโนโลยี ร้อยละ 5.05, และกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ร้อยละ 5.02”
โดยคาดการณ์ว่าการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยปี 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.64 ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 5.33, กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ร้อยละ 5.17, และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ร้อยละ 4.83
“ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา เกาหลี จะขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยร้อยละ 4.6-5.00 ซึ่งใกล้เคียงกับผลสำรวจของ PMAT แต่อย่าลืมว่าประเทศเหล่านั้นมีฐานค่าจ้างสูง การที่ไทยจะขึ้นเท่ากันก็ถือว่าไม่ได้สูงเกินไป เนื่องจากแรงงานไทยมีฐานเงินเดือนที่ไม่สูง”
ขึ้นค่าแรงเป็นเรื่องจำเป็น
ดังนั้น PMAT อยากให้องค์กรในไทยพิจารณาการขึ้นเงินเดือนให้เกิดความยั่งยืน โดยอาจจะขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยที่ PMAT สำรวจมา เพราะองค์กรที่มีผลประกอบการที่ดีย่อมดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีไปด้วย
หากองค์กรไม่พิจารณาปรับเงินเดือน หรือจ่ายโบนัสหลายปีติดต่อกัน จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพขององค์กรนั้น ๆ อย่างแน่นอน ทั้งเรื่องแรงจูงใจในการทำงาน อัตรา turnover ที่สูงขึ้น พนักงานจะย้ายไปอยู่กับองค์กรที่จ่ายได้เหมาะสมกับการดำรงค์ชีวิตในปัจจุบัน
“หากองค์กรมีผลประกอบการที่ดี มีกำไร และรายได้ตามเป้า จำเป็นต้องมีการปรับเงินเดือน เพราะคนถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า หากบริษัทพิจารณาลงทุนกับเครื่องจักรและอุปกรณ์เทคโนโลยได้ ก็ต้องลงทุนกับคนได้เช่นกัน”
นางสุดคนึงเปิดเผยอีกว่า การจ่ายโบนัสรวม (โบนัสคงที่และโบนัสผันแปร) ปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.57 เท่าของเงินเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ให้โบนัสรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ 4.45 เท่าของเงินเดือน, กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 3.15 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 2.59 เท่าของเงินเดือน
แต่เมื่อแยกตามประเภท อุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสคงที่ปี 2566 สูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มยานยนต์ 2.41 เท่าของเงินเดือน กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 1.70 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเทคโนโลยี 1.50 เท่าของเงินเดือน
ขณะที่โบนัสผันแปรปี 2556 อุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสผันแปรสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 4.12 เท่าของเงินเดือน, กลุ่มยานยนต์ 3.32 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเทคโนโลยี 2.64 เท่าของเงินเดือน
หากคาดการณ์ปี 2567 การจ่ายโบนัสรวม (โบนัสคงที่และโบนัสผันแปร) เฉลี่ยอยู่ที่ 2.57 เท่าของเงินเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ให้โบนัสรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ 4.29 เท่าของเงินเดือน, กลุ่มเทคโนโลยี 2.71 เท่าของเงินเดือน, และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 2.65 เท่าของเงินเดือน
เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสคงที่ปี 2567 สูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มยานยนต์ 2.58 เท่าของเงินเดือน, ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 1.89 เท่าของเงินเดือน และเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 1.25 เท่าของเงินเดือน
ขณะที่โบนัสผันแปรผัน ปี 2567 อุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสผันแปรผันสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มยานยนต์ 2.82 เท่าของเงินเดือน และกลุ่มเทคโนโลยี 2.81 เท่าของเงินเดือน, และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 2.80 เท่าของเงินเดือน
“การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท คิดว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะปัจจุบันคนทำงานประสบปัญหาหนี้สิน เงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่ากิน ค่าใช้ และค่ายารักษาโรค ยังไม่รวมที่ต้องเก็บออมเพื่ออนาคต ดังนั้น คณะกรรมการไตรภาคี (นายจ้าง ลูกจ้าง กระทรวงแรงงาน) ต้องคุยกันเพื่อดูอัตราที่เหมาะสม ให้องค์กรอยู่ได้ และพนักงานอยู่รอด”
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-1430248