สอท.เผย ผลสำรวจค่าจ้าง แนวโน้ม ปวช.-ปวส. แซง ป.ตรี:
สอท.เผยผลสำรวจค่าจ้างแนวโน้มวุฒิปวช.-ปวส.แซงหน้าป.ตรี เหตุความต้องการตลาดแรงงานมีสูงกว่า
วันนี้ (29ต.ค.58) นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รองประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ปี 2558/2559 จากจำนวนสถานประกอบการทั้งหมด 110 แห่งใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า อัตราการจ่ายค่าจ้างขั้นต้นโดยเฉลี่ยของวุฒิปวช.อยู่ที่ 10,120 บาท ,ปวส. 11,383 บาท ปริญญาตรี 15,491 บาท ปริญญาโท 21,047 บาท และปริญญาเอก 35,985 บาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบ อัตราค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ ระหว่างปี 2558 กับปี 2557 จะพบว่า วุฒิปริญญาตรี มีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 9.49% แต่ถ้าเปรียบเทียบค่าจ้างเฉลี่ยในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2552 -2558) พบว่า วุฒิปวช.มีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างเพิ่มขึ้นสูงสุด 57.85%
จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในอนาคตที่ค่าจ้างในวุฒิปวช. และ ปวส. จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าวุฒิปริญญาตรี เนื่องจากความต้องการในตลาดแรงงานมีสูงกว่า รวมทั้งทิศทางของตลาดแรงงานที่กำลังเปลี่ยนไป ซึ่งในอนาคตจะเน้นรับคนเข้าทำงานโดยดูจากทักษะ และความสามารถมากกว่าที่จะดูเพียงแค่ใบปริญญา หรือระดับการศึกษา ทำให้ในอนาคต แรงงานที่จบการศึกษาจากปริญญาตรี อาจประสบปัญหาตกงานได้
นอกจากนี้ ผลสำรวจด้านนโยบายการจ้าง พบว่า การปรับอัตราค่าจ้างปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.04% ส่วนการจ่ายโบนัสประจำปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 เดือน และมีแนวโน้มที่น่าสนใจคือ บริษัทต่างๆเริ่มมีการปรับนโยบายจ่ายโบนัสตามผลงานมากขึ้น ส่วนอัตราการลาออกของพนักงาน เฉลี่ยอยู่ที่ 12.27% จากสาเหตุ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ เป็นอันดับหนึ่ง
ส่วนความเคลื่อนไหวการจ่ายโบนัสปีนี้ ล่าสุด คณะกรรมการ หรือ บอร์ด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีมติให้โบนัสแก่พนักงาน ทอท.ประจำปี 58 จำนวน 7.5 เดือน มากกว่าปีก่อนที่เคยจ่าย 6.5 เดือน
http://bit.ly/1GMf6Sf
สอท.เผย ผลสำรวจค่าจ้าง แนวโน้ม ปวช.-ปวส. แซง ป.ตรี: ความต้องการตลาดแรงงานมีสูงกว่า
สอท.เผยผลสำรวจค่าจ้างแนวโน้มวุฒิปวช.-ปวส.แซงหน้าป.ตรี เหตุความต้องการตลาดแรงงานมีสูงกว่า
วันนี้ (29ต.ค.58) นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รองประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ปี 2558/2559 จากจำนวนสถานประกอบการทั้งหมด 110 แห่งใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า อัตราการจ่ายค่าจ้างขั้นต้นโดยเฉลี่ยของวุฒิปวช.อยู่ที่ 10,120 บาท ,ปวส. 11,383 บาท ปริญญาตรี 15,491 บาท ปริญญาโท 21,047 บาท และปริญญาเอก 35,985 บาท
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบ อัตราค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ ระหว่างปี 2558 กับปี 2557 จะพบว่า วุฒิปริญญาตรี มีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 9.49% แต่ถ้าเปรียบเทียบค่าจ้างเฉลี่ยในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2552 -2558) พบว่า วุฒิปวช.มีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างเพิ่มขึ้นสูงสุด 57.85%
จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในอนาคตที่ค่าจ้างในวุฒิปวช. และ ปวส. จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าวุฒิปริญญาตรี เนื่องจากความต้องการในตลาดแรงงานมีสูงกว่า รวมทั้งทิศทางของตลาดแรงงานที่กำลังเปลี่ยนไป ซึ่งในอนาคตจะเน้นรับคนเข้าทำงานโดยดูจากทักษะ และความสามารถมากกว่าที่จะดูเพียงแค่ใบปริญญา หรือระดับการศึกษา ทำให้ในอนาคต แรงงานที่จบการศึกษาจากปริญญาตรี อาจประสบปัญหาตกงานได้
นอกจากนี้ ผลสำรวจด้านนโยบายการจ้าง พบว่า การปรับอัตราค่าจ้างปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.04% ส่วนการจ่ายโบนัสประจำปี 2558 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 เดือน และมีแนวโน้มที่น่าสนใจคือ บริษัทต่างๆเริ่มมีการปรับนโยบายจ่ายโบนัสตามผลงานมากขึ้น ส่วนอัตราการลาออกของพนักงาน เฉลี่ยอยู่ที่ 12.27% จากสาเหตุ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ เป็นอันดับหนึ่ง
ส่วนความเคลื่อนไหวการจ่ายโบนัสปีนี้ ล่าสุด คณะกรรมการ หรือ บอร์ด บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีมติให้โบนัสแก่พนักงาน ทอท.ประจำปี 58 จำนวน 7.5 เดือน มากกว่าปีก่อนที่เคยจ่าย 6.5 เดือน
http://bit.ly/1GMf6Sf