ที่ว่าคนกรุงเทพฯ รักความยุติธรรม เกลียดคนโกง คงไม่จริงแล้วละมั๊ง

ศาลฎีกาพลิกคำพิพากษา!

สั่งลงโทษจำคุก "อดีต ปธ.คตง." 3 ปี ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ


เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ห้องพิจารณา 803 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายประธาน ดาบเพชร อดีตผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายปัญญา ตันติยวรงค์ อายุ 73 ปี อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157


โจทก์ยื่นฟ้องและนำสืบว่า วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2544 จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อวุฒิสภาโดยมิชอบ ขัดต่อระเบียบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินฯ ข้อ 6 (5) ที่กำหนดให้ คตง. เสนอรายชื่อผู้ซึ่งรับคะแนนสูงสุดจากที่ได้รับการคัดเลือก จาก คตง.เพียงคนเดียว ให้สมควรเป็นผู้ว่าการ สตง. และให้เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ และดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 15 แต่ปรากฏว่าในการสรรหาผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อ จำเลยกลับเสนอชื่อบุคคลทั้งสิ้น 3 ราย ประกอบด้วย 1.นายประธาน ดาบเพชร 2.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และ 3.นายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ทั้งที่ระเบียบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินฯ ข้อ 6 (5) กำหนดว่า การคัดเลือกของคณะกรรมการ คตง.นั้น ต้องลงมติด้วยคะแนนลับ และผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้รับคะแนนสูงสุดโดยมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการ คตง.ทั้งหมดที่มีอยู่


แต่ในการประชุม คตง.ครั้งที่ 26/2544 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2544 พบว่าบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดและเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการ คือนายประธาน ดาบเพชร ได้ 5 คะแนน จากกรรมการทั้งหมดที่มาประชุมจำนวน 8 คน



นอกจากนี้ เมื่อที่ประชุม คตง.เสนอชื่อไปแล้วในหนังสือที่จำเลย เสนอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น ยังได้ระบุว่า มีผู้ได้รับคะแนนเสียง 2 ราย คือ นายประธาน ดาบเพชร ได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 ตามบัญชีรายชื่อและเอกสารประกอบ จึงขอส่งเรื่องเพื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าว พร้อมทั้งได้ส่งบัญชีรายชื่อไปทั้งสิ้น 3 คน ทั้งที่ คตง.มีหน้าที่เสนอชื่อนายประธาน ได้คะแนนสูงสุดเพียงคนเดียวเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ


ในชั้นพิจารณาจำเลยต่อสู้คดีโดยให้การปฏิเสธ อ้างว่าจำเลยดำเนินกระบวนการสรรหา และเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าการ สตง.ตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์กฎหมายแล้ว ซึ่งไม่มีเจตนาจะทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย


ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าการที่จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลทั้ง 3 ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ สตง.ทั้งที่กฎหมายกำหนดจะต้องส่งเพียงชื่อของบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม คตง.ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ซึ่งคือนายประธานคนเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157


ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2551 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า การกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการทำให้โจทก์ร่วมและ คตง.ต้องเสียหาย เพราะเมื่อมีการส่งรายชื่อแล้วยังไม่มีใครคาดหมายได้ว่าวุฒิสภาจะส่งหนังสือคืนจำเลยให้ทำใหม่ หรือจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ว่าการ สตง.ซึ่งกฎหมายให้วุฒิสภาเป็นผู้ทำความเห็นชอบพิจารณาเลือกบุคคลที่ไมมีคุณสมบัติต้องห้าม


โดยวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงมีอำนาจเหนือกว่าจำเลยหลายเท่า ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็ต้องเกิดในชั้นวุฒิสภา และหากวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง การเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าการ สตง.ก็จะไม่มีปัญหาขณะที่พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ต่อมาโจทก์ยื่นฎีกา


ศาลฎีกาประชุมตรวจสำนวนแล้ว เห็นว่าพฤติกรรมของจำเลยที่ไม่เสนอรายชื่อโจทก์ร่วม ซึ่งได้คะแนนเสียงสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ สตง.เพียงคนเดียว ตามที่กฎหมายกำหนด แต่กลับส่งรายชื่อบุคคลอีก 2 คนให้วุฒิสภาคัดเลือกนั้น ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นอำนาจของวุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบคัดเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าการ สตง.ก็ตาม และเมื่อการกระทำของจำเลย เป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งกฎหมายก็ยังกำหนดโทษปรับไว้ด้วยตั้งแต่ 2,000 บาท -20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จึงเห็นควรกำหนดบทลงโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์ พิพากษากลับให้จำคุกจำเลย 3 ปี และปรับ 20,000 บาทด้วย แต่เมื่อจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญามีกำหนด 2 ปี


http://www.matichon....9&subcatid=1905



ขนาดเข้าสู่ตำแหน่งยังใช้เส้นสาย โกงกันเห็นๆ ไม่ต่างกับสานชั่วช้าบางตัวที่แอบเอาข้อสอบไปให้ลูกหลานดูก่อน โกงขนาดนี้ยังเลือกกันเข้ามาได้หนอ คนกรุงเทพฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่