ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของจีน (4)
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผมคิดว่าความเสี่ยงของปัญหาหนี้ของจีนในภาพรวมนั้น บทความของ Ruchir Sharma (ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจมหภาค ของกองทุน Morgan Stanley Investment ซึ่งเป็นกองทุนที่อยู่ในระดับชั้นนำของโลกแห่งหนึ่ง) ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times เมื่อ 26 มกราคม 2014 มีข้อคิดที่น่าสนใจซึ่งผมขอนำมาแปลสรุปดังนี้
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวมากกว่า 7% ในปีนี้ (แม้ว่าหนี้ภาคเอกชนจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว) มีเสียงส่วนน้อยเชื่อว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น โดยอ้างอิงประสบการณ์ในอดีตของประเทศที่เผชิญกับปัญหาหนี้สินซึ่งน้อยรายที่จะสามารถจัดการกับปัญหาได้โดยปราศจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม นาย Sharma รวบรวมข้อมูลในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาและใช้ข้อมูลประเทศที่ประสบปัญหาการขยายตัวของสินเชื่ออย่างก้าวกระโดด 33 ประเทศ ซึ่งสินเชื่อขยายตัวสูงกว่าจีดีพี ทำให้สัดส่วนของหนี้สินต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 42% หมายความว่าประเทศทั้ง 33 ประเทศนั้นหากจุดเริ่มต้นหนี้สินต่อจีดีพีเท่ากับ 100% ก็จะพบว่าประเทศดังกล่าวนั้นในที่สุดหนี้สินต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 142% หรือมากกว่านั้น
จาก 33 ประเทศดังกล่าวนั้นมีทั้งสิ้น 22 ประเทศที่ในที่สุดต้องเผชิญกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยการขยายตัวลดลงจากเฉลี่ย 5.2% เหลือเพียง 1.8% ต่อปี เขาไม่พบประเทศใดเลย (ใน 33 ประเทศ) ที่เศรษฐกิจมิได้ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ บางประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย ชิลี ซิมบับเวและลัตเวียนั้นส่วนเพิ่มของหนี้สินต่อจีดีพีสูงกว่า 60% ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทุกรายอย่างไม่มีข้อยกเว้น
ทั้งนี้ นาย Ruchir ย้ำว่าส่วนเพิ่มของหนี้สินต่อจีดีพีมีความสำคัญและสำคัญกว่าสัดส่วนของหนี้สินต่อจีดีพี (ว่าจะสูงมากในตอนต้นหรือไม่) เพราะในช่วงที่สินเชื่อขยายตัวรวดเร็วเกินกว่าการขยายตัวของจีดีพีนั้นจะเป็นช่วงที่มีการนำเงินไปลงทุนในกิจกรรมหรือธุรกิจที่ไม่มีกำไร ซึ่งนาย Ruchir มองว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนใน 5 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ หนี้สินต่อจีดีพีของจีนเพิ่มขึ้นถึง 71% ตั้งแต่ปี 2008 จนกระทั่งสูงถึง 230% ของจีดีพีในปัจจุบัน (ตัวเลขที่ Bank of America ประเมินจะต่ำกว่าคือ 200%) ปัจจุบันสินเชื่อยังขยายตัวเกือบ 20% ขณะที่จีดีพี (รวมเงินเฟ้อ) เพิ่มขึ้นเพียง 10% ต่อปี หากปล่อยให้สินเชื่อขยายตัวในระดับนี้ต่อไป ปัญหาก็จะมีแต่ขยายใหญ่และเป็นผลเสียที่รุนแรงต่อไปในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญคือสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง (กล่าวคือส่วนที่เกิดจากระบบธนาคารเงาหรือ Shadow banking) นั้นขยายตัวเฉลี่ย 40-50% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้สงสัยได้ว่าคุณภาพของสินเชื่อจะสามารถถดถอยลงได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ Ruchir คำนวณว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วเงินกู้ 1 ดอลลาร์เอาไปลงทุนทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ 1 ดอลลาร์เช่นกัน แต่ในปี 2013 นั้นจะต้องกู้เงินมาลงทุนถึง 4 ดอลลาร์ เพื่อให้จีดีพีขยายตัว 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้เงิน 4 ดอลลาร์ที่กู้มาใหม่นั้นประมาณ 1/3 ต้องนำเอาไปจ่ายคืนหนี้สินเดิม
ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่าจีนจะประสบปัญหาหนี้สินซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจจีนนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างรัดกุมของภาครัฐและรัฐบาลจีนมีกลไกในการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิผล ดังนั้น จึงยอมรับว่าปัญหามีอยู่แน่นอน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาทางการจีนก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีที่ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวโดยรวมของเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนตั้งเป้าเอาไว้ให้ขยายตัว 7.5% ต่อปี
นอกจากนั้นรัฐบาลจีนก็ยังมีคลังอาวุธทางการเงินที่ล้นเหลือคือมีทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์และยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดรวมทั้งเงินทุนไหลเข้าสุทธิ แม้ว่าในระยะหลังนี้เงินทุนจะไหลเข้าน้อยลงก็ตามประเด็นนี้มีความสำคัญมากเพราะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดคือการที่ประเทศจีนยังมีรายได้มากกว่ารายจ่ายและยังมีเงินทุนสำรองสูงถึง 40% ของจีดีพี ดังนั้น จึงจะไม่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างเฉียบพลันเพราะเจ้าหนี้ต่างชาติเรียกหนี้คืน (จนต้องขอกู้เงินไอเอ็มเอฟและยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟ ซึ่งมักจะบังคับให้ต้องปรับตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นที่ไทยเคยโดนมาแล้ว) ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ของจีนได้รับการเกื้อกูลจากประชาชนที่บริโภคน้อย (การบริโภคคิดเป็นสัดส่วนเพียง 30% ของจีดีพี) จึงมีเงินฝากธนาคารมากมาย
ประเด็นนี้นาย Ruchir โต้ว่าจริงอยู่ที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและมีเงินออมในประเทศสูงมาก ทำให้ประเทศไม่ต้องเผชิญกับวิกฤติค่าเงินและดุลชำระเงิน แต่เขายกตัวอย่างว่าปัญหาหนี้สินของภาคการผลิตที่ขยายตัวจนเป็นวิกฤติภาคธนาคารนั้นเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีของไต้หวันในปี 1995 (แม้ว่าไต้หวันจะมีทุนสำรองมากถึง 45% ของจีดีพี) และธนาคารของไต้หวันก็ปล่อยกู้ไม่มาก (สัดส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ) แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาขาดสินเชื่ออย่างฉับพลัน (credit crunch) ในทำนองเดียวกันญี่ปุ่นก็เผชิญวิกฤติภาคธนาคารในทศวรรษ 70 และมาเลเซียในทศวรรษ 90 แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีเงินออมคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของจีดีพี
ที่มา
http://bit.ly/MTj2VS
comment ส่วนตัว : สรุปคร่าว ๆ จากบทความนี้
1. ประเทศที่มีปัญหาหนี้สินขยายตัวเร็วกว่า GDP ส่วนใหญ่แล้วเมื่อไปถึงจุดหนึ่งการแก้ปัญหามักส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
2. จีนมีหนี้ที่สูงมากแต่ก็มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศระดับ 40% ของGDP และยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้จะไม่เกิดปัญหาแบบเฉียบพลัน
3. จีนมีกลไกภาครัฐที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นจุดสำคัญอยู่ที่จีนต้องสามารถควบคุมการก่อหนี้เพิ่ม(โดยเฉพาะหนี้ใน shadow banking ซึ่งเป็นการปล่อยหนี้ที่หละหลวมกว่าการปล่อยหนี้แบบปกติและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว) ถ้าจีนไม่สามารถลดระดับการโตของสินเชื่อเทียบกับGDP ให้ต่ำกว่าการเติบโตของ GDP โดยเร็ว ก็มีโอกาสที่จีนจะเกิดวิกฤตทางการเงินได้
บทความตอนก่อนหน้า
http://ppantip.com/topic/31706488
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของจีน (4)
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผมคิดว่าความเสี่ยงของปัญหาหนี้ของจีนในภาพรวมนั้น บทความของ Ruchir Sharma (ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจมหภาค ของกองทุน Morgan Stanley Investment ซึ่งเป็นกองทุนที่อยู่ในระดับชั้นนำของโลกแห่งหนึ่ง) ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times เมื่อ 26 มกราคม 2014 มีข้อคิดที่น่าสนใจซึ่งผมขอนำมาแปลสรุปดังนี้
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวมากกว่า 7% ในปีนี้ (แม้ว่าหนี้ภาคเอกชนจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว) มีเสียงส่วนน้อยเชื่อว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น โดยอ้างอิงประสบการณ์ในอดีตของประเทศที่เผชิญกับปัญหาหนี้สินซึ่งน้อยรายที่จะสามารถจัดการกับปัญหาได้โดยปราศจากผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม นาย Sharma รวบรวมข้อมูลในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาและใช้ข้อมูลประเทศที่ประสบปัญหาการขยายตัวของสินเชื่ออย่างก้าวกระโดด 33 ประเทศ ซึ่งสินเชื่อขยายตัวสูงกว่าจีดีพี ทำให้สัดส่วนของหนี้สินต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 42% หมายความว่าประเทศทั้ง 33 ประเทศนั้นหากจุดเริ่มต้นหนี้สินต่อจีดีพีเท่ากับ 100% ก็จะพบว่าประเทศดังกล่าวนั้นในที่สุดหนี้สินต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 142% หรือมากกว่านั้น
จาก 33 ประเทศดังกล่าวนั้นมีทั้งสิ้น 22 ประเทศที่ในที่สุดต้องเผชิญกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยการขยายตัวลดลงจากเฉลี่ย 5.2% เหลือเพียง 1.8% ต่อปี เขาไม่พบประเทศใดเลย (ใน 33 ประเทศ) ที่เศรษฐกิจมิได้ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ บางประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย ชิลี ซิมบับเวและลัตเวียนั้นส่วนเพิ่มของหนี้สินต่อจีดีพีสูงกว่า 60% ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทุกรายอย่างไม่มีข้อยกเว้น
ทั้งนี้ นาย Ruchir ย้ำว่าส่วนเพิ่มของหนี้สินต่อจีดีพีมีความสำคัญและสำคัญกว่าสัดส่วนของหนี้สินต่อจีดีพี (ว่าจะสูงมากในตอนต้นหรือไม่) เพราะในช่วงที่สินเชื่อขยายตัวรวดเร็วเกินกว่าการขยายตัวของจีดีพีนั้นจะเป็นช่วงที่มีการนำเงินไปลงทุนในกิจกรรมหรือธุรกิจที่ไม่มีกำไร ซึ่งนาย Ruchir มองว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนใน 5 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ หนี้สินต่อจีดีพีของจีนเพิ่มขึ้นถึง 71% ตั้งแต่ปี 2008 จนกระทั่งสูงถึง 230% ของจีดีพีในปัจจุบัน (ตัวเลขที่ Bank of America ประเมินจะต่ำกว่าคือ 200%) ปัจจุบันสินเชื่อยังขยายตัวเกือบ 20% ขณะที่จีดีพี (รวมเงินเฟ้อ) เพิ่มขึ้นเพียง 10% ต่อปี หากปล่อยให้สินเชื่อขยายตัวในระดับนี้ต่อไป ปัญหาก็จะมีแต่ขยายใหญ่และเป็นผลเสียที่รุนแรงต่อไปในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญคือสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง (กล่าวคือส่วนที่เกิดจากระบบธนาคารเงาหรือ Shadow banking) นั้นขยายตัวเฉลี่ย 40-50% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้สงสัยได้ว่าคุณภาพของสินเชื่อจะสามารถถดถอยลงได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ Ruchir คำนวณว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วเงินกู้ 1 ดอลลาร์เอาไปลงทุนทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ 1 ดอลลาร์เช่นกัน แต่ในปี 2013 นั้นจะต้องกู้เงินมาลงทุนถึง 4 ดอลลาร์ เพื่อให้จีดีพีขยายตัว 1 ดอลลาร์ ทั้งนี้เงิน 4 ดอลลาร์ที่กู้มาใหม่นั้นประมาณ 1/3 ต้องนำเอาไปจ่ายคืนหนี้สินเดิม
ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่าจีนจะประสบปัญหาหนี้สินซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจจีนนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างรัดกุมของภาครัฐและรัฐบาลจีนมีกลไกในการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีประสิทธิผล ดังนั้น จึงยอมรับว่าปัญหามีอยู่แน่นอน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาทางการจีนก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีที่ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวโดยรวมของเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนตั้งเป้าเอาไว้ให้ขยายตัว 7.5% ต่อปี
นอกจากนั้นรัฐบาลจีนก็ยังมีคลังอาวุธทางการเงินที่ล้นเหลือคือมีทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์และยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดรวมทั้งเงินทุนไหลเข้าสุทธิ แม้ว่าในระยะหลังนี้เงินทุนจะไหลเข้าน้อยลงก็ตามประเด็นนี้มีความสำคัญมากเพราะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดคือการที่ประเทศจีนยังมีรายได้มากกว่ารายจ่ายและยังมีเงินทุนสำรองสูงถึง 40% ของจีดีพี ดังนั้น จึงจะไม่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างเฉียบพลันเพราะเจ้าหนี้ต่างชาติเรียกหนี้คืน (จนต้องขอกู้เงินไอเอ็มเอฟและยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟ ซึ่งมักจะบังคับให้ต้องปรับตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นที่ไทยเคยโดนมาแล้ว) ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ของจีนได้รับการเกื้อกูลจากประชาชนที่บริโภคน้อย (การบริโภคคิดเป็นสัดส่วนเพียง 30% ของจีดีพี) จึงมีเงินฝากธนาคารมากมาย
ประเด็นนี้นาย Ruchir โต้ว่าจริงอยู่ที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและมีเงินออมในประเทศสูงมาก ทำให้ประเทศไม่ต้องเผชิญกับวิกฤติค่าเงินและดุลชำระเงิน แต่เขายกตัวอย่างว่าปัญหาหนี้สินของภาคการผลิตที่ขยายตัวจนเป็นวิกฤติภาคธนาคารนั้นเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีของไต้หวันในปี 1995 (แม้ว่าไต้หวันจะมีทุนสำรองมากถึง 45% ของจีดีพี) และธนาคารของไต้หวันก็ปล่อยกู้ไม่มาก (สัดส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ) แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาขาดสินเชื่ออย่างฉับพลัน (credit crunch) ในทำนองเดียวกันญี่ปุ่นก็เผชิญวิกฤติภาคธนาคารในทศวรรษ 70 และมาเลเซียในทศวรรษ 90 แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีเงินออมคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของจีดีพี
ที่มา http://bit.ly/MTj2VS
comment ส่วนตัว : สรุปคร่าว ๆ จากบทความนี้
1. ประเทศที่มีปัญหาหนี้สินขยายตัวเร็วกว่า GDP ส่วนใหญ่แล้วเมื่อไปถึงจุดหนึ่งการแก้ปัญหามักส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
2. จีนมีหนี้ที่สูงมากแต่ก็มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศระดับ 40% ของGDP และยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้จะไม่เกิดปัญหาแบบเฉียบพลัน
3. จีนมีกลไกภาครัฐที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นจุดสำคัญอยู่ที่จีนต้องสามารถควบคุมการก่อหนี้เพิ่ม(โดยเฉพาะหนี้ใน shadow banking ซึ่งเป็นการปล่อยหนี้ที่หละหลวมกว่าการปล่อยหนี้แบบปกติและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว) ถ้าจีนไม่สามารถลดระดับการโตของสินเชื่อเทียบกับGDP ให้ต่ำกว่าการเติบโตของ GDP โดยเร็ว ก็มีโอกาสที่จีนจะเกิดวิกฤตทางการเงินได้
บทความตอนก่อนหน้า
http://ppantip.com/topic/31706488